เล่นให้โดน : ถอดรหัสกลเม็ดสู่ความสำเร็จสร้างคอนเทนต์ให้โดนใจคนไทย
บอกเล่ากลยุทธ์ทางด้านสื่อที่ไม่ธรรมดา ใส่ความเป็นไทยยังไงให้กลมกล่อม วิธีหลอมรวมสื่อเก่าและใหม่เข้าด้วยกันจนก้าวขึ้นเป็นผู้นําด้านอุตสาหกรรมบันเทิงไทย "คุณนิ้วกลม" สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ รับหน้าที่เป็นผู้ดําเนินรายการ
สําหรับคําถามที่ทุกคนคงอยากรู้ถึง “ความสําเร็จของ The Mask Singer ทําอย่างไรให้โดนใจคนไทย”
คุณชลากรณ์ได้เล่าว่า อย่างรายการ The Mask Singer ต้นฉบับของเกาหลีนั้นจะมีแต่หน้ากากปิดหน้าบางส่วน แต่ของเวิร์คพอยท์เลือกปิดคลุมทั้งตัวเพื่อเพิ่มความสงสัยให้คนดู กับปรับช่วงคอมเมนต์ถาม-ตอบ ปรุงให้รสจัดขึ้น คนไทยมีรสนิยมคนไทย เน้นความตลก เพราะโดนใจคนไทยมากกว่า ส่วนเวอร์ชั่นเกาหลีจะออกไปทางซึ้ง
นอกจากนั้นก็ได้วิเคราะห์ถึงความสําเร็จของรายการว่าเกิดจากองค์ประกอบมันครบ และไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ
เมื่อถามถึง “กระแสโลกโซเชียลได้รับความนิยมมากขึ้น คนจะหันมาเสพสื่อทางนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะ เป็น Youtube หรือ Facebook live ซึ่งจะทําให้คนดูทีวีน้อยลง มันเป็นอย่างนั้นจริงไหม”
คุณชลากรณ์ให้ความเห็นว่า เท่าที่ผมดูจากข้อมูล คนที่ดูทีวีก็ยังมีเท่าเดิมนะ แต่การใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้น ซึ่งเวลาเราเปรียบเทียบการเติบโตของคนดูในทีวีมันก็จะเพิ่มขึ้นนิดหน่อย แต่ในอินเทอร์เน็ตมันพุ่งสูง เลยทําให้เรารู้สึกว่าคนหันไปใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า ทีนี้วิธีการที่เราใช้ก็คือทําสองอย่างไปพร้อมๆกัน
มีตัวเลขนึงที่น่าสนใจก็คือ กลุ่มคนในกรุงเทพฯ และหัวเมือง มีพฤติกรรมที่ดูสองจอไปพร้อมๆกัน เพราะไม่งั้น จะทําให้เรตติ้งในทีวีมันต้องตก แต่กลายเป็นว่า การมี live มันมาช่วยเติมเต็มจุดอ่อนบางอย่างของทีวี เรื่อง interactive ที่สามารถพิมพ์โต้ตอบหรือแท็กใครก็ได้ มันทําให้คนดูสะดวกมากขึ้น
คุณชลากรณ์ กล่าวว่า “การทําคลิปสั้น มันเวิร์ก เพราะการทํายาวให้สนุกมันไม่ง่าย ทําสั้นสนุกง่ายกว่าพวกคลิปตลก คนจะดูมากเป็นอันดับหนึ่ง เพราะดูซ้ำได้ ผี อาชญากรรม ขํา ซึ้ง เป็นเรื่องคลาสสิกสําหรับคนทั้งโลก และอยากให้ทําอย่างสม่ำเสมอ ดีบ้างไม่โดนบ้าง แต่คนทําก็จะได้ฝึก จะแม่นขึ้นเรื่อยๆ”
จากที่ได้มีโอกาสไปร่วมงาน "F8 Conference" เป็นงานใหญ่ที่ทาง Facebook จัดขึ้นเพื่อนําเสนอวิสัยทัศน์ และลูกเล่นใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คุณเห็นอะไรที่น่าสนใจบ้าง
คุณชลากรณ์เล่าให้ฟังว่าคือเป้าหมายใน 10 ปีถัดจากนี้ ของทั้ง Facebook Youtube และบริษัทอื่นๆ จะคล้ายๆกันหมด พอสรุปได้คือ
น่าจะเป็น AR นะ อันนี้ถือว่าค่อนข้างฮือฮาเลย สามารถสั่งพิมพ์ข้อความได้โดยใช้คลื่นสมอง เราแค่คิด แล้วมันจะพิมพ์ออกเป็นตัวหนังสือเลย ล้ำมาก อันนี้เป็นเทคโนโลยีที่เขาทําขึ้นสําหรับคนที่มีปัญหาทางกายภาพ จะได้สื่อสารกับคนอื่นได้ หรืออีกอันก็คือระบบที่สามารถ Detect รูปภาพหรือวิดีโอ ซึ่งไปไกลขนาดที่ว่า ถ้าคนกําลัง Live อยู่ แล้วมีแก้ววางอยู่บนโต๊ะแบบหมิ่นๆ กําลังจะตก มันสามาถบอกได้ว่าแก้วกําลังจะตกในอีกกี่วินาที ซึ่งอันนี้เขาบอก ว่าจะมีประโยชน์เวลาที่คนทํา Live แล้วมีพฤติกรรมหรือเหตุการณ์อะไรที่สุ่มเสี่ยง
สําหรับคําถามที่ทุกคนคงอยากรู้ถึง “ความสําเร็จของ The Mask Singer ทําอย่างไรให้โดนใจคนไทย”
คุณชลากรณ์ได้เล่าว่า อย่างรายการ The Mask Singer ต้นฉบับของเกาหลีนั้นจะมีแต่หน้ากากปิดหน้าบางส่วน แต่ของเวิร์คพอยท์เลือกปิดคลุมทั้งตัวเพื่อเพิ่มความสงสัยให้คนดู กับปรับช่วงคอมเมนต์ถาม-ตอบ ปรุงให้รสจัดขึ้น คนไทยมีรสนิยมคนไทย เน้นความตลก เพราะโดนใจคนไทยมากกว่า ส่วนเวอร์ชั่นเกาหลีจะออกไปทางซึ้ง
นอกจากนั้นก็ได้วิเคราะห์ถึงความสําเร็จของรายการว่าเกิดจากองค์ประกอบมันครบ และไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ
- ในแง่โปรดักชั่น Visual มันน่าสนใจ ดึงดูดสายตามาก
- อารมณ์ของรายการมันค่อนข้างถูกจริตคนไทย มีความตลก มีความเซอร์ไพรส์ และที่ใส่เพิ่มเข้าไปก็คือ ความอยากรู้อยากเห็น อยู่ดีๆ โปรดิวเซอร์ก็เดินมาบอกผมว่า อยากให้จับคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาเซ็นสัญญา ทุกอย่างต้องเป็นความลับ ใครเผยแพร่ความลับปรับสามแสน ขนาดคนขับรถผมยังต้องเซ็นเลย เขาจริงจังกันถึงขั้นนั้น
- เทคโนโลยีมันมาพอดี สังเกตว่ารายการสมัยก่อนที่ดังๆ อย่างเกมทศกัณฐ์ ตอนนั้นอินเทอร์เน็ตมันยังไม่ เป็นที่นิยมขนาดนี้ แต่ในวันนี้มันเป็นที่นิยมมากขึ้น และเมื่อผมออกอากาศพร้อมกับ Live ทางเฟซบุ๊ก มันเลยทําให้กระแสในโซเชียลเกิดได้เร็วและง่าย องค์ประกอบเหล่านี้มันมาพร้อมกันพอดี
เมื่อถามถึง “กระแสโลกโซเชียลได้รับความนิยมมากขึ้น คนจะหันมาเสพสื่อทางนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะ เป็น Youtube หรือ Facebook live ซึ่งจะทําให้คนดูทีวีน้อยลง มันเป็นอย่างนั้นจริงไหม”
คุณชลากรณ์ให้ความเห็นว่า เท่าที่ผมดูจากข้อมูล คนที่ดูทีวีก็ยังมีเท่าเดิมนะ แต่การใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้น ซึ่งเวลาเราเปรียบเทียบการเติบโตของคนดูในทีวีมันก็จะเพิ่มขึ้นนิดหน่อย แต่ในอินเทอร์เน็ตมันพุ่งสูง เลยทําให้เรารู้สึกว่าคนหันไปใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า ทีนี้วิธีการที่เราใช้ก็คือทําสองอย่างไปพร้อมๆกัน
มีตัวเลขนึงที่น่าสนใจก็คือ กลุ่มคนในกรุงเทพฯ และหัวเมือง มีพฤติกรรมที่ดูสองจอไปพร้อมๆกัน เพราะไม่งั้น จะทําให้เรตติ้งในทีวีมันต้องตก แต่กลายเป็นว่า การมี live มันมาช่วยเติมเต็มจุดอ่อนบางอย่างของทีวี เรื่อง interactive ที่สามารถพิมพ์โต้ตอบหรือแท็กใครก็ได้ มันทําให้คนดูสะดวกมากขึ้น
คุณชลากรณ์ กล่าวว่า “การทําคลิปสั้น มันเวิร์ก เพราะการทํายาวให้สนุกมันไม่ง่าย ทําสั้นสนุกง่ายกว่าพวกคลิปตลก คนจะดูมากเป็นอันดับหนึ่ง เพราะดูซ้ำได้ ผี อาชญากรรม ขํา ซึ้ง เป็นเรื่องคลาสสิกสําหรับคนทั้งโลก และอยากให้ทําอย่างสม่ำเสมอ ดีบ้างไม่โดนบ้าง แต่คนทําก็จะได้ฝึก จะแม่นขึ้นเรื่อยๆ”
จากที่ได้มีโอกาสไปร่วมงาน "F8 Conference" เป็นงานใหญ่ที่ทาง Facebook จัดขึ้นเพื่อนําเสนอวิสัยทัศน์ และลูกเล่นใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คุณเห็นอะไรที่น่าสนใจบ้าง
คุณชลากรณ์เล่าให้ฟังว่าคือเป้าหมายใน 10 ปีถัดจากนี้ ของทั้ง Facebook Youtube และบริษัทอื่นๆ จะคล้ายๆกันหมด พอสรุปได้คือ
- แพล็ตฟอร์มที่โตแล้วและใหญ่แล้ว มันไม่ใช่เทรนด์ แต่เป็นแพล็ตฟอร์มที่มีการวางระบบเศรษฐกิจอยู่ในนั้นหมายความว่าใครที่เข้าไปมีส่วนร่วมกับแพล็ตฟอร์มเหล่านี้ สามารถสร้างรายได้ให้ตัวเองได้ และในเมื่อมันมีคนที่ทํามาหากินได้ แพล็ตฟอร์มนี้มันก็จะอยู่ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่เทรนด์ที่เกิดขึ้นแล้วดับไป
- เมื่อมันกลายเป็นแพล็ตฟอร์มที่มีระบบเศรษฐกิจ เขาก็ต้องพยายามหาเงินเข้ามาในระบบอยู่ตลอด และมีเป้าหมายว่าจะเอาเงินที่ได้มาไปทําอย่างอื่นต่อ สิ่งนั้นก็คือการทําให้คนทั้งโลกเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งแต่ละค่ายก็กําลังซุ่มทํา Infrastructure ของตัวเองอยู่ บางค่ายก็ไปร่วมมือกับบริษัทมือถือ หรือบางค่ายก็สร้างระบบเครือข่ายของตัวเอง
น่าจะเป็น AR นะ อันนี้ถือว่าค่อนข้างฮือฮาเลย สามารถสั่งพิมพ์ข้อความได้โดยใช้คลื่นสมอง เราแค่คิด แล้วมันจะพิมพ์ออกเป็นตัวหนังสือเลย ล้ำมาก อันนี้เป็นเทคโนโลยีที่เขาทําขึ้นสําหรับคนที่มีปัญหาทางกายภาพ จะได้สื่อสารกับคนอื่นได้ หรืออีกอันก็คือระบบที่สามารถ Detect รูปภาพหรือวิดีโอ ซึ่งไปไกลขนาดที่ว่า ถ้าคนกําลัง Live อยู่ แล้วมีแก้ววางอยู่บนโต๊ะแบบหมิ่นๆ กําลังจะตก มันสามาถบอกได้ว่าแก้วกําลังจะตกในอีกกี่วินาที ซึ่งอันนี้เขาบอก ว่าจะมีประโยชน์เวลาที่คนทํา Live แล้วมีพฤติกรรมหรือเหตุการณ์อะไรที่สุ่มเสี่ยง