จุดประกายคนรุ่นใหม่ ก้าวสู่ธุรกิจ OTOP สร้างสรรค์ | 23 มีนาคม 2558
เมื่อวันที่จันทร์ที่ 23 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา สานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์การมหาชน) หรือ สบร. เดินหน้าผลักดันคนรุ่นใหม่เสริมทัพอุตสาหกรรม OTOP พร้อมเผย 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ดาวรุ่งที่มีแนวโน้มความต้องการของตลาดสูง ได้แก่
- ผลิตภัณฑ์ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก
- ผลิตภัณฑ์ผ้า เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ
- ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
โดยเป็นผลของงานวิจัยศึกษาแนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์ OTOP ของตลาดในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป้าหมายของงานวิจัยเพื่อชี้ช่องทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในทิศทางที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของตลาดเป้าหมาย และนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ที่มีความโดดเด่นทั้งรูปลักษณ์ คุณภาพ และประโยชน์การใช้งาน เป็นการเพิ่มโอกาสการเติบโตทางธุรกิจในเชิงรุกมากขึ้น ทั้งนี้ สบร. ได้จัดสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ "จุดประกายคนรุ่นใหม่ ก้าวสู่ธุรกิจ OTOP สร้างสรรค์" เพื่อชี้ช่องทางให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ได้เห็นถึงแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาดเป้าหมาย ปรับเปลี่ยนวิธีคิดและมุมมองในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งอนาคตจะช่วยให้กลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มนี้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เจาะตลาดเป้าหมายได้อย่างตรงจุด และประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นอีกหลายราย ภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.อภิชาติ ประเสริฐ ผู้อานวยการสานักโครงการและจัดการความรู้ สบร. เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
สำหรับกิจกรรมในงานแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเช้าเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จาก 3 ตัวแทนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในยุคนี้ ได้แก่
- คุณศิริวรรณ สุขขี เจ้าของแบรนด์ “สุขขี แฮนดิคราฟท์” ผลิตภัณฑ์ของใช้ของตกแต่งบ้านจากเถาวัลย์ ระดับ 5 ดาว ซึ่งโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่สวยงามและคุณภาพสินค้าที่คงทน จนได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
- คุณศิรัส ตันติยาพงศ์ ดีไซเนอร์เจ้าของแบรนด์ “Yodyoko” (ยอดโยโกะ) แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นชื่อดังทั้งในและต่างประเทศ โดดเด่นด้วยการนาผ้าไทยมาประยุกต์เข้ากับดีไซน์สมัยใหม่ ปัจจุบันมีผลงานที่เป็นเอกลักษณ์จากการเขียนลายผ้าด้วยมือ
- คุณพิสิษฐ์ วีระไวทยะ เจ้าของกิจการ “อะกริไลฟ์” ผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์รายแรกๆ ของประเทศไทย และพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากมะพร้าว จนประสบความสำเร็จอย่างสูงในปัจจุบัน
การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นการเพิ่มมูลค่าและต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นและแตกต่าง ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญ ที่ทำให้เจ้าของแบรนด์ทั้ง 3 นี้ ประสบความสำเร็จท่ามกลางการแข่งขันที่มีเพิ่มมากขึ้น และเชื่อมั่นในศักยภาพของคนรุ่นใหม่ที่จะทำให้เกิดการพลิกโฉมการพัฒนาสินค้า OTOP
สุขขี แฮนดิคราฟท์ “กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีมุมมองที่แตกต่าง สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ควบคู่ไปกับการนาเอาเทคโนโลยีด้านต่างๆ ทั้งการติดต่อสื่อสารและการผลิตเข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้ตรงตามทิศทางความต้องการของผู้บริโภค สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและแปลกใหม่ รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งถือเป็นโอกาสทองในการเพิ่มยอดขายและสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ”
Yodyoko “กาลังและความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ จะช่วยให้ตลาดOTOP ไทยสดใสมากขึ้น เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีศักยภาพในการผนวกเอาไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ นาไปผลิตเป็นสินค้าที่มีรูปลักษณ์แปลกใหม่โดนใจผู้บริโภค การสร้างคนรุ่นใหม่เข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการ OTOP ไม่เพียงช่วยกระตุ้นตลาดให้เติบโตมากขึ้นจากการแข่งขันพัฒนาสินค้าให้มีความโดดเด่นสวยงามและมีคุณภาพ แต่ขณะเดียวกันในแง่ของผู้บริโภคเองก็ได้มีตัวเลือกมากขึ้นในการซื้อสินค้าที่สวยงามและมีคุณภาพ”
อะกริไลฟ์ “การพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ในยุคดิจิตอล จาเป็นต้องพึ่งพากาลังจากคนรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญ ในการใช้อินเตอร์เน็ตค้นหาข้อมูลทิศทางและแนวโน้มความต้องการของตลาด เพื่อนามาพัฒนามุมมองต่อยอดผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของผู้บริโภค และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัย สามารถขายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยไม่ต้องเสียเงินลงทุนพัฒนารูปแบบหลายครั้ง ในภาพรวมจึง ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก นอกจากนี้การใช้อินเตอร์เน็ตยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางสาคัญ ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็วสามารถช่วยเพิ่มยอดการจาหน่ายและสร้างผลกาไรได้มากขึ้น”
ช่วงบ่ายเป็นการ Workshop ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หัวข้อ "ปั้น OTOP สู่ สินค้านวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น" (OTOP NEXT, The Innovation from Folk Wisdom) โดย ดร.ต่อเกียรติ น้อยสาลี รักษาการผู้จัดการส่วนพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้ประกอบการหน้าใหม่ โดยเน้นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและจุดเด่นใกล้ตัวเข้ามาเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP