เสาร์สนามไชย
23 เมษายน - 12 พฤศจิกายน 2565
สถานที่: มิวเซียมสยาม
ความเป็นมาของโครงการ 100 ปีตึกเรา
เมื่อปี พ.ศ.2548 สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ได้รับมอบพื้นที่กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) เพื่อใช้เป็นที่จัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ หรือ มิวเซียมสยาม โดยได้อนุรักษ์และปรับปรุงอาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) เพื่อใช้เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการหลัก ซึ่งอาคารดังกล่าวเป็นอาคารที่สร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในปี พ.ศ.2565 อาคารหลังนี้จะมีอายุครบหนึ่งศตวรรษ
อาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) หรือ ตึกมิวเซียมสยามในปัจจุบัน สร้างโดยกลุ่มสถาปนิกและวิศวกรชาวอิตาเลียน การออกแบบในครั้งแรกสร้างเห็นได้ชัดว่าทีมสถาปนิกและวิศวกรเน้นให้อาคารมีความภูมิฐานอย่างอาคารราชการ สามารถดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในเขตร้อนชื้นที่ต้องเผชิญทั้งแดด ลม และฝน โดยใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างคุ้มค่าในบริบทเศรษฐกิจยุคหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อาคารแห่งนี้ใช้เวลาก่อสร้างที่รวดเร็วด้วยวัสดุที่ทันสมัย มีความเรียบ ความงาม และความลงตัวทั้งด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ที่แม้เวลาผ่านมาถึงหนึ่งร้อยปีแล้วตัวอาคารและองค์ความรู้ของอาคารหลังนี้ก็ยังคงมีความทันสมัยในการปรับประยุกต์ให้ใช้ได้ในปัจจุบัน
ในขณะนั้นการสร้างที่ทำการของกระทรวงพาณิชย์ถือเป็นก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลงสำคัญในประวัติศาสตร์การพัฒนาของประเทศและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยในหลายมิติ อาทิ การประกอบกิจการพาณิชย์ระหว่างประเทศ การจัดการระบบชั่งตวงวัด การจดทะเบียนสินค้า รวมถึงการคมนาคม ฯลฯ อาคารแห่งนี้ถือเป็นอาคารสำนักงานแห่งแรก ๆ ของสยาม โดยใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465 เรื่อยมาจนกระทั่งถึงปีพ.ศ. 2537 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สร้างที่ทำการกระทรวงพาณิชย์แห่งใหม่ที่จังหวัดนนทบุรี และในปีพ.ศ. 2547 รัฐบาลได้ประกาศจัดตั้ง “สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ” ขึ้น เพื่อให้เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ แก่สาธารณชน กล่าวได้ว่าเมื่ออาคารแห่งนี้ได้จบบทบาทการเป็นกระทรวงพาณิชย์ลง ก็ได้เริ่มชีวิตบทใหม่ในฐานะอาคารพิพิธภัณฑ์ที่รองรับความปรารถนาในการเรียนรู้ของสาธารณชนทั่วประเทศ
ชีวิตใหม่ของอาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) เริ่มต้นด้วยการขุดค้นทางโบราณคดี เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของพื้นที่โดยรอบอย่างละเอียด ตัวอาคารได้รับการบูรณะและอนุรักษ์โดยกลุ่มสถาปนิกที่เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์อาคารเก่า โดยมีแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์เพื่อปรับแปลงการใช้งานให้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ โดยรื้อฟื้นให้เห็นความดั้งเดิมของอาคารที่ออกแบบโดยมาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียน และรักษาร่องรอยการใช้งานเมื่อครั้งเป็นกระทรวงพาณิชย์ไว้ในบางจุด ตลอดจนเพิ่มเติมและปรับพื้นที่บางส่วนให้รองรับหน้าที่ใหม่ในฐานะอาคารนิทรรศการ โดยได้เปิดเป็น "พื้นที่สาธารณะ" ครั้งแรกในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2551 ในนาม "มิวเซียมสยาม" เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของผู้คนในสังคมมาเกือบ 15 ปี
ในปีพ.ศ. 2565 อาคารหลังนี้จะมีอายุครบรอบหนึ่งร้อยปี มิวเซียมสยามในฐานะผู้ดูแลอาคารอนุรักษ์ซึ่งเป็นสมบัติของชาติ มีแนวคิดที่จะเฉลิมฉลองหนึ่งศตวรรษของอาคารตามแนวทางของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ นั่นคือการถ่ายทอดความรู้อันเกี่ยวข้องกับอาคาร ผ่านสื่อและกิจกรรมในลักษณะต่าง ๆ ให้รองรับ
ความสนใจในการเรียนรู้ของคนหลากหลายกลุ่ม เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอาคารและชีวิตของอาคารได้นำไปสู่ความตระหนัก ในคุณค่าทั้งทางกายภาพและในมรดกภูมิปัญญาของอาคารเก่าซึ่งเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติ และเกิดแรงบันดาลใจในการรักษาอาคารอันเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของสังคมไทยอย่างยั่งยืน
กิจกรรมในเสาร์สนามไชย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-225-2777 ต่อ 431, 081-927-9328
หมายเหตุ เวลาและกำหนดการอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม
เมื่อปี พ.ศ.2548 สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ได้รับมอบพื้นที่กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) เพื่อใช้เป็นที่จัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ หรือ มิวเซียมสยาม โดยได้อนุรักษ์และปรับปรุงอาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) เพื่อใช้เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการหลัก ซึ่งอาคารดังกล่าวเป็นอาคารที่สร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในปี พ.ศ.2565 อาคารหลังนี้จะมีอายุครบหนึ่งศตวรรษ
อาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) หรือ ตึกมิวเซียมสยามในปัจจุบัน สร้างโดยกลุ่มสถาปนิกและวิศวกรชาวอิตาเลียน การออกแบบในครั้งแรกสร้างเห็นได้ชัดว่าทีมสถาปนิกและวิศวกรเน้นให้อาคารมีความภูมิฐานอย่างอาคารราชการ สามารถดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในเขตร้อนชื้นที่ต้องเผชิญทั้งแดด ลม และฝน โดยใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างคุ้มค่าในบริบทเศรษฐกิจยุคหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อาคารแห่งนี้ใช้เวลาก่อสร้างที่รวดเร็วด้วยวัสดุที่ทันสมัย มีความเรียบ ความงาม และความลงตัวทั้งด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ที่แม้เวลาผ่านมาถึงหนึ่งร้อยปีแล้วตัวอาคารและองค์ความรู้ของอาคารหลังนี้ก็ยังคงมีความทันสมัยในการปรับประยุกต์ให้ใช้ได้ในปัจจุบัน
ในขณะนั้นการสร้างที่ทำการของกระทรวงพาณิชย์ถือเป็นก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลงสำคัญในประวัติศาสตร์การพัฒนาของประเทศและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยในหลายมิติ อาทิ การประกอบกิจการพาณิชย์ระหว่างประเทศ การจัดการระบบชั่งตวงวัด การจดทะเบียนสินค้า รวมถึงการคมนาคม ฯลฯ อาคารแห่งนี้ถือเป็นอาคารสำนักงานแห่งแรก ๆ ของสยาม โดยใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465 เรื่อยมาจนกระทั่งถึงปีพ.ศ. 2537 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สร้างที่ทำการกระทรวงพาณิชย์แห่งใหม่ที่จังหวัดนนทบุรี และในปีพ.ศ. 2547 รัฐบาลได้ประกาศจัดตั้ง “สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ” ขึ้น เพื่อให้เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ แก่สาธารณชน กล่าวได้ว่าเมื่ออาคารแห่งนี้ได้จบบทบาทการเป็นกระทรวงพาณิชย์ลง ก็ได้เริ่มชีวิตบทใหม่ในฐานะอาคารพิพิธภัณฑ์ที่รองรับความปรารถนาในการเรียนรู้ของสาธารณชนทั่วประเทศ
ชีวิตใหม่ของอาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) เริ่มต้นด้วยการขุดค้นทางโบราณคดี เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของพื้นที่โดยรอบอย่างละเอียด ตัวอาคารได้รับการบูรณะและอนุรักษ์โดยกลุ่มสถาปนิกที่เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์อาคารเก่า โดยมีแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์เพื่อปรับแปลงการใช้งานให้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ โดยรื้อฟื้นให้เห็นความดั้งเดิมของอาคารที่ออกแบบโดยมาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียน และรักษาร่องรอยการใช้งานเมื่อครั้งเป็นกระทรวงพาณิชย์ไว้ในบางจุด ตลอดจนเพิ่มเติมและปรับพื้นที่บางส่วนให้รองรับหน้าที่ใหม่ในฐานะอาคารนิทรรศการ โดยได้เปิดเป็น "พื้นที่สาธารณะ" ครั้งแรกในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2551 ในนาม "มิวเซียมสยาม" เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของผู้คนในสังคมมาเกือบ 15 ปี
ในปีพ.ศ. 2565 อาคารหลังนี้จะมีอายุครบรอบหนึ่งร้อยปี มิวเซียมสยามในฐานะผู้ดูแลอาคารอนุรักษ์ซึ่งเป็นสมบัติของชาติ มีแนวคิดที่จะเฉลิมฉลองหนึ่งศตวรรษของอาคารตามแนวทางของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ นั่นคือการถ่ายทอดความรู้อันเกี่ยวข้องกับอาคาร ผ่านสื่อและกิจกรรมในลักษณะต่าง ๆ ให้รองรับ
ความสนใจในการเรียนรู้ของคนหลากหลายกลุ่ม เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอาคารและชีวิตของอาคารได้นำไปสู่ความตระหนัก ในคุณค่าทั้งทางกายภาพและในมรดกภูมิปัญญาของอาคารเก่าซึ่งเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติ และเกิดแรงบันดาลใจในการรักษาอาคารอันเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของสังคมไทยอย่างยั่งยืน
กิจกรรมในเสาร์สนามไชย
- ชมนิทรรศการหมุนเวียน ชุด 100 ปี ตึกเรา นิทรรศการที่ว่าด้วยประวัติความเป็นมา แนวคิดทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมของอาคาร รวมถึงบริบททางประวัติศาสตร์และสังคมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับอาคารหลังนี้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งร้อยปี
- เสวนาและเวิร์กช้อป การบรรยายและการอบรมเชิงปฏิบัติการในประเด็นด้านประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม สถาปนิกฝรั่งในสยาม การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์สังคมและประวัติศาสตร์รสนิยม เพื่อให้ผู้ชมได้ความรู้เชิงลึกทางวิชาการและได้แรงบันดาลใจทางสุนทรียศาสตร์ที่ร่วมสมัยกับตึกมิวเซียมสยาม
- อาร์คิเทกเจอร์เทรล-นำชมเส้นทางใหม่ในตึกเก่า กิจกรรมนำชมตึกมิวเซียมสยาม เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและเกิดความซาบซึ้งในมรดกวัฒนธรรมผ่านการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยผลัดเปลี่ยนเส้นนำทางนำชมในเดือนต่าง ๆ อาทิ
- เส้นทาง 30 จุดแห่งความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมมิวเซียมสยาม (มีทั้งรอบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) นำชมจุดสำคัญของสถาปัตยกรรมตึกมิวเซียมสยาม จำนวน 30 จุด ที่เป็นจุดสำคัญในการออกแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกในเมืองที่อากาศร้อนชื้นแบบสยาม โดยเป็นข้อมูลที่ค้นพบจากการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมของมารีโอ ตามาญโญ
- เดินดูตึกเก่าเส้นทางห้องใต้หลังคา เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เห็นความชาญฉลาดของการออกแบบตึกสำนักงาน เมื่อ 100 ปีก่อน ในการเพิ่มพื้นที่ฟังก์ชั่นเพื่อแก้ปัญหาด้านความร้อนชื้น ปัญหาด้านอัคคีภัย และใช้เป็นพื้นที่ใช้สอยสำหรับสำนักงาน
- ย้อนอดีตมิวเซียมสยามด้วยภาพเก่า เส้นทางนี้เป็นเส้นทางของการค้นพบอาคารหลังนี้ตั้งแต่ก่อนยุคที่จะเป็นมิวเซียมสยาม บอกเล่าถึงที่มา หนาที่ ของอาคารที่มีต่อประเทศไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ว่าด้วยสิ่งที่ "เคย"มีอยู่ที่นี่ ที่สามารถเล่าให้รับรู้ด้วยการใช้ภาพถ่ายเก่า เพื่อให้คนได้รับทราบข้อมูลและมองเห็นมิติประวัติศาสตร์ของพื้นที่และอาคารแห่งนี้
- ชมตึกเรากับภัณฑารักษ์ นำชมนิทรรศการ 100 ปีตึกเราฯ เพื่อทำความเข้าใจเบื้องหลังการออกแบบนิทรรศการ และขยายความคิดเกี่ยวกับประเด็นของสถาปัตยกรรมตึกมิวเซียมสยามจากคนทำนิทรรศการ
- เดินชมศิลปะคลาสสิกกับตึกเก่ามิวเซียมสยาม นำชมสถาปัตยกรรมมิวเซียมสยาม ผ่านมุมมองของนักประวัติศาสตร์ศิลปะ เพื่อให้เข้าใจภาษาของสถาปัตยกรรม การคลี่คลายรูปแบบทางประวัติศาสตร์ศิลปะที่สถาปนิกหยิบยกมาใช้เป็นรูปแบบในการออกแบบ
- เดินดูตึกเก่ากับเรไรรายวัน นำประเด็นด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของตึกมิวเซียมสยาม มาสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมนำชมสำหรับเด็กอายุ 6-10 ปี เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เด็กๆ เข้าใจได้โดยง่ายและเห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรม
- ละครนำชม ซ้อน: บียอนด์ เดอะ มิวเซียม นำประเด็นประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตึกมานำชมผ่านศิลปะการแสดง ให้ผู้เข้าชมเข้าใจชีวิตและเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของตึกผ่านเรื่องเล่า โดยสามารถแต่งเติมเส้นเรื่องเพื่อให้เกิดจินตนาการและเกิดความตระหนักในคุณค่าทางมรดกวัฒนธรรม
- การแสดงของกลุ่มจำลองประวัติศาสตร์ นำประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.2468 ถึง ยุคสงครามเย็น มาเป็นธีมเรื่อง โดยจัดการแต่งกายและกิจกรรมให้เข้ากับยุคสมัย พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนได้
- ตามหาตามาญโญ (วอล์คแรลลี่) กิจกรรมการเดินชมสถาปัตยกรรมตึกมิวเซียม ด้วยการหาปริศนาที่ซ่อนไว้ในแผนที่นำทาง เพื่อเปิดมุมมองการดูตึกเก่าด้วยตัวเอง
- สตูดิโอถ่ายภาพ เป็นการถ่ายภาพเพื่อเป็นที่ระลึกกับตึกมิวเซียมสยามในวาระครบ 100 ปี พิเศษสำหรับผู้เข้าชมที่ซื้อบัตรเข้าชม
- Kidscovery Zone จัดพื้นที่กิจกรรมสำหรับเด็กระหว่าง 4-12 ปี เพื่อให้เข้าใจงานโครงสร้างและการออกแบบสถาปัตยกรรมผ่านกิจกรรมต่อโมเดลตึกมิวเซียมสยามด้วยกระดาษ
- ตัวต่อสถาปัตยกรรมจิ๋ว (เวิร์กชอป) เพจ QBrick Design เรียนรู้การออกแบบและเทคนิคพิเศษในการสร้างตัวต่อสถาปัตยกรรมจิ๋ว เวิร์กช้อปตัวต่อจิ๋วจากผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมของมาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลี่ยน ผู้ออกแบบตึกมิวเซียมสยาม (ตึกกระทรวงพาณิชย์ ท่าเตียน) อาทิ บ้านนรสิงห์ สะพานมัฆวานรังสรรค์ วังมะลิวัลย์ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน วังปารุสกวัน สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง สถานีรถไฟสวนจิตรลดา พระที่นั่งอนันตสมาคม สถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นต้น
- Literature พาเพลิน แลกเปลี่ยนประเด็นด้านวรรณกรรมร่วมสมัยกับตึกเก่า ที่จะพาผู้ร่วมกิจกรรมไปสัมผัสอรรถรสและวรรณกรรมร่วมยุคสมัยที่มีความสัมพันธ์กับตึกมิวเซียมสยาม ตลอดช่วงเวลาทั้ง 100 ปี
- ดนตรีมีเรื่องเล่า Music@Museum ฟังดนตรีร่วมสมัยกับตึกร้อยปี นำประเด็นทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของตึกมิวเซียมสยาม มาเป็นแรงบันดาลใจในการคัดเลือกแนวทางดนตรีและเครื่องเล่น เพื่อให้ผู้เข้าชมเกิดสุนทรียศาสตร์ทางการฟัง และรับรู้ความร่วมสมัยของตึกมิวเซียมสยามในยุคต่างๆ
- ฟู๊ดทรัก อาหารและเครื่องดื่ม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-225-2777 ต่อ 431, 081-927-9328
หมายเหตุ เวลาและกำหนดการอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม