การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองอนุบาล
แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลัก Brain-Based Learning วางอยู่บนฐานคิดที่เข้าใจการทำงานของสมอง
หลักการเรียนรู้ของสมอง
-
สมองเป็นอวัยวะ พิเศษ ของร่างกาย ต้องการทั้ง อาหารกาย และ อาหารใจในสัดส่วนที่ ถูกต้อง เหมาะสม ตลอดช่วงอายุ ตั้งแต่ อยู่ในครรภ์มารดา ถึง วัยชราสมองต้องการ อาหารใจทั้งใน การเจริญเติบโต การเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้/การทำงาน ให้เต็มที่
-
สมองเรียนรู้ได้ดีเมื่อมีความพร้อมครบทั้ง 3 ด้าน คือ
1) ความพร้อมด้านอารมณ์...เด็กเล็กต้อง เปิดสมอง/limbic ก่อนทุกครั้ง
2) ความพร้อมด้านองค์ความรู้...ความรู้ยาก/สูง เกินสมองเด็ก
3) ความพร้อมด้านพัฒนาการของสมอง...สมองส่วนหน้ายังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ -
สมองเรียนรู้เต็มที่ เมื่อ สมองเปิด...limbic system เปิด วิธีการเปิดสมองทำได้หลายวิธี เช่น นั่งสมาธิ การเคลื่อนไหวประกอบบทเพลง ปรบมือเป็นจังหวะ เปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมที่ชอบ สนใจ เพลิดเพลิน สุข สนุก
-
องค์ความรู้ เดินทางเข้าสู่ สมองเด็กได้ หลายช่องทาง ในเวลาเดียวกัน...จากการ ได้เห็น ได้ยิน ได้สัมผัส ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส และ ความสุขใจ พอใจ เช่น เด็กทารกเรียนรู้เอกลักษณ์ของตัวแม่ได้ 6 ช่องทางพร้อมๆกันขณะที่กำลังดูดนมสมองเรียนรู้ จาก ของจริงไปหา สัญลักษณ์ และ จาก ง่าย ไปหา ยาก
-
ความเข้าใจที่เกิดจากการสัมผัสตรงทางตา ทางหู ผิวสัมผัสทางกาย การเคลื่อนไหว ทางจมูก ทางลิ้น และทางใจ สมองเรียนรู้ด้วย ความเข้าใจมากกว่า ความจำ
-
การเรียนรู้โดยไม่ตั้งใจ ในทารก และเด็กเล็ก จะเป็นไปได้ง่าย รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ละเอียด ลึกซึ้ง กว้างขวาง มากกว่าเมื่อเด็กถูกบังคับให้เรียน ในเด็กเล็กช่องทางสำหรับการเรียนรู้มีเพียง 1 ช่องทาง เท่านั้น คือแบบไม่ตั้งใจ เพราะสมองส่วนหน้าที่ทำหน้าที่บังคับให้เรียนรู้ยังเจริญเติบโต ไม่เต็มที่ .การเรียนรู้ในเด็กเล็ก จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเปิดสมอง/เปิดลิมบิก ก่อนเริ่มต้นเข้าสู่บทเรียนทุกครั้งสมองเรียนรู้ได้ 2 แบบ ..คือ ไม่ตั้งใจ เมื่อ สมองเปิด/ลิมบิกเปิด และ ตั้งใจ เมื่อถูกบังคับ โดยพ่อแม่ ครู ผู้ปกครอง
-
การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่ดีต้องให้เด็กได้เรียนรู้ครบทั้ง 6 ช่องทาง ถ้าไม่ได้ทั้ง 6 ช่องทาง ได้เพียง 5, 4 หรือ 3 ช่องทาง ยังดีกว่า 1 หรือ 2 passive learning คือ การเรียนรู้ที่เด็กนั่งฟังแต่ครูบรรยาย active learning คือ การเรียนรู้ที่เด็กได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ลองผิด ลองถูก...ได้พูด ได้ขีดเขียน ได้ปั้น ได้แปะ ได้เคลื่อนไหว ได้สัมผัส ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส สมองเรียนได้ดีจาก active learning มากกว่า passive learning
-
BBL คือ การสร้าง การฝึกสมอง ให้สมองเรียนรู้การแก้ปัญหาได้ถูกต้อง แม่นยำ เหมาะสม ทุกช่วงวัยของการเรียนรู้ และสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในวิชาชีพได้จริง ในอนาคตการเรียนรู้การแก้ปัญหาในเด็กเล็กต้องเริ่มจากปัญหาง่ายๆ ที่เด็กเล็กคนนั้นสามารถทำได้ก่อนทุกครั้งที่เด็กสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จ ก็มีอาหารใจเกิดขึ้น มีการหลั่งสารแห่งความสุข ...endorphin ออกมา เด็กก็จะมี พลังจิต พลังปัญญา ที่อยากจะแก้ปัญหาที่ยาก และซับซ้อนมากยิ่งขึ้นๆ
สมองวัยอนุบาล
สมองมีระยะพัฒนาการต่างๆ กันในแต่ละวัย หลักสูตรที่เหมาะกับแต่ละวัย ต้องสอดคล้องกับความต้องการของสมองระยะนั้น
-
สมองของเด็กวัยอนุบาล ส่วนรับสัมผัส และส่วนเคลื่อนไหว กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ การจัดการเรียนรู้หรือการจัดประสบการณ์จึงเน้นเรื่องการพัฒนาระบบการเคลื่อนไหว และระบบสัมผัส ในตารางกิจกรรมจึงจัดช่วงเวลาพัฒนาการของร่างกายไว้อย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาทั้งสองระบบนี้
-
สมองของเด็กในวัยอนุบาล การติดต่อส่งผ่านข้อมูลต่างๆ ในสมองเป็นไปอย่างรวดเร็ว สมองซีกซ้าย, สมองซีกขวา, สมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว และสมองส่วนควบคุมความรู้สึก ข้อมูลนำเข้าต่างๆ จะกระตุ้นให้สมองใช้ประโยชน์จากความเร็วนี้
แนวทางจัดการเรียนรู้ตามพัฒนาการ
แนวทางพัฒนาร่างกายและการเคลื่อนไหว
-
เน้นให้เด็กฝึกเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้ทักษะเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ เดิน วิ่ง กระโดด คลาน ปีน โยก เด้ง
-
เน้นให้เด็กฝึกเคลื่อนไหวร่างกายพร้อมอุปกรณ์ เช่น เชือก ลูกบอล
-
เน้นให้เด็กฝึกการใช้สมดุลของร่างกาย งอตัว ยืดตัว บิดตัว
-
เน้นให้เด็กพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อละเอียด เล่นอุปกรณ์ของเล่นที่พัฒนาระบบสัมผัส เช่น ร้อยลูกปัด บล็อก
-
เน้นให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสนาม และเล่นของเล่นหรืออุปกรณ์ต่างๆ
-
เน้นให้เด็กฝึกบรรจุ เท แยกชิ้นส่วน ประกอบเข้า เล่นน้ำ เช่น เทน้ำลงภาชนะรูปทรงต่างๆ
แนวทางพัฒนาภาษา
-
พัฒนาผ่านการ
-
- อ่านให้ฟัง
-
- อ่านด้วยกัน
-
- อ่านเอง
-
-
เน้นให้เด็กพัฒนาทักษะการใช้คำพูดเพื่อสื่อสาร
-
- พูดแสดงความรู้สึก
-
- แสดงความคิดเห็น
-
- เล่าเรื่องราวที่พบเห็นมา
-
- เล่าสิ่งที่คิด
-
- เล่านิทาน
-
-
เน้นจัดกิจกรรมให้เด็กเล่นกับเรื่องราวและภาษา
-
- ต่อคำสัมผัสกลอน
-
- ท่องบทร้องเล่น
-
- เล่นกับคำที่สนุก ตลก และไม่จำเป็นต้องมีความหมาย
-
- เล่นละคร
-
-
เน้นให้เด็กได้ฝึกเขียนตัวหนังสือและข้อความ เมื่อเด็กพร้อม
-
- เขียนอิสระ
-
- เขียนสิ่งที่คิด
-
- เขียนคำที่อยากเขียน
-
- เขียนตามนิทานที่ชอบ
-
-
เน้นใช้บทเพลงและเรื่องเล่าของท้องถิ่น เป็นสิ่งกระตุ้นให้เด็กสนใจพัฒนาภาษาของตนเอง
แนวทางพัฒนาด้านศิลปะ
-
ศิลปะ คือ การคิดและจินตนาการออกมาเป็นภาพ
-
เปิดโอกาสให้สมองลองจินตนาการ ว่า ถ้าเอาสิ่งนี้รวมกับสิ่งนั้น หรือสิ่งโน้น จะเกิดอะไรขึ้น หรือ ถ้าทำแบบนี้ผลจะออกมาเป็นแบบไหน
-
ให้เด็กลองนำสิ่งที่สมองคิดอยู่ข้างใน ถ่ายทอดออกมาด้วยมือ ให้ตามองเห็นว่านี่ใช่สิ่งที่คิดหรือไม่ ถ้ามือทำงานแบบหนึ่ง ผลจะออกมาอย่างไร ผ่านการ
-
- วาด
-
- ปั้น
-
- เป่าสี
-
- ระบายสี
-
- ตัด
-
- ปะ
-
- เย็บ
-
- เรียง
-
- เท
-
- แยกออกไป
-
- ประกอบเข้า
-
- ร้อย
-
- วาง
-
- ตอก
-
- ถอดออก
-
-
เน้นให้เด็กได้ทำกิจกรรมศิลปะหลากหลายด้วยมือของตนเอง
-
- สร้าง จัดวาง สร้างสรรค์ ถ่ายทอดความคิดออกมาโดยใช้สื่อต่างๆ เช่น ทราย น้ำ แท่งไม้
-
- เข้าร่วมการแสดง เช่น เต้น รำ เล่นละคร เล่าเรื่อง ท่องบทกวี
-
- จัดประสบการณ์ศิลปะจากวัฒนธรรมท้องถิ่น
-
-
เน้นให้เวลาเพียงพอในการลองทำ และการทำซ้ำ เมื่อผ่านการลงมือทำจนเพียงพอแล้ว สมองจะเริ่มสร้างความเข้าใจโลกเบื้องต้นขึ้นมาด้วยตัวเอง
แนวทางพัฒนาอารมณ์และจิตใจ
-
สำหรับเด็กอนุบาล อารมณ์เป็นปฏิกิริยาที่เด็กแสดงออกมาเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับโลก
-
การพัฒนาอารมณ์และจิตใจไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะจูงให้เกิดขึ้น การขัดเกลาอารมณ์ต้องอาศัยความประทับใจ ความดีใจ ความเสียใจ และความเห็นอกเห็นใจ ที่เกิดขึ้นมาท่ามกลางเหตุการณ์
-
เน้นให้เด็กฟังนิทาน เรื่องเล่า เรื่องจริงที่น่าจดจำและสะเทือนใจ เช่น นิทานอีสป นิทานไทย นิทานจากตำนาน นิทานชาดก เรื่องตลก
-
เน้นนำเด็กเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้เด็กชื่นชมประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และตำนานของท้องถิ่น
-
เน้นให้เด็กได้เขียนภาพ ดูงานศิลปะ และท่องเที่ยว หรือชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
-
เน้นให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมศาสนา การกุศล ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงาม
แนวทางพัฒนากระบวนการคิด
-
เริ่มต้นที่การให้เด็กจับต้อง สัมผัส และมีประสบการณ์ตรง สมองเรียนรู้ได้ดี ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ก่อรูปเป็นวงจรการคิด
-
เน้นให้เด็กฝึกคิด การฝึกให้เด็กคิด ไม่ใช่การฝึกโดยใช้แบบฝึกหัดบนกระดาษ แต่ต้องนำเด็กเข้าสู่กระบวนการคิดโดยเข้าไปอยู่ในสถานการณ์จำลองต่างๆ เช่น ให้เด็กแสดงบทบาทสมมติ ให้เด็กทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดและตัดสินใจ
-
เน้นการลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรมอันหลากหลาย เพื่อสำรวจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้
-
- สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
-
- สิ่งต่างๆ เคลื่อนที่อย่างไร เพราะอะไรจึงเคลื่อนที่
-
- สิ่งต่างๆ อาจจำแนกออกเป็นประเภท/กลุ่มอะไรบ้าง ตามความเข้าใจของตนเอง
-
- พัฒนาความเข้าใจเรื่องมิติโดยลองจัดกลุ่มรวมเข้า แยกออก มองวัตถุด้วยแว่นขยาย
-
- พัฒนามุมมองโดยดูภาพ 2 มิติ แผนผัง สร้างวัตถุ 3 มิติ เช่น ต่อบล็อก ปั้นดินเหนียว ดินน้ำมัน
-
- สังเกตความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
- ฝึกพูด เขียน โดยใช้คำศัพท์ และคำนิยาม
-
-
เน้นฝึกให้เด็กตั้งประเด็นคำถาม และหัดใช้ความคิด รับรู้ว่าการคิดนำไปสู่การตอบคำถามที่สมองสงสัย เช่น
-
- สิ่งนี้คืออะไร
-
- มีไว้ทำไม
-
- ถ้าไม่มีจะใช้อะไรแทนได้บ้าง
-
- สิ่งนี้มาจากไหน
-
- ใครสร้างขึ้นมา
-
- สิ่งนี้ต่างกับสิ่งนั้นอย่างไร
-
-
เน้นฝึกให้เด็กใช้คำศัพท์ เพื่อทบทวนชุดความเข้าใจในประสบการณ์ที่ได้มา
-
- ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ
-
- ร้อน เย็น อุณหภูมิ
-
- นับ บวก ลบ
-
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้
-
สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ ถือเป็น ปัจจัยสำคัญยิ่งในการพัฒนาสมองเด็ก ห้องเรียน พื้นที่กลางแจ้ง พื้นที่ในร่ม ธรรมชาติแวดล้อม การประสานกันระหว่างครอบครัว โรงเรียน ชุมชน
การประสานกันระหว่าง ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน
-
การจัดการเรียนรู้ตามหลัก Brain-Based Learning นี้ให้ความสำคัญกับการประสานกันระหว่าง ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน
การวัดและประเมินพัฒนาการ
-
ประเมินพัฒนาการเด็กอย่างสม่ำเสมอ
-
มีแบบบันทึกการประเมินที่มีมาตรฐาน การประเมินเป็นไปเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ