เส้นทางเห็ดโคนน้อย
เห็ดโคนมีรสชาติอร่อยเป็นที่นิยมของผู้บริโภค แต่มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากเพาะเลี้ยงเองไม่ได้ เกิดตามธรรมชาติในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมเท่านั้น ส่วนเห็ดโคนน้อยหรือเห็ดถั่วและมีชื่อเรียกอื่นๆ ตามวัสดุเพาะ ซึ่งเห็ดชนิดนี้มีรสชาติใกล้เคียงกับเห็ดโคนและสามารถเพาะเลี้ยงได้ ปัจจุบันการเพาะเห็ดชนิดนี้เริ่มมีการผลิตแบบโรงเรือน เพื่อต้องการผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการในท้องตลาด การส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดโคนน้อยน่าจะมีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมฐานรากของชุมชน ทำให้ได้รับการพัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์จนเป็นที่นิยมแพร่ หลายในจังหวัด เชียงใหม่ ลำปาง กำแพงเพชร ลพบุรี กาญจนบุรี เป็นต้น สรรพคุณของเห็ดโคนน้อย พบว่า มีคุณค่าทางอาหารสูงและมีสรรพคุณทางสมุนไพร เช่น ช่วยย่อยอาหาร ลดเสมหะ ใช้ตำละเอียดพอกภายนอกบรรเทาปวดได้ ยับยั้งเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ 90 -100 % มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา เป็นต้น
กระบวนการผลิต ไม่ยุ่งยาก ลงทุนต่ำ ผลผลิตค่อนข้างสูง สามารถเพาะบนวัสดุราคาถูก เพาะได้ตลอดปี ทั้งในพื้นที่ที่จำกัด ใช้เวลาในการเพาะสั้น ปัญหาแมลงศัตรูมีน้อย เป็นต้น ด้านการตลาด จำหน่ายในรูปของสด ดอกตูมที่โตเต็มที่ให้แก่ตลาดสดและโรงงานแปรรูป เห็ดโคนน้อยสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เห็ดโคนน้อยบรรจุขวด แหนมเห็ด เห็ดสวรรค์ หรืออาจพัฒนาเป็นเมนูเห็ดต่างๆ เช่น แกงเห็ดใส่ยอดฟักทอง ผักเห็ดโคนน้อยน้ำมันหอย น้ำพริกเห็ดโคนน้อย เป็นต้น ในอนาคตอาจส่งเสริมอาชีพใหม่จากการแปรรูปและการประกอบอาหารเมนูต่างๆ จากเห็ดโคนน้อย
ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 9665.84 KB)
กระบวนการผลิต ไม่ยุ่งยาก ลงทุนต่ำ ผลผลิตค่อนข้างสูง สามารถเพาะบนวัสดุราคาถูก เพาะได้ตลอดปี ทั้งในพื้นที่ที่จำกัด ใช้เวลาในการเพาะสั้น ปัญหาแมลงศัตรูมีน้อย เป็นต้น ด้านการตลาด จำหน่ายในรูปของสด ดอกตูมที่โตเต็มที่ให้แก่ตลาดสดและโรงงานแปรรูป เห็ดโคนน้อยสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เห็ดโคนน้อยบรรจุขวด แหนมเห็ด เห็ดสวรรค์ หรืออาจพัฒนาเป็นเมนูเห็ดต่างๆ เช่น แกงเห็ดใส่ยอดฟักทอง ผักเห็ดโคนน้อยน้ำมันหอย น้ำพริกเห็ดโคนน้อย เป็นต้น ในอนาคตอาจส่งเสริมอาชีพใหม่จากการแปรรูปและการประกอบอาหารเมนูต่างๆ จากเห็ดโคนน้อย
ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 9665.84 KB)