การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนวัยอนุบาล
การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
การพัฒนาความฉลาดทางกาย
พัฒนาการของเด็กอนุบาลเห็นได้ชัดจากความสามารถในควบคุม บังคับ สั่งการร่างกายตัวเองได้ดีขึ้นเรื่อยๆ เช่น สามารถเดิน วิ่ง กระโดด ปีน ขึ้น-ลงบันไดได้ ถ้าทำได้แล้วก็แสดงว่าสมองส่วนที่รับรู้สัมผัส และการสั่งการร่ายกายได้พัฒนามากขึ้นทุกที
ผู้ปกครองรู้หรือไม่
-
เมื่อเด็กเติบโตถึงวัยอนุบาล เขาต้องการการเคลื่อนไหวร่างกายที่ซับซ้อน เขามีความมั่นใจในความสามารถทางร่างกายของเขาเอง เขาว่องไว ปราดเปรียวขึ้น
-
เมื่อเด็กก้าวถึงวัยอนุบาล เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจโลกรอบตัว เขาอยากลองดูว่า สิ่งนี้เป็นอย่างไร สิ่งนั้นกับสิ่งนี้ต่างกันตรงไหน ถ้าเราทำแบบนี้จะเกิดอะไรขึ้น ทั้งหมดไม่ใช่เพียงการเล่นสนุกๆ แต่เป็นกระบวนการพัฒนาความคิด และการจัดระบบความคิดของเด็ก
-
เด็กต้องการพื้นที่และเวลาจำนวนมาก
-
เด็กต้องการสำรวจพื้นที่และสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัยและมีอิสระ
-
เด็กต้องการโอกาสที่จะฝึกทักษะปฏิบัติทักษะ และทดลองทำสิ่งต่างๆ เมื่อเขาเคลื่อนไหว สมองของเขาจะพัฒนา
-
เด็กต้องการการเคลื่อนไหวแบบง่าย ถึงซับซ้อน ในร่มและกลางแจ้ง เพราะระบบสมองมีธรรมชาติที่ต้องการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพอยู่รอดได้
สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำ
-
ควรกระตุ้นพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็ก ให้เด็กได้วิ่ง กระโดด ปีน ฯลฯ
-
ควรจัดหาของเล่น เครื่องมือ กระตุ้นให้เด็กลงมือทำ
-
ควรให้เด็กได้เต้นจามจังหวะสนุก ฟังดนตรี ฟังเพลงเด็ก และเพลงที่พัฒนาสมอง
-
ควรจัดหาอุปกรณ์หลากหลายที่เด็กจะใช้ในการลงมือทำกิจกรรมเอง/ของเล่นมีทั้งสำเร็จรูปและธรรมชาติ
-
ควรกระตุ้นให้เด็กร้องเพลง ตะโกน และออกท่าทาง
สิ่งที่ผู้ปกครองพึงระวังหลีกเลี่ยง
-
อย่าคิดว่าโรงเรียนเท่านั้นเป็นสถานที่ที่เด็กเรียนรู้
-
อย่าคิดว่าการเรียน คือการเขียน คัด บวก ลบ เท่านั้น
-
อย่าคิดว่าการเรียน คือการอ่านหนังสือออกเท่านั้น
-
อย่าห้ามเด็กไม่ให้เล่น
-
อย่าห้ามเด็กทดลองทำสิ่งต่างๆ
-
อย่าจับเด็กมัด หรือขังไว้ในที่แคบๆ
-
อย่าเปิดทีวีให้เด็กดูเพื่อให้เด็กยุติการเคลื่อนไหว
-
อย่าปล่อยให้เด็กเล่นคนเดียวทั้งเดือน ทั้งปี เด็กควรมีเพื่อน ควรได้เล่นกับคนอื่น เล่นในสถานการณ์ต่างๆ
-
อย่าปล่อยให้เด็กเล่นเกมกด/เกมคอมพิวเตอร์
-
อย่าคิดว่าโรงเรียนเท่านั้นที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเด็ก บ้านไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และสังคม
ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์และจิตใจนั้น เด็กเรียนรู้ได้ตั้งแต่ขวบแรก คำว่า EQ เป็นคำที่ใช้กันเกลื่อน ดูคล้ายกับว่า ถ้าเราดูแลเอาใจใส่ให้ดีแล้ว EQ ของเด็กก็จะดีได้ไม่ยาก แต่ที่จริงความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์มีที่มาชัดเจน
ผู้ปกครองรู้หรือไม่
-
พัฒนาการแห่งอารมณ์และจิตใจของเด็ก เกี่ยวข้องกับการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น ปมเงื่อนสำคัญของการพัฒนาอารมณ์ก็คือ ต้องให้เด็กได้ใช้ชีวิตในโลก ไม่ใช่เก็บเด็กไว้แต่ในห้องหรือในบ้าน ต้องให้เด็กมีเพื่อน ให้รู้จักดีใจ เสียใจ ผิดหวัง สมหวัง ฯลฯ
สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำ
-
ฝึกให้เด็กมีมานะอดทน ให้มีนิสัยสู้กับความลำบาก โดยให้เด็กได้ลองทำงานบ้าน ให้เด็กได้รับผิดชอบงานบ้านง่ายๆ
-
สร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
-
- เปิดเพลงให้ฟัง
-
- อ่านหนังสือให้ฟัง
-
- ชวนกันสวดมนต์
-
- เล่าเรื่องชีวิตแต่หนหลังของครอบครัว และสังคมในอดีต
-
- เตรียมของเล่นที่เหมาะสม
-
สิ่งที่ผู้ปกครองพึงระวังหลีกเลี่ยง
-
อย่าตกใจแทบสิ้นสติที่ลูกพูดคำหยาบ เด็กยังไม่รู้ว่าหยาบคืออะไร ถ้าเด็กไม่พูดบ่อยนักก็ปล่อยไป ถ้าบ่อยเกินไปก็สอนได้ แต่อย่าห้ามราวกับว่าเป็นความผิดร้ายแรง
-
อย่าเลี้ยงเด็กให้อยู่แต่กับครอบครัว ให้เด็กมีสังคมกว้างขึ้น
-
อย่าเอาอกเอาใจ ประคบประหงมเกินเหตุ ให้เด็กรู้จักอยู่กับความจริง
-
อย่ายกย่องเชิดชูเด็กเกินจริง กระตุ้นและให้กำลังใจ แต่อย่าทำให้เหลิง
-
อย่าคิดว่าพ่อแม่สอนลูกได้เองทุกอย่าง บางอย่างต้องให้ธรรมชาติและสังคมมีส่วนสอนเด็กด้วย
การพัฒนาสติปัญญา
การใช้ประสาทสัมผัสในการสำรวจโลกรอบตัว ประสบการณ์สร้างสรรค์งานศิลปะและดนตรี ตลอดจนการแสดงสิ่งที่ตนเองคิดผ่านภาษากาย ภาษาภาพ ภาษาพูด ภาษาเขียน เปรียบเสมือนเครื่องมือในการพัฒนาสติปัญญาในเด็กเล็ก
ผู้ปกครองรู้หรือไม่
-
การวาดเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือใช้ทักษะในการแก้ปัญหา ใช้เวลาในการคิดเรื่องราวต่างๆ เพื่อพัฒนาวิธคิดสร้างสรรค์ เพื่ออธิบายความเข้าใจของเขาที่มีต่อเรื่องของขนาดและปริมาณ (scale) ระยะและมิติ (space) การเปลี่ยนตำแหน่ง (motion) ของสิ่งที่เขากำลังจะวาดนั้น
-
ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสผ่านทางศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์ เป็นความเพลิดเพลินที่มีคุณค่าแก่เด็ก เด็กจะได้สำรวจ ภาพ กลิ่น รสชาติ และลักษณะเนื้อแท้ของสิ่งต่างๆ นี่เป็นการส่งเสริมความมั่นใจและความรู้สึกเป็นตัวตนของเด็ก ขณะเดียวกันเด็กก็พยายาม ตีความโลกรอบตัว ขณะที่เขาออกแบบสร้างสรรค์ แสดงบทบาท ทำและทดลอง เด็กจะสร้างสรรค์จินตนาการส่วนตัวขึ้นมา ตามสิ่งที่เขาเห็นและมีประสบการณ์
-
ความอยากรู้อยากเห็น และจินตนาการของเด็ก สามารถเป็นเครื่องกระตุ้นอย่างทรงพลัง สำหรับการสำรวจศิลปะ ดังนั้น คำพูดที่ว่าเด็กไม่ชอบศิลปะ หรือเด็กเกลียดวิชาศิลปะ จึงเป็นคำพูดที่สะท้อนปัญหาของวิธีการจัดการศึกษามากกว่า
สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำ
-
จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ มาให้เด็กทำงานศิลปะ เช่น ดินสอสี สีเทียน กระดาษวาด พู่กัน จานสี ดินน้ำมัน กาว กรรไกร ดินเหนียว กะละมัง ฯลฯ
-
ลองหาเวลาทำงานศิลปะกับลูกบ้าง แม้คุณจะไม่ชอบทำ ทำไม่เป็น แต่เด็กอยากให้ผู้ใหญ่อยู่ข้างๆทำด้วยกัน โดยเฉพาะครอบครัวที่เด็กไม่มีเพื่อน มีพี่น้องเพียง 2 คน
-
เปิดเพลงหลากหลายให้ลูกฟัง เช่น เพลงเด็ก เพลงไทยเดิม เพลงไทยสากล เพลงสากล สังเกตดูว่าเด็กชอบเพลงแบบไหน เพลงเอะอะอึกทึกเกินไปไม่เหมาะกับสมองเด็ก
สิ่งที่ผู้ปกครองพึงระวังหลีกเลี่ยง
-
อย่าสนใจแต่จะพาลูกไปโรงเรียนศิลปะ ควรสนใจจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เด็กได้ทำงานศิลปะ
-
อย่าคิดว่างานศิลปะที่เด็กทำต้องสวยงาม เหมือนจริง งานศิลปะเด็กเป็นความพยายามที่จะถ่ายทอดจินตนาการในสมองออกมาเป็นภาพ
ผู้ปกครองกับโรงเรียน
-
ผู้ปกครองอาจช่วยเหลือโรงเรียนได้ด้วยวิธีใดบ้าง
-
มีผู้ปกครองที่ชำนาญบางเรื่องและพอใจจะสอนเด็กในชั่วโมงพิเศษบ้างหรือไม่
-
จัดตารางเวลาให้ผู้ปกครองมาทำกิจกรรมพิเศษในห้องเรียนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
-
ผู้ปกครองอาจเป็นเจ้าของสถานที่ พื้นที่ที่คุณครูอยากจะให้เด็กได้เรียนรู้ คุณครูมีรายการสถานที่เหล่านี้แล้วหรือยัง
-
ผู้ปกครองเคยมาอ่านหนังสือให้นักเรียนฟังหรือยัง
-
ผู้ปกครองเคยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพห้องเรียน และเสนอแนะวิธีปรับปรุงหรือไม่
-
ผู้ปกครองกับคุณครูมีจดหมายสื่อสารถึงกันบ้างหรือไม่
-
คุณครูแนะแนวทางการเขียนอธิบายเกี่ยวกับตัวเด็กให้ผู้ปกครองทราบหรือไม่
-
ผู้ปกครองเคยบอกคุณครูหรือไม่ว่า ลูกหลานของเขามีอะไรเป็นจุดเด่นหรือจุดอ่อน
-
ผู้ปกครองร่วมมือกันจัดกิจกรรมเพื่อเด็กในชั้นบ้างหรือไม่
ตัวอย่างความร่วมมือของบ้านและโรงเรียน
Family Fun Day ในปีหนึ่งๆ โรงเรียนมีวันสนุกสำหรับครอบครัวมาสังสรรค์ กับเด็กๆ บ้างหรือไม่ ความผูกพันเหล่านี้ก่อให้เกิดบรรยากาศแห่งความเชื่อมั่น และความไว้วางใจอย่างลึกซึ้ง
-
จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ มาให้เด็กทำงานศิลปะ เช่น ดินสอสี สีเทียน กระดาษวาด พู่กัน จานสี ดินน้ำมัน กาว กรรไกร ดินเหนียว กะละมัง ฯลฯ
-
ลองหาเวลาทำงานศิลปะกับลูกบ้าง แม้คุณจะไม่ชอบทำ ทำไม่เป็น แต่เด็กอยากให้ผู้ใหญ่อยู่ข้างๆทำด้วยกัน โดยเฉพาะครอบครัวที่เด็กไม่มีเพื่อน มีพี่น้องเพียง 2 คน
-
เปิดเพลงหลากหลายให้ลูกฟัง เช่น เพลงเด็ก เพลงไทยเดิม เพลงไทยสากล เพลงสากล สังเกตดูว่าเด็กชอบเพลงแบบไหน เพลงเอะอะอึกทึกเกินไปไม่เหมาะกับสมองเด็ก
สิ่งที่ผู้ปกครองพึงระวังหลีกเลี่ยง
-
ผู้ปกครองทำอาหารมาคนละ 1 อย่าง อาจเป็นผลไม้ ไอศกรีม ขนมครก วอฟเฟิล จัดไว้กลางสนาม
-
ผู้ปกครองบางคนอาจมายืนทำอาหารบริการด้วยตนเอง เช่น ก๋วยเตี๋ยว ทอดมัน ขนมครก กล้วยทอด
-
โรงเรียนจัดหาถ้วย แก้ว ชาม ช้อน ไว้บริการ
-
โรงเรียนจัดทำคูปองให้นักเรียนซื้อในราคาถูก นำคูปองมาแลกซื้ออาหาร รายได้จากคูปองนำไปจัดทัศนศึกษา ทำบุญ หรือซื้อหนังสืออ่านให้เด็กอ่าน
-
มีเกมสนุกให้เล่น เช่น โยนห่วง ปาเป้า
-
จัดหาสวนสนุกเล็กๆ หรือเครื่องเล่นมาให้เด็กเล่นบ้าง
-
บนเวทีมีการแสดงสนุกๆของเด็ก และผู้ปกครอง อย่าทำให้เป็นการแข่งขันจริงจัง เน้นให้สนุกสนาน สบายใจ
-
นำการแสดงมายากลมาแสดงให้เด็กดู
-
การจัด Family Fun Day ไม่ควรจัดพร้อมกันทั้งโรงเรียน เพราะจำนวนคนมากเกินไป ทำให้การจัดงานทำได้ยาก อาจจัดทีละ 10 ห้อง ทีละชั้น เป็นต้น
การมีส่วนร่วมของชุมชน
ชุมชน คือ แหล่งรวมองค์ความรู้นานา ในชุมชนมีแปลงผัก ร้านค้า บริษัท สถานที่ทำการต่างๆ โบราณสถาน โบราณวัตถุ เด็กๆ ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชน ผ่านกิจกรรมที่ได้ปฏิสัมพันธ์กับชุมชนด้วยตนเอง
ชุมชนกับโรงเรียน
-
ชุมชนกับโรงเรียนมีการร่วมมือกันทำงานบางอย่างบ้างหรือไม่
-
ชุมชนมีปฏิทินกิจกรรมอะไรบ้างในแต่ละปี
-
เด็กสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามปฏิทินนั้นได้บ้างไหม
-
สถานที่ในชุมชนที่ยินดีเปิดรับเด็กเข้าไปทัศนศึกษามีที่ใดบ้าง
-
กิจกรรมใดในชุมชนที่เด็กควรลงไปร่วมทำงานด้วย
-
พื้นที่ตรงไหนในชุมชนที่เด็กอาจไปศึกษาได้ในแต่ละเดือนของปี
-
บุคคล สถานที่สำคัญในชุมชนอยู่ที่ไหน ท่านเคยแจ้งข่าวสารเรื่องราวที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อเด็กให้คุณครูทราบบ้างไหม