OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

เปิดสมองไปกับวิธีการเรียนรู้ในโลกใหม่ โดย Dr. Pasi Sahlberg

4650
เปิดสมองไปกับวิธีการเรียนรู้ในโลกใหม่ โดย Dr. Pasi Sahlberg
New Learning Skills in the Dynamic World : เปิดสมองไปกับวิธีการเรียนรู้ในโลกใหม่
โดย Dr. Pasi Sahlberg  ผู้นำความคิดและนักการศึกษาระดับเวิลด์คลาสของฟินแลนด์ ได้เล่าถึงระบบการศึกษามีความท้าทาย 3 ประการ ได้แก่ 
  1. เรื่องคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ดำเนินโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ หรือ PISA (Programme for International Student Assessment) ซึ่งผล PISA เพื่อติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษาและมุ่งให้ข้อมูลแก่ระดับนโยบาย กลุ่มตัวอย่างของ PISA คือ นักเรียนกลุ่มอายุ 15 ปี ถือว่าเป็นวัยจบการศึกษาภาคบังคับ โดยผู้เกี่ยวข้องอย่างรมว.ศึกษาธิการ  โรงเรียน ผู้ปกครอง ทุกคนต่างคาดหวังว่าผล PISA อยู่ในระดับที่ดีแต่ในความเป็นจริงกลับไม่เป็นอย่างนั้น

  2. เรื่องความเสมอภาค ต้องมีการจัดการศึกษาให้เด็กทุกคนมีความยุติธรรมกัน โดยเฉพาะการสร้างความเสมอภาคให้เด็กที่ด้อยโอกาส หรือเด็กที่มีโอกาสน้อยได้เสมอภาคเท่าเทียมเหมือนเด็กปกติ ทำอย่างไรให้โรงเรียนสนับสนุนเด็กทุกคนเรียนรู้ได้ดี เสมอกัน

  3. เรื่องความจำเป็นของการไปโรงเรียน ต้องทำให้เด็กรู้ว่ามาเรียนเพื่ออะไร เพราะอะไรต้องไปโรงเรียน ได้อะไรจากการเรียน วัตถุประสงค์ในการมาเรียนรู้ เพราะเด็กรุ่นใหม่มักจะเกิดคำถามว่ามาโรงเรียนทำไม ในเมื่อเขาสามารถหาความรู้ได้มากมายจากที่อื่น 

“เราจะแก้ปัญหาเรื่องการศึกษาไม่ได้ ถ้าเราไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไร ซึ่งถ้าให้ผมมองเรื่องเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น  และมีเพียงพอ  อีกทั้งคนรุ่นใหม่เกิดมาพร้อมเทคโนโลยี ทุคนมักมองว่าตัวเองเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีที่ให้เกิดประโยชน์ ขณะเดียวกัน ในงานวิจัยเกี่ยวกับสมอง พบว่าการใช้เทคโนโลยี โซเซียลมีเดีย เครื่องมืออุปกรณ์ดิจิตอลมากๆ สรุปผลข้อมูลได้ในลักษณะตื้นๆ เท่านั้น  ไม่ได้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง รวมถึงการอ่านข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตที่มีมากมาย ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าข้อมูลไหนคือข้อเท็จจริง และข้อมูลไหนคือการโกหก เทคโนโลยีทำให้ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถถ่ายทอดได้มากเท่าที่ควร และการเรียนรู้แบบ Mutitaskers หรือการทำหลายๆ สิ่งพร้อมกัน เป็นการใช้สมองได้ไม่ดี   และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการควบคุมตนเอง  ทำให้คนสามารถควบคุมตัวเองได้ลำบากมากขึ้น”

เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตยังเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เบื้องต้นทุกคนสามารถใช้งานได้ สื่อสารได้ดี ค้นหาข้อมูลได้ดี แต่การใช้อินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีทำให้ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในเด็กน้อยกว่าการทำงาน การเรียนรู้เป็นทีมจากในชั้นเรียน
 
Dr.Pasi  กล่าวต่อไปว่า ประเทศฟินแลนด์ พยายามให้เด็กเกิดการเรียนรู้ แยกแยะข้อมูลที่มีอยู่มากมายในขณะนี้ เพราะการแยกแยะข้อมูล และเข้าใจอย่างลึกซึ้งได้ต้องผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา โดยเครื่องมือใหม่ๆ ที่มีอยู่รอบตัวจะเปลี่ยนวิธีคิดเด็กระบบการศึกษาของฟินแลนด์ จึงยังให้ความสำคัญกับครูผู้สอน ที่จะเป็นผู้ให้คำแนะนำ เปิดกว้างให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ และจัดระบบการศึกษาที่ให้ทั้งคุณภาพและเสมอภาค โดยการจัดการศึกษาที่ประสบความสำเร็จได้ต้องมีทั้งเรื่องคุณภาพและเสมอภาค มีทักษะการเรียนรู้ใหม่ๆ เข้าใจอย่างลึกซึ้ง รวมถึงต้องให้ความสำคัญในการเรียนรู้เป็นกลุ่ม เพราะการเรียนรู้เป็นกลุ่มทำให้เกิดการเอาใจเขามาใส่ใจเรา และจะให้เทคโนโลยีมาทดแทนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไม่ได้  ดังนั้น การศึกษานอกจากทำให้เด็กแยกแยะข้อมูลไหนจริง-โกหกแล้ว ต้องทำให้เด็กเข้าใจโลกและสามารถทำสิ่งต่างๆ ตามที่ตนเองเข้าใจอย่างถูกต้องได้ ครู โรงเรียนต้องรู้เป้าหมายว่าให้เด็กมาเรียนทำไม และเด็กเองก็ต้องรู้ว่าเขามาเรียนแล้วจะได้อะไรกลับไปบ้าง 

กลุ่มประเทศที่มีผลคะแนน PISA ในระดับที่ดีมากและมีการจัดการศึกษาที่เน้น ทั้งคุณภาพและเสมอภาค อาทิ ประเทศฟินแลนด์ ญี่ปุ่น แคนาดา  ซึ่งหลายๆ ประเทศกำลังพยายามให้อยู่ในกลุ่มนี้ เนื่องจากกลุ่มนี้สะท้อนถึงคุณภาพของเด็กและความเสมอภาคในการจัดการศึกษา 

การจัดการศึกษาของไทยกับฟินแลนด์อาจมีความแตกต่างกัน  Dr.Pasi  กล่าวอีกว่า ฟินแลนด์จะไม่มีการสอนตามรายวิชา แต่เป็นการจัดการเรียนการสอนตามทักษะต่างๆ ที่เด็กควรจะได้รับ ถึงจะไม่กำหนดเป็นรายวิชา เป็นรายละเอียดของการจัดการเรียนสอนที่ทำให้เด็กรู้เป้าหมายในการเรียนรู้  ไม่ได้สอนอย่างเป็นทางการ  นักเรียนไม่ใส่ยูนิฟอร์ม และครูยอมถอดยศของตนเอง ไม่ได้มองว่าเป็นครูที่เด็กต้องคอยฟังคำสั่ง แต่เชื่อมั่น เชื่อใจในนักเรียน  เป็นการเรียนรู้โดยนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ครูคอยให้คำแนะนำ ชี้แนะเท่านั้น สำหรับการจัดการศึกษาในห้องเรียน ควรช่วยให้เด็กค้นพบศักยภาพ ความสามารถของตนเอง 

“สถานการณ์การศึกษาของไทย ส่วนสำคัญคือเรื่องความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ซึ่งถ้าสร้างสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นอย่างเข้มแข็ง การจัดการศึกษาจะเป็นไปตามที่หลายๆ คนคาดหวังไว้  ขณะเดียวกันระบบการศึกษา โรงเรียนต้องทำให้เด็กรู้จักตัวเอง ความชอบ ความต้องการของตัวเอง และมีความคิดอยากเรียนรู้ ต่อยอดในสิ่งที่ตนเองเรียนมา นอกจากนั้น รัฐบาลต้องสร้างโอกาส ความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นแก่เด็กทุกคน โดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาส เพราะถ้าเราสร้างความเสมอภาคได้ จะไม่ทำให้เกิดการแข่งขันในการเลือกโรงเรียน เนื่องจากทุกโรงเรียนเหมือนกันหมด รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาแก่ลูก” 

ปัจจุบันการไปโรงเรียนสำหรับความคิดของเด็กอาจไม่ใช่เรื่องจำเป็นหรือสำคัญ เพราะเมื่อพวกเขายังหาคำตอบให้แก่ตนเองไม่ได้ว่าไปเรียนทำไม ขณะที่ข้อมูลองค์ความรู้ต่างๆ เขาสามารถหาได้จากนอกห้องเรียน ระบบการศึกษาต้องทำให้เด็กรู้ถึงจุดมุ่งหมาย เป้าหมายที่จะมาเรียน โรงเรียนครูต้องมีจุดมีเป้าหมายว่าสอน ให้ความรู้เด็กทำไม ถ้าใครๆ รู้จุดมุ่งหมายของตนเองย่อมนำไปสู่การคิด วิเคราะห์ ลงมือปฎิบัติเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีแก่ตนเอง โลกใหม่มีข้อมูลมากมายให้ทุกคนได้เรียนรู้ สิ่งที่สำคัญต้องแยกแยะข้อมูลเหล่านี้ให้ได้ ซึ่งหากประเทศไทย หรือหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่กำลังประสบปัญหาเรื่องการแยกแยะข้อมูลจากโลกใหม่ โลกเทคโนโลยีไม่ได้ก็ไม่สามารถเดินถึงเป้าหมายที่วางไว้ จะทำให้เด็กมีเรื่องเหล่านี้ ระบบการศึกษาต้องสร้างความเสมอภาค และคุณภาพ 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

มันส์สมอง | Let’s play with knowledge
2974
เล่นให้โดน : ถอดรหัสกลเม็ดสู่ความสำเร็จสร้างคอนเทนต์ให้โดนใจคนไทย
2857
เล่นเป็นเรียน : เรียนให้ต่าง เล่นให้ได้ความรู้
6003
เล่นจนได้ดี : กล้าเดินตามฝัน ลงมือทำในสิ่งที่คนอื่นได้แต่คิด
4062
เล่น ลอง เรียน : ถอดรหัส "ห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21"
5271
“เล่น เห็น โลก: ท้าทายอนาคต สร้างโอกาสใหม่ให้ประเทศ”
3702
มันส์สมอง | พื้นที่แห่งความรู้ในศตวรรษที่ 21
3013
สร้างโอกาสใหม่จากวัฒนธรรมของโลกที่ไร้ขอบเขต โดย เชฟเอียน พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย
5172
รู้ทันโลกเทคโนโลยี พลิกธุรกิจรับโอกาสใหม่ โดย ไผท ผดุงถิ่น
6759
ทักษะการสื่อสารและการตลาดที่จะพาเราไปตลาดโลก โดย สุรชัย พุฒิกุลางกูร
3568