เสียงเพลงแห่งศตวรรษ ตอนที่ 4 เพลงไทยในโลกไร้พรมแดน
03 ธันวาคม 2565 | เวลา: 16.00-18.00 น.
สถานที่: ห้องตึกเก่าเล่าเรื่อง ชั้น 1 อาคารพิพิธภัณฑ์ มิวเซียมสยาม
กิจกรรมเสวนาและสาธิตแบบมีส่วนร่วม ที่พาเราย้อนไปทบทวนประวัติศาสตร์ดนตรีในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา และซึมซับสุนทรียศิลป์จากเสียงดนตรีในแต่ละยุคสมัย ณ มิวเซียมสยาม พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ มหกรรมเฉลิมฉลอง “ร้อยปีตึกเรา”
กิจกรรมตอนที่ 4 : เพลงไทยในโลกไร้พรมแดน
ปลายศตวรรษที่ 20 โลกกำลังมุ่งเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ บางส่วนของสังคมเต็มไปด้วยความตระหนักถึงโลกยุคที่ไม่อาจคาดเดา ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็พัฒนาไปข้างหน้าไม่หยุดหย่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านไซเบอร์ ซึ่งพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต โซเชียล เน็ตเวิร์ค และระบบสตรีมมิ่งนั้น ทำให้อุตสาหกรรมเพลงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ทางฝั่งเพลงสมัยนิยมของไทยนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน จากการเกิดขึ้นและเติบโตของค่ายเล็กค่ายน้อยในช่วงทศวรรษ 2540 ที่ต่างนำเสนอเพลงสไตล์ของตัวเอง และต่อมาก็มีศิลปินหน้าใหม่เกิดขึ้นหลายคนผ่านรายการเรียลลิตีโชว์ ทำให้เกิดวัฒนธรรมแฟนคลับที่เป็นจริงเป็นจัง ซึ่งต่อมาวัฒนธรรมเช่นนี้ก็ถูกขับเน้นผ่านความนิยมในดนตรี K-Pop และ วงไอดอลต่างๆ ซึ่งของอิมพอร์ตเหล่านี้ถูกตีความเป็นอำนาจซอฟต์ พาวเวอร์ที่ไทยควรนำมาพิจารณา กระแส T-Pop และวงไอดอล ของไทยก็เติบโตตามมา รวมไปถึงซีรีส์วายที่ได้นำพาศิลปินและผลงานทั้งละครและเพลงไปสู่ตลาดโลก ในขณะเดียวกัน ความคึกคักทางมหรสพเหล่านี้ก็ดำเนินควบคู่ไปกับความตึงเครียดทางการเมือง ซึ่งในที่สุดแล้วเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ความคิดเห็นเชิงวิพากษ์การเมือง สังคม และความเท่าเทียม ก็ล้นทะลักและแสดงออกมาในงานเพลงของศิลปินหลายกลุ่มซึ่งมีแนวคิดในเชิงเสรีนิยมมากขึ้นและกลายเป็นตัวแทนที่ช่วยส่งเสียงของ “คนรุ่นใหม่”
“เสียงเพลงแห่งศตวรรษ” ตอนสุดท้ายนี้จะพาทุกท่านไปสำรวจบรรยากาศของวงการเพลงตั้งแต่ปี 2540 ไล่ขึ้นมาผ่านพัฒนาการของเทคโนโลยี กระแสเพลงที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงโดยได้รับผลกระทบจากป๊อปคัลเจอร์อื่นๆ รวมไปถึงการฟื้นคืนของละครเวที กระแสเพลงสไตล์เก่า ดาราหน้าใหม่จากรายการประกวดต่างๆ วัฒนธรรมแฟนคลับ ความพยายามสร้างดนตรี T-Pop ศิลปิน “คนรุ่นใหม่” ซอฟต์ พาวเวอร์ ไล่มาจนถึงยุคโควิด-19 การเสวนานำโดย ผศ.ดร.ธนพล เศตะพราหมณ์ พร้อมวงดนตรีจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล
วัน – เวลา: เสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2565 เวลา 16.00 น. – 18.00 น.
สถานที่: ห้องนันทนาการ ชั้น 1 อาคารพิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน
คุณสมบัติผู้เข้าร่วม
นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจเรียนรู้และฟังดนตรี
กิจกรรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
วิธีการสมัคร สมัครได้ที่ https://www.okmd.or.th/music-of-the-century
นโยบายการเก็บและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลกิจกรรม “เพลงไทยในโลกไร้พรมแดน”
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ได้จัดกิจกรรม “เพลงไทยในโลกไร้พรมแดน” ณ ห้องตึกเก่าเล่าเรื่อง ชั้น 1 มิวเซียมสยาม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ดนตรีและบริบททางสังคมของในยุคสมัยที่เพลงไทยได้รับอิทธิพลจากดนตรีหลายรูปแบบจนทำให้เกิดแนวเพลงใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย รวมไปถึงเนื้อหาเพลงที่สะท้อนจิตวิญญาณของยุคสมัยอันวุ่นวายไร้พรมแดน ในวันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2565 เวลา 16.00 – 18.00 น. ซึ่งมีความจำเป็นต้องเก็บ ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลส่วนบุคคลที่เราเก็บรวบรวมและใช้
(1) ชื่อ – นามสกุล
(2) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e – mail)
(3) หมายเลขโทรศัพท์
(4) รูปถ่าย วิดีโอคลิป (Clip) ระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม สบร. จะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงผ่านทางแบบฟอร์มการรับสมัครใน
https://docs.google.com/forms/d/1MGNCpGOwrnZ_maZBg9gKjXGzKNBmdbOCohiVPAOctIk/edit และถ่ายภาพ และวิดีโอระหว่างการจัดกิจกรรม
2. จุดประสงค์การใช้งาน และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
3. ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
3.1 สบร. มีการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลอย่างเหมาะสม โดยจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ตามข้อ 1 (1) - (3) ภายในระยะเวลา 90 วันหลังวันจัดกิจกรรมเสร็จเรียบร้อย และจะทำการลบข้อมูลดังกล่าวทันทีเมื่อหมดความจำเป็นแล้ว
3.2 หากท่านมีข้อสงสัยหรือคำถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ nalinee@okmd.or.th หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 105 6528
4. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
เปิดเผยข้อมูลของท่านตามข้อ 1 (4) ต่อสาธารณะ ผ่านช่องทาง www.okmd.or.th , Facebook Fanpage OKMD, Line OKMD และเว็บไซต์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล https://www.music.mahidol.ac.th
รวมทั้งสื่อ Social Media และสื่ออื่นๆ ของหน่วยงานนอกที่มีความร่วมมือหรือเป็นเครือข่ายกับ สบร.
หัวข้อกิจกรรม | วันที่ | เวลา | สถานที่ |
ตอนที่ 1 The Jazz Age (ช่วง พ.ศ. 2465-2490 /ค.ศ. 1922-1947) |
27 ส.ค. 2565 | 16.00 น. – 18.00 น. |
ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 อาคารพิพิธภัณฑ์ มิวเซียมสยาม |
ตอนที่ 2 Rock’ n Roll (ช่วง พ.ศ. 2490-2515 /ค.ศ.1947-1972) |
17 ก.ย. 2565 | 16.00 น. – 18.00 น. |
ห้องตึกเก่าเล่าเรื่อง ชั้น 1 อาคารพิพิธภัณฑ์ มิวเซียมสยาม |
ตอนที่ 3 ไทย x สากล (ช่วง พ.ศ. 2515-2540 /ค.ศ.1972-1997) |
8 ต.ค. 2565 | 16.00 น. – 18.00 น. |
ห้องตึกเก่าเล่าเรื่อง ชั้น 1 อาคารพิพิธภัณฑ์ มิวเซียมสยาม |
ตอนที่ 4 เพลงไทยในโลกไร้พรมแดน (ช่วง พ.ศ. 2540-2565 /ค.ศ.1997-2022) |
3 ธ.ค. 2565 | 16.00 น. – 18.00 น. |
ห้องนันทนาการ ชั้น 1 อาคารพิพิธภัณฑ์ มิวเซียมสยาม |
กิจกรรมตอนที่ 4 : เพลงไทยในโลกไร้พรมแดน
ปลายศตวรรษที่ 20 โลกกำลังมุ่งเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ บางส่วนของสังคมเต็มไปด้วยความตระหนักถึงโลกยุคที่ไม่อาจคาดเดา ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็พัฒนาไปข้างหน้าไม่หยุดหย่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านไซเบอร์ ซึ่งพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต โซเชียล เน็ตเวิร์ค และระบบสตรีมมิ่งนั้น ทำให้อุตสาหกรรมเพลงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ทางฝั่งเพลงสมัยนิยมของไทยนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน จากการเกิดขึ้นและเติบโตของค่ายเล็กค่ายน้อยในช่วงทศวรรษ 2540 ที่ต่างนำเสนอเพลงสไตล์ของตัวเอง และต่อมาก็มีศิลปินหน้าใหม่เกิดขึ้นหลายคนผ่านรายการเรียลลิตีโชว์ ทำให้เกิดวัฒนธรรมแฟนคลับที่เป็นจริงเป็นจัง ซึ่งต่อมาวัฒนธรรมเช่นนี้ก็ถูกขับเน้นผ่านความนิยมในดนตรี K-Pop และ วงไอดอลต่างๆ ซึ่งของอิมพอร์ตเหล่านี้ถูกตีความเป็นอำนาจซอฟต์ พาวเวอร์ที่ไทยควรนำมาพิจารณา กระแส T-Pop และวงไอดอล ของไทยก็เติบโตตามมา รวมไปถึงซีรีส์วายที่ได้นำพาศิลปินและผลงานทั้งละครและเพลงไปสู่ตลาดโลก ในขณะเดียวกัน ความคึกคักทางมหรสพเหล่านี้ก็ดำเนินควบคู่ไปกับความตึงเครียดทางการเมือง ซึ่งในที่สุดแล้วเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ความคิดเห็นเชิงวิพากษ์การเมือง สังคม และความเท่าเทียม ก็ล้นทะลักและแสดงออกมาในงานเพลงของศิลปินหลายกลุ่มซึ่งมีแนวคิดในเชิงเสรีนิยมมากขึ้นและกลายเป็นตัวแทนที่ช่วยส่งเสียงของ “คนรุ่นใหม่”
“เสียงเพลงแห่งศตวรรษ” ตอนสุดท้ายนี้จะพาทุกท่านไปสำรวจบรรยากาศของวงการเพลงตั้งแต่ปี 2540 ไล่ขึ้นมาผ่านพัฒนาการของเทคโนโลยี กระแสเพลงที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงโดยได้รับผลกระทบจากป๊อปคัลเจอร์อื่นๆ รวมไปถึงการฟื้นคืนของละครเวที กระแสเพลงสไตล์เก่า ดาราหน้าใหม่จากรายการประกวดต่างๆ วัฒนธรรมแฟนคลับ ความพยายามสร้างดนตรี T-Pop ศิลปิน “คนรุ่นใหม่” ซอฟต์ พาวเวอร์ ไล่มาจนถึงยุคโควิด-19 การเสวนานำโดย ผศ.ดร.ธนพล เศตะพราหมณ์ พร้อมวงดนตรีจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล
วัน – เวลา: เสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2565 เวลา 16.00 น. – 18.00 น.
สถานที่: ห้องนันทนาการ ชั้น 1 อาคารพิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน
คุณสมบัติผู้เข้าร่วม
นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจเรียนรู้และฟังดนตรี
กิจกรรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
วิธีการสมัคร สมัครได้ที่ https://www.okmd.or.th/music-of-the-century
- กรอกใบสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
- ปิดรับสมัครวันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565 หรือจนกว่าที่นั่งจะเต็ม
- แจ้งรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565 และรายละเอียดการเตรียมตัวให้ผู้ร่วมกิจกรรมทราบทางอีเมล
- ผู้เข้าร่วมต้องยืนยันการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยการตอบอีเมล ภายในวันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2565 เวลา 18.00 น. ไม่เช่นนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ และทางผู้จัดจะติดต่อผู้สมัครท่านอื่นแทน
- OKMD คัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากคุณสมบัติที่กำหนดไว้ การตัดสินของ OKMD ถือเป็นข้อสิ้นสุด และขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนตัวผู้เข้าร่วมหลังการยืนยันเข้าร่วมกิจกรรม
นโยบายการเก็บและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลกิจกรรม “เพลงไทยในโลกไร้พรมแดน”
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ได้จัดกิจกรรม “เพลงไทยในโลกไร้พรมแดน” ณ ห้องตึกเก่าเล่าเรื่อง ชั้น 1 มิวเซียมสยาม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ดนตรีและบริบททางสังคมของในยุคสมัยที่เพลงไทยได้รับอิทธิพลจากดนตรีหลายรูปแบบจนทำให้เกิดแนวเพลงใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย รวมไปถึงเนื้อหาเพลงที่สะท้อนจิตวิญญาณของยุคสมัยอันวุ่นวายไร้พรมแดน ในวันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2565 เวลา 16.00 – 18.00 น. ซึ่งมีความจำเป็นต้องเก็บ ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลส่วนบุคคลที่เราเก็บรวบรวมและใช้
(1) ชื่อ – นามสกุล
(2) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e – mail)
(3) หมายเลขโทรศัพท์
(4) รูปถ่าย วิดีโอคลิป (Clip) ระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม สบร. จะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงผ่านทางแบบฟอร์มการรับสมัครใน
https://docs.google.com/forms/d/1MGNCpGOwrnZ_maZBg9gKjXGzKNBmdbOCohiVPAOctIk/edit และถ่ายภาพ และวิดีโอระหว่างการจัดกิจกรรม
2. จุดประสงค์การใช้งาน และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
จุดประสงค์ในการใช้ เปิดเผยข้อมูล | รายการข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้ |
|
|
|
|
3. ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
3.1 สบร. มีการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลอย่างเหมาะสม โดยจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ตามข้อ 1 (1) - (3) ภายในระยะเวลา 90 วันหลังวันจัดกิจกรรมเสร็จเรียบร้อย และจะทำการลบข้อมูลดังกล่าวทันทีเมื่อหมดความจำเป็นแล้ว
3.2 หากท่านมีข้อสงสัยหรือคำถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ nalinee@okmd.or.th หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 105 6528
4. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
เปิดเผยข้อมูลของท่านตามข้อ 1 (4) ต่อสาธารณะ ผ่านช่องทาง www.okmd.or.th , Facebook Fanpage OKMD, Line OKMD และเว็บไซต์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล https://www.music.mahidol.ac.th
รวมทั้งสื่อ Social Media และสื่ออื่นๆ ของหน่วยงานนอกที่มีความร่วมมือหรือเป็นเครือข่ายกับ สบร.