OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

ทิศทางใหม่ของการจัดการเรียนรู้

7459 | 23 กุมภาพันธ์ 2560

เวทีเสวนา เรื่อง "ทิศทางใหม่ของการจัดการเรียนรู้"

วิทยากร    รศ.ดร.วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์
             รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
             อาจารย์สุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล
             ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการมัธยมศึกษา โรงเรียนดรุณสิกขาลัย
             อาจารย์ไกรวิน วัฒนะรัตน์
             อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
             ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี
             ผู้ดำเนินรายการ

            ทำไมต้องจัดการเรียนรู้ใหม่

  • เพราะโลก สังคม และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งโครงสร้างสังคม อาชีพ และเทคโนโลยี
  • ความรู้มาเร็วและไปเร็ว
  • การเรียนรู้แบบเดิมๆ เป็นแบบไหน
  • "ครู" เป็นศูนย์กลาง และเป็นผู้นำของห้องเรียน 
  • การเรียนเป็นการรับข้อมูลฝ่ายเดียว 
  • ครูมีบทบาทสำคัญต่อการชอบหรือไม่ชอบวิชาของนักเรียน 
  • สิ่งเร้าแวดล้อมของเด็กมีน้อยกว่าปัจจุบัน
  • เด็กเชื่อครู
      ดังจะเห็นได้ว่าครูมีบทบาทและอิทธิพลต่อเด็กมาก หากคุณภาพของครูไม่ดี แล้วคุณภาพเด็กจะเป็นอย่างไร 
อยากให้เด็กไทยในอนาคตเป็นอย่างไร
  • มีทัศนคติที่ดี
  • มีนิสัยดี
  • รู้จักตัวเอง
  • จัดการตัวเองได้
  • เห็นคุณค่าของตัวเอง
  • อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

              ทิศทางการจัดการเรียนรู้แบบใหม่

  • ครู ต้องเป็นมากกว่าผู้บรรยาย (Lecturer) แต่ต้องเป็นผู้เอื้อการเรียนรู้ (Facilitator) ที่สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย และสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก
  • มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ให้เข้าถึงง่าย มีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย แต่ก็ต้องระวังการอาจดึงความสนใจเด็กจากครู และโรงเรียน  

         ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้แบบใหม่

             ดรุณสิขาลัย (Constructionism)
  • เด็กสร้างความรู้เอง ซึ่งมาจากความสนใจใคร่รู้ของเด็กจริงๆ (Passion)โดยผ่านการทำ Project
  • เรียนรู้แบบบูรณาการทุกเนื้อหา (Seamless)
  • เรียนรู้จากการลงไปพื้นที่จริง เช่น ไปตลาดน้ำ สวนผัก ชุมชน เป็นต้น
  • Career - based Learning มีการจัดบ้านเรียน ให้ครูเป็น Role Model ให้เด็กรู้จักวางแผน จัดระบบ วิจัยค้นหาคำตอบ
  • ให้เด็กต่างวัยเรียนรวมกัน
  • ส่งเสริมการถกเถียง (Discussion) ตั้งคำถามกันระหว่างของครูและเด็ก สลายการเป็นเด็กหน้าห้อง-หลังห้อง

            STEM (Inquiry - based Learning)
         แนวคิดที่ให้เด็กสืบค้นหาความรู้ และทำให้ได้คิดเป็น รู้จริง รู้นาน สื่อสารได้ โดยกระบวนการของ STEM มีขั้นตอนดังนี้ คือระบุปัญหา รวบรวมข้อมูล ออกแบบวิธีแก้ปัญหา วางแผนและดำเนินงาน ทดสอบและปรับปรุง นำเสนอผลโดยผลลัพธ์จะได้เด็กที่มี "เสรีภาพในการเรียนรู้" (Free Mind)


              Class Room 4.0 (วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม)

             มีการใช้ประโยชน์จากออนไลน์ 
  • การสร้างสื่อการเรียนรู้ เช่น ทำวิดีโอคลิป เผยแพร่ความรู้ดีๆ บนเฟสบุ๊ก ให้เด็กๆ เห็นความคิดเห็นของเพื่อน แล้ว discuss กัน
  • สรุปและแลกเปลี่ยนแบ่งปันการเรียนรู้
  • โฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านเฟสบุ๊ก ให้เด็กมาเรียน
  • ส่งเสริมรายวิชาหรือเชิญวิทยากรที่น่าสนใจมาแชร์ประสบการณ์ในห้องเรียน
             ผู้สอน
  • ไม่ใช่แค่อาจารย์ในมหาวิทยาลัย แต่รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ Influencer ที่น่าสนใจ เช่น Mthai, Uber, Google, รุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จ
  • กระตุ้นให้เด็กคิด นำเสนอประเด็นหรือเนื้อหาที่ต้องการเอง
  • ผลักดันนักเรียนที่มีความรู้ให้ขึ้นมาเป็นผู้สอน ทั้งในห้องเรียน มหาวิทยาลัย หรือทำงานกับองค์กรภายนอก
            ผลที่ได้

  • ครูเป็น Cheerleader ในการนำ เพื่อสนับสนุน และกระตุ้นเด็ก
  • เด็กก็จะมีศักยภาพเบ่งบาน และผันตัวขึ้นมาเป็น Leader
  • เกิด Community และ Connection
             บทบาทครู ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้แบบใหม่

  • ครูไม่ได้เป็นเพียงคนยืนบรรยาย (Lecturer) อยู่หน้าห้อง แต่ผันตัวเองไปเป็น Facilitator รวมถึง Cheerleader ที่สนับสนุนและกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็ก
  • เป็น Ambassador ในการสร้าง community ของการเรียนรู้ และการทำงานในอนาคตอีกด้วย
  • ครูต้องลดแรงกดดันของตัวเอง แทนที่จะให้ตัวเองเป็นศูนย์กลางแบบเดิม ให้คิดว่าตัวเองเป็นผู้เรียนคนหนึ่ง ซึ่งจะเกิดการเรียนรู้ที่น่าสนใจร่วมกัน
  • สร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง

เอกสารเผยแพร่อื่นๆ

เด็กกับเทคโนโลยี ความพอดีอยู่ทีไหน

เด็กกับเทคโนโลยี ความพอดีอยู่ทีไหน

เมื่อเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและมีบทบาทมากขึ้น จะทำอย่างไรให้เด็กๆ ใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน และชาญฉลาด
ทิศทางใหม่ของการจัดการเรียนรู้

ทิศทางใหม่ของการจัดการเรียนรู้

ทำความรู้จัก เข้าใจแนวทางจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ร่วมวิเคราะห์ สร้างสรรค์คำตอบให้กับการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 เพื่อนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
การสร้างเยาวชนของชาติ เพื่อตอบโจทย์อนาคต

การสร้างเยาวชนของชาติ เพื่อตอบโจทย์อนาคต

“การสร้างเยาวชนของชาติ เพื่อตอบโจทย์อนาคต” ค้นพบความหมายและความสำคัญของ การพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital Development) จากหลากมุมมองของผู้มีส่วนในการวางรากฐานการสร้างเยาวชนของชาติให้เติบโตขึ้นเป็นทุนมนุษย์ที่ทรงคุณค่าในอนาคต 

Brain-Based Learning