OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 คิดให้ทันโลก โดย ทนง โชติสรยุทธ์

16057
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 คิดให้ทันโลก โดย ทนง โชติสรยุทธ์

ทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21


นอกเหนือจากการคิดเชิงวิพากษ์ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะที่ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึง คือ การสนุกกับการแก้ไขปัญหา จะดีมากหากสามารถที่จะพัฒนาเด็กไทยให้รองรับกับการแก้ไขปัญหาได้


แนวคิดของ OECD (องค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ)


หัวใจสำคัญที่จะทำให้ประเทศชาติอยู่ดีและแข็งแรง ในการที่จะทำให้ประเทศนั้นๆ มีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนประเทศนั้นควรมีขีดความสามารถอย่างไร ?


  1. มีความสามารถอยู่ร่วมกันได้ดีในสังคมที่หลากหลายและแตกต่างทางความคิด แน่นอนว่าถ้าสังคมหลากหลายแต่หากสามารถคุยกันรู้เรื่องได้ สามารถปรองดองได้ ก็สามารถอยู่ร่วมกันและพาประเทศให้แข็งแรงได้
  2. มีความสามารถในการจัดการกับชีวิตและสภาพงานของตนได้ ถ้าแต่ละคนจัดการชีวิตตนเองเป็น จัดการรับผิดชอบเรื่องของตนเองได้ ก็จะเป็นเรื่องดีกับภาพรวมทั้งประเทศที่จะสามารถทำให้ดำเนินสิ่งต่างๆ ได้อย่างราบรื่น
  3. มีความสามารถในการใช้เครื่องมือช่วยต่างๆ ได้ดีและตระหนักบทบาทในวงกว้าง (ภาษาข้อมูลความรู้และฮาร์ดแวร์)

การใช้ภาษาในการหาความรู้ ติดต่อสื่อสาร ขยายการพัฒนา ต้องรู้จักการจัดการข้อมูลความรู้ แยกแยะข้อมูลอย่างมีเหตุผล รู้เท่าทันโซเชียลมีเดีย คิดวิเคราะห์เพื่อให้รู้เท่าทัน คิดหาแรงจูงใจถึงที่มาของข้อมูล รู้ทันซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานชัดเจนมากขึ้น


การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญเสมือนเป็นการสร้างพื้นฐานของประเทศนั้นๆ ให้แข็งแรง จาก 3 หัวใจหลัก ดังกล่าว จึงทำให้ประเทศชั้นนำหลายประเทศอย่าง ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ฟินแลนด์ ปรับระบบการศึกษาตามหัวใจทั้งสามข้อนี้ ภายหลังจึงมีการออกแบบการสอบ Piza ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อวัดความสามารถและคุณภาพบุคลากรของแต่ละประเทศ โดยวัดจากเด็กอายุ 15 ปีที่จะเป็นแรงงานทางเศรษฐกิจในอนาคต และผลสรุปของประเทศไทยยังคงเส้นคงวา ไม่ได้พัฒนาไปจากเดิมเท่าใดนัก


ในภาวะของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปจากการพัฒนาแนวคิดในปี พ.ศ.2551 ทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 นอกเหนือจากการศึกษามีทักษะอะไรบ้างที่จะทำให้ประชากรอยู่รอด


  1. การมีทักษะชีวิตและทักษะวิชาชีพ (Life and Career Skills)

    รู้จุดมุ่งหมายของชีวิตมีแรงบันดาลใจรู้จักวางแผนกล้าตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลที่เกิดจากการตัดสินใจทำงานมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ รู้จักประเมินตนเอง มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวสร้างสมดุลในชีวิตได้ ล้มแล้วลุกเป็น มีทักษะสังคมและการเรียนรู้ที่สร้างความเข้าใจที่ข้ามวัฒนธรรม/ มีความสามารถในการเป็นผู้สร้างงาน/ ผลิตงาน/ ปรับปรุงงาน

  2. การมีทักษะการเรียนรู้และทักษะสร้างนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) เน้นจากแนวคิดหลักเรียกว่า 4 C
    • Critical thinking การคิดวิเคราะห์เป็นแก้ปัญหาเป็น
    • Communication การสื่อสาร พูดและสามารถเข้าใจกัน
    • Corroboration การร่วมกับคนอื่นได้
    • Creativity ความคิดริเริ่ม ความคิดสร้างสรรค์
  3. การมีทักษะในเรื่อง Information / Media / Technology (Digital Literacy Skills)

    ต้องค้นหาให้เป็น เข้าใจถึงกลไกสาเหตุและเนื้อหา เข้าใจว่าคนอื่นเข้าใจอย่างไร ใช้ข้อมูลให้เป็น รู้เท่าทันข้อมูลและข่าวสาร รู้จักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่อย่างชาญฉลาด

  4. มีทักษะใน 3 วิชาหลัก ประกอบไปด้วย
    • การเขียน สามารถจับประเด็นเป็น ย่อความเป็น
    • การอ่าน มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ย่อความ อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ
    • การคิดเลข แต่ไม่ใช่แค่การคิดเลขเป็นเท่านั้น ต้องใช้ตรรกะความคิดให้เป็น สามารถเข้าใจและอธิบายที่มาที่ไปของคำตอบได้
  5. ตระหนักในเรื่องสำคัญของศตวรรษที่ 21 ประกอบไปด้วย ความเป็นไปของโลก การเงิน สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และต้องเข้าใจถึงผลกระทบต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
    • ความเป็นไปของโลก การเงินธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ การเป็นผู้ประกอบการ เพื่อให้เข้าใจถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่และตั้งใจทำให้มีคุณภาพ
    • ความเป็นพลเมืองที่ดี (รู้หน้าที่ของตน/ ตระหนักในความรับผิดชอบ/ ยอมรับและเคารพความแตกต่างของผู้อื่น/ เคารพในสิทธิของผู้อื่น) ถ้าเมื่อใดที่เราเคารพกันจะเป็นเสมือนการเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น
    • สุขภาพ ต้องดูแลรักษาสุขภาพ โภชนาการ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตจัดการสิ่งต่างๆ ต่อไปได้อย่างราบรื่น
    • สิ่งแวดล้อม เรียนรู้การใช้ทรัพยากร เรียนรู้การแบ่งบันกันให้เหมาะสม ไม่ละเลยหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อม

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรรู้ คือ ขีดความสามารถ(Competencies)ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อันได้แก่ การจัดการข้อมูล การทำงานร่วมกับผู้อื่น การจัดการชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ และการคิด การแก้ไขปัญหา การตัดสินใจ


นอกเหนือไปจากการใช้ขีดความสามารถของตนเอง การใช้ทักษะต่างๆ ของตนเองให้เป็นนั้นก็เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจเช่นกัน จากผลสำรวจของ McKinsey สิ่งที่ถูกให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ความสามารถในการแก้ไขปัญหา คิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ รองลงมา คือ ความมีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพของตนและการทำงานต่อมา คือ ความสามารถในการสื่อสารต่อรองให้เข้าใจ และถัดมาจะเป็น ความเป็น Teamwork ความสามารถในการเข้าใจกลไกของระบบดิจิตอล และความสามารถทางคณิตศาสตร์ ตามลำดับ


สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ 60 % ของงานในอนาคตยังไม่ถูกคิดค้นในวันนี้ และ 70 % ของงานใหม่เกิดจาก SME จากผลสถิติแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเราไม่สามารถสร้างเด็กรุ่นใหม่ให้มีความพร้อมรองรับสถานการณ์ในอนาคตได้


แม้เราจะไม่สามารถคาดการณ์อนาคตได้แน่นอน แต่การเตรียมตัวให้เพื่อให้มีความสามารถในการรองรับคืออะไร อะไรคือแก่นที่จะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้? แสดงให้เห็นว่าการศึกษาไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และต้องทำอย่างไรต่อไป ต้องใช้อะไร และยิ่งตอกย้ำอีกครั้งจากสถิติของการการจ้างงาน 33% นายจ้างที่รู้สึกว่าธุรกิจกำลังประสบความเสียหายอย่างร้ายแรงเพราะขาดแคลนผู้มีทักษะมาทำงาน 79% เยาวชนที่รู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้ถูกเตรียมตัวมาให้พร้อมสำหรับการทำงาน 27% นายจ้างไม่สามารถหาคนมาทำงานได้เพราะคนที่มาสมัครงานมีทักษะไม่เพียงพอ ตัวอย่างผลประเมินจากสิ่งต่างๆข้างต้น ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงการศึกษาไทยว่าไม่ได้ออกแบบมาสำหรับวิชาชีพต่างๆ เกิดมาอย่างไม่สอดคล้องกัน แม้จะมีการพัฒนาระบบEducationต่างๆ อันได้แก่ 1.0 การป้อนความรู้ทางตรงจากครู ซึ่งไม่เพียงพอ โดยมีการนำความสามารถทางเทคโนโลยีมาปรับใช้ ก่อให้เกิด Education 2.0 เป็นการเรียนรู้ผ่าน E-learning และต่อยอดเป็น 3.0 การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ทั้งนี้ 3 รูปแบบดังกล่าว ก็ยังไม่เพียงพอต่อเยาวชนไทยในการสร้างความรู้และนวัตกรรม จึงได้ทบทวนและปรับปรุงเพิ่มเติมที่ Education 4.0 เน้นที่การสร้างนวัตกรรม โดยข้อนี้ คือ หัวใจที่จะทำให้แต่ละประเทศมีคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนได้ เป็นการค้นหากระบวนการที่จะกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และสิ่งใหม่ๆ สามารถแบ่งได้เป็นกระบวนการ 5 ข้อ


  1. อยากรู้อยากเห็น สงสัยและตั้งคำถาม สำรวจสืบเสาะ ท้าทายสมมติฐาน
  2. ยืนหยัดมุ่งมั่น อดทนกับความไม่แน่นอน ยืนหยัดต่อความยากลำบาก กล้าที่จะแตกต่าง
  3. จินตนาการ เล่นกับความเป็นไปได้ สร้างความเชื่อมโยง ใช้ปรีชาญาณ
  4. ทำงานเป็นระบบ ประดิษฐ์และปรับปรุง พัฒนาเทคนิค วิเคราะห์วิจารณ์
  5. ทำงานร่วมกัน ร่วมมืออย่างเหมาะสม ให้และรับข้อเสนอแนะ แบ่งบันผลผลิต

สิ่งสำคัญของการสร้างประเทศชาติให้แข็งแรง คือ ขีดความสามารถในการแข่งขัน และหากเราทุกคนสนุกกับการแก้ปัญหา จะได้ผลอะไรเกิดขึ้น??


  • Productivity ในแต่ละวิชาชีพดีขึ้น จากเดิมดีขึ้นในเกณฑ์ที่ไม่พอต่อการเป็นประเทศที่พัฒนา
  • เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น หาก Productivity อยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น
  • เกิดนวัตกรรมมากขึ้นProducts / Services / Process
  • เกิดผู้ประกอบการมากขึ้น/ เกิดSME มากขึ้น
  • เปลี่ยนจาก สังคมขี้บ่น เป็น สังคมที่สนุกกับโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น ประเทศแข็งแรงขึ้นจะเริ่มต้นอย่างไร
  • หาความหงุดหงิดรอบตอบ อาจจดใส่สมุด/ การหาความต้องการที่ซ่อนเร้น จากวิถีชีวิตที่เราคิดว่าปกติ
  • สร้างความแตกต่าง/ สร้างประโยชน์ใช้สอยที่มากขึ้น/ สร้างความประทับใจ เกิดเป็น การสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างนวัตกรรม เป็นผู้ประกอบการ Products / Services / Process

หัวใจสำคัญเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง คือ การสร้างแรงบันดาลใจ แรงบันดาลใจเกิดขึ้นได้จากการอ่าน จากการได้รับฟัง จากการได้ดูภาพยนตร์ จากการได้สัมผัสตัวจริงที่ทำให้เกิดความประทับใจ จากการได้มีประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง และจากการอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลง จากการฟังไม่กี่อย่าง ไม่กี่นาทีก็สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตคุณได้ และหากมีความสนใจเพิ่มขึ้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำโมเดลในการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดคณะให้เป็นสถานที่แห่งแรงบันดาลใจ




บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

มันส์สมอง | Let’s play with knowledge
2968
เล่นให้โดน : ถอดรหัสกลเม็ดสู่ความสำเร็จสร้างคอนเทนต์ให้โดนใจคนไทย
2853
เล่นเป็นเรียน : เรียนให้ต่าง เล่นให้ได้ความรู้
6000
เล่นจนได้ดี : กล้าเดินตามฝัน ลงมือทำในสิ่งที่คนอื่นได้แต่คิด
4060
เล่น ลอง เรียน : ถอดรหัส "ห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21"
5271
“เล่น เห็น โลก: ท้าทายอนาคต สร้างโอกาสใหม่ให้ประเทศ”
3687
มันส์สมอง | พื้นที่แห่งความรู้ในศตวรรษที่ 21
3011
สร้างโอกาสใหม่จากวัฒนธรรมของโลกที่ไร้ขอบเขต โดย เชฟเอียน พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย
5164
รู้ทันโลกเทคโนโลยี พลิกธุรกิจรับโอกาสใหม่ โดย ไผท ผดุงถิ่น
6747
ทักษะการสื่อสารและการตลาดที่จะพาเราไปตลาดโลก โดย สุรชัย พุฒิกุลางกูร
3568