Critical thinking exercise ถอดรหัสการคิดวิพากษ์ โดย พฤหัส พหลกุลบุตร กลุ่มมหาลัยเถื่อน
มองมุมใหม่ด้วย Street photography
การคิดเชิงวิพากษ์เราจะต้องมองโลกด้วยสายตาใหม่ๆ อยู่เสมอ (New vision) เริ่มต้นการวิพากษ์โดยการมีมุมมองใหม่ต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว กิจกรรมนี้เป็นแบบฝึกหัดฝึกสายตา สิ่งที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ฝึกสายตาก็คือ “การถ่ายรูป” ซึ่งเลือกให้ถ่าย Street photography เพราะภาพบนท้องถนนทำให้เราได้เห็นเมือง ผู้คน วัฒนธรรม บริบททางสังคม ปมขัดแย้งบางอย่าง และทำให้เกิดกระบวนทัศน์บางอย่างได้ เนื่องจากภาพแนวสตรีทเป็นภาพจริงที่เห็นกันทุกวัน ไม่มีการจัดฉาก เป็น “วิถีชีวิต” ประจำวันของ “สังคม” “ชุมชน” ที่เราอาจ “ไม่เคยสังเกต”
การมองภาพด้วย “สายตาใหม่” ต้องการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นเหตุการณ์ที่อาจจะ “ธรรมดา” แต่มัน “สะท้อนอะไรบางอย่าง” เพราะภาพถ่ายทำให้คนถ่ายต้อง “หยุดดู” และคิดวิพากษ์
การคิดวิพากษ์จะเกิดขึ้นได้เราต้องมีวัตถุดิบใหม่ๆ การถ่ายรูปคือการให้ออกไปเดินหาวัตถุดิบสำหรับการคิดวิพากษ์ ออกไปสำรวจสิ่งรอบตัวที่เราเคยคิดว่ามันเป็นปกติ รวมถึงได้ปฏิสัมพันธ์กับคนที่เราจะถ่ายภาพ
Critical thinking exercise ถอดรหัสการคิดวิพากษ์
หัวใจสำคัญของการคิดวิพากษ์ไม่ได้อยู่ที่วัตถุดิบในการวิพากษ์ หากแต่เป็นทักษะในการคิดและถกเถียงด้วยเหตุผล การระดมสมอง พูดคุยและแลกเปลี่ยนกันอย่างเข้มข้นจะช่วยกระบวนการคิดวิพากษ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การคิดวิพากษ์ที่สมบูรณ์จะต้องมองเห็นกระบวนการทั้งหมด โดยเริ่มต้นแต่ การระบุปัญหา หาสาเหตุและผลกระทบ มองภาพฝันตั้งเป้าหมายและเปรียบได้กับผลที่คาดว่าจะได้รับ และมองหาวิธีการแก้ไข โดยมีหลักการดังนี้
- Re-define ระบุและทบทวนปัญหา
- Critical thinking perspective คิดอย่างมีวิจารณญาน
- Analogies คิดอย่างมีหลักการและเหตุผล
- Divergently คิดอย่างหลากหลาย
- Holistic คิดเป็นองค์รวม
- Experiment ทดลองแก้ปัญหาหลายแบบ