กิจกรรมทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ปี 2564
ภูมิปัญญา ประเพณี วิถีชีวิต และทรัพยากรธรรมชาติเป็น "ต้นทุนท้องถิ่น" ที่สามารถนำมาต่อยอดและเพิ่มมูลค่า เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน!!!
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ได้พัฒนากระบวนการ ที่สอดคล้องกับแนวคิด "ต่อยอดอดีต" และ "สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต" โดยนำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้ร่วมกับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับความสามารถของชุมชน ด้วยการนำต้นทุนท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกและความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชนและกระจายรายได้ให้เข้าถึงท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งในปี 2563 ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในปี 2564 ดำเนินการในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มสินค้า คือ อาหาร หัตถกรรม และสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม รวมทั้งสิ้น 13 แบรนด์ ดังนี้
*********
การจัดการความรู้เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ได้พัฒนากระบวนการที่สอดคล้องกับแนวคิด “ต่อยอดอดีต” และ“สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” โดยนำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้ร่วมกับกระบวนการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มศักยภาพสินค้าและบริการของชุมชนให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ของโลกและความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม
โดยมีกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดังนี้
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ได้พัฒนากระบวนการ ที่สอดคล้องกับแนวคิด "ต่อยอดอดีต" และ "สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต" โดยนำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้ร่วมกับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับความสามารถของชุมชน ด้วยการนำต้นทุนท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกและความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชนและกระจายรายได้ให้เข้าถึงท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งในปี 2563 ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในปี 2564 ดำเนินการในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มสินค้า คือ อาหาร หัตถกรรม และสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม รวมทั้งสิ้น 13 แบรนด์ ดังนี้
- Heritaste : ขนมไทยร่วมสมัยสีพาสเทลจากกรุงเทพมหานคร มรดกครอบครัวสู่ความร่วมสมัย
- หอมสุข : ขนมโบราณพื้นถิ่นสตูล มรดกสยามอันดามัน
- บุญอำไพ : ขนมไทยยอดนิยมในงานบุญ ตำรับดั้งเดิมจากจังหวัดนครปฐม
- เค้กกะลา : เค้กมะพร้าวรูปลักษณ์โดดเด่น ของฝากจากสงขลา
- สบายไทม์ : ชาดอกกาแฟออร์แกนิกจากสงขลา เครื่องดื่มทางเลือกสำหรับคนรักสุขภาพ
- อุงอุง : น้ำผึ้งชันโรง จังหวัดสงขลา คุณค่าเพื่อการบำบัดจากธรรมชาติ
- เพียวไผ่ : จากภูมิปัญญาสู่ผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบริสุทธิ์จากไผ่ธรรมชาติ จังหวัดนราธิวาส
- สุไหงบาลา : เนื้อเค็มและไข่เค็มโลว์โซเดียม ของฝากอร่อย คุณภาพดีจากนราธิวาส
- คำใหญ่คำโต : เมล็ดมะม่วงหิมพานต์แปรรูปคุณภาพดี ความภูมิใจของเกษตรกร จังหวัดสระแก้ว
- เฉดสี : ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ แรงบันดาลใจจากป่าชายเลน จังหวัดสตูล
- Dikota : มรดกวัฒนธรรมยะลา สู่ผืนผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ
- เบอร์อามัส : สืบสานคุณค่าว่าวเบอร์อามัสปัตตานี ด้วยผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่
- ทำมาดี : ต่อยอดภูมิปัญญาสมุนไพรไทยจากสระแก้ว ผลิตภัณฑ์จากกลิ่นหอมเพื่อการบำบัด
*********
การจัดการความรู้เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ได้พัฒนากระบวนการที่สอดคล้องกับแนวคิด “ต่อยอดอดีต” และ“สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” โดยนำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้ร่วมกับกระบวนการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มศักยภาพสินค้าและบริการของชุมชนให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ของโลกและความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม
โดยมีกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดังนี้
- วิเคราะห์เทรนด์โลกและความต้องการของผู้บริโภค
- ออกแบบแนวคิดและแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์
- พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
- ทดสอบตลาดเพื่อนำความคิดเห็นมาปรับปรุง
- ผลิตและจำหน่ายสู่ตลาด