เปิดโอกาสทางความคิดไปกับมิติใหม่ ของการขับเคลื่อนสังคมและเมืองอุดมความรู้
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ OKMD ตอกย้ำภารกิจในการพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญาผ่านกระบวนการเรียนรู้สาธารณะ เปิดเวทีถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ใหม่ด้านการพัฒนาเมืองแห่งความรู้ จัดงานสัมมนา OKMD KNOWLEDGE FORUM 2017: “เมือง คิด ใหม่” Knowledge Cities: New Lives, New Opportunities พร้อมดึง 7 นักคิดเลือดใหม่ ผู้ผลักดันเมืองแนวคิดใหม่ไทยและทั่วโลกร่วมจุดประกายทางความคิดให้สังคมไทยได้เข้าใจถึงวิธีการสร้างสภาพแวดล้อมของเมืองที่ไม่เพียงอยู่สบาย แต่ยังเอื้อให้เกิดความจากสร้างสรรค์ และสามารถสร้างแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและสังคมแบบองค์รวม
ผู้เข้าร่วมงานได้มาเรียนรู้ร่วมกันในหัวข้อ Knowledge City: Ecosystem and Empowerment องค์ประกอบและโอกาสในเมืองแห่งความรู้ Knowledge Cities: Implications for Thailand เมืองแห่งความรู้ในบริบทของไทย และ Knowledge Cities: Implications for Thailand เมืองแห่งความรู้ในบริบทของไทย จากวิทยากรผู้มากประสบการณ์ทั้ง 7 ท่าน โดยสรุปใจความได้ดังนี้
1. Dr. Jong-Sung Hwang
Lead Researcher-Smart Cities & Government 3.0 National Information Society Agency Republic of Korea (South Korea) นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้าน Smart Cities จาก National Information Society Agency ได้บรรยายถึง Smart City Platform ของเกาหลีใต้ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับ People-centric ภายใต้แนวคิด Ubiquitous-City หรือ เราสามารถอยู่ที่ใดก็ได้ในเมือง และกลยุทธ์การนำนวัตกรรมมาใช้ใน Smart Cities อย่างเต็มรูปแบบ โดยเราจะสามรถพัฒนาเมืองได้อย่างไร โดยให้ทุกคนสามารถข้าถึง Technology ล้ำสมัยได้อย่างง่ายดาย ในราคาที่ถูกลง พร้อมยกตัวอย่างของ Artificial Intelligence หรือ AI ซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของทุกคนมากยิ่งขึ้น และยังได้บอกเล่าถึงปรากฏการณ์ของสังคมระดับโลกที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4th-Generation นั่นคือ สังคมแห่งข้อมูลและองค์ความรู้
2. Marie Østergård
Director of Aarhus Public Libraries, Kingdom of Denmark ผู้อำนวยการห้องสมุดประชาชน Aarhus ที่มีหนังสือเกือบ 4 ล้านเล่ม และผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์กว่า 10 ล้านคน ภายใต้แนวคิดการสร้างต้นแบบนวัตกรรมห้องสมุดแห่งโลก หรือ Global Libraries ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของประชาชนผ่านรูปแบบ Digital Platform ซึ่งทำให้ห้องสมุดกลายเป็นพื้นที่ใหม่ที่ไม่เพียงเก็บหนังสือ แต่เป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนข้อมูล และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชนอย่างมีนัยสำคัญ ห้องสมุด Aarhus สร้าง Start-up ที่ประสบความสำเร็จขึ้นมากมายจากการเข้ามาใช้พื้นที่ในรูปแบบดังกล่าว และการเข้าถึงข้อมูลผ่านแนวคิด open-source จะเห็นได้ว่าห้องสมุดประชาชนแห่งนี้ใช้หลักการ Human Centered Design ได้อย่างเป็นรูปธรรม และ Marie Østergård ยังได้กล้าวทิ้งท้ายไว้ให้ผู้ฟังได้คิดกันต่อ “The Library is a Space Where We Create Meaning Together”
3. Dr. Jackie Watts
Chair, Knowledge City, City of Melbourne, Australia นักการศึกษาและบรรณารักษ์ สมาชิกสภาเมือง Melbourne ในฐานะประธานเมืองแห่งความรู้ หรือ Knowledge City ได้มาแบ่งประสบการณ์และขยายองค์ความรู้สู่การพัฒนา และปรับเปลี่ยน City of Melbourne ให้เป็น Knowledge City โดยเน้นไปที่การเป็น Smart City และการนำไปสู่ความเป็น City of Learning ซึ่ง Dr. Jackie Watts ได้เน้นย้ำว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดและหล่อหลอมผู้คนที่เปี่ยมศักยภาพ (Attraction of talent) พร้อมกับเน้นถึงความสำคัญของการเข้าถึงองค์ความรู้ และรวมไปถึงในแง่มุมทางการเมืองเองก็อยู่ภายใต้แนวคิด Knowledge City นั่นหมายถึง กระบวนการทำงานของรัฐที่โปร่งใส เชื้อเชิญให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลการดำเนินงานของสมาชิกสภา ตามหลักการที่เน้นให้ผู้คนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง และสมกับเป็นเมืองที่สร้างโดยประชาชน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
4. รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
President And Chief Executive Officer, Quality Houses Plc. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Q House ได้มาแบ่งปันประสบการณ์งานบริหารเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิชาการ แนวคิดการจัดการเมืองไปสู่การเป็น Knowledge Cities หรือเมืองแห่งความรู้ในบริบทของประเทศไทย ในยุค Thailand 4.0 ที่หากเมื่อพูดถึงการพัฒนาเมืองในรูปแบบที่เน้นองค์ความรู้ ดร.ชัชชาติ ได้ชวนให้ผู้ฟังนึกถึงกรณีศึกษาของชุมชม 70 ไร่ ซึ่งว่าด้วยคนกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดย่านคลองเตย ที่แม้ว่าจะถูกจำกัดโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้ และดูเหมือนไม่มีความข้องเกี่ยวกับการเข้าสู่เมือง Digital platform แต่อย่างใด แต่แท้จริงแล้วคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนเมืองอย่างแท้จริง ด้วยอาชีพผู้ใช้แรงงาน ดังนั้น ในการจะสร้าง "เมือง คิด ใหม่" โดยพุ่งเป้าไปที่ Technology และ Knowledge จึงคำถามที่น่าขบคิดว่า เราจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะสร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงเมืองในอุดมคติดังกล่าวได้ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
5. คุณอนุวัตร เฉลิมไชย
Brand Director, SCG Cement-Building Materials Co., Ltd. นักการตลาดผู้มากประสบการณ์จากเครือซิเมนต์ไทย หรือ SCG ได้มาเปิดมุมมองด้านการสร้างเมืองแห่งความรู้ จากองค์ประกอบปัจจัยเมืองปัจจุบัน นำไปสู่การพัฒนาสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างสรรค์เป็น Knowledge Cities ที่ยั่งยืน พร้อมกับเผยบทวิเคราะห์ของกระแสที่กำลังกลายมาเป็นสภาวะของสังคมในวงกว้าง ได้แก่ การขาดแคลนแรงงาน กระแสด้านสภาพแวดล้อมที่เราก้าวสู่ภาวะโลกร้อน และที่สำคัญคือการก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ คุณอนุวัตรยังได้เน้นไปที่ประเด็นสุดท้าย ว่าทั้งหมดสามารถกลายมาเป็นโอกาสให้ต่อยอดทางธุรกิจใน "เมือง คิด ใหม่" ได้ เหมือนคำพูดที่ถูกหยิบยกมาจาก Betty Friedan ที่ได้กล่าวไว้ว่า “Aging is not lost youth but the new stage of opportunity and strength” หากผู้คนใช้องค์ความรู้รวมกับทักษะในการสร้างสรรค์ เราจะสามารถรับมือและเติบโตไปกับโอกาสพร้อมๆ กันได้อย่างแข็งแรง
6. คุณจูน เซคิโน
Design Director, Junsekino Architect and Design Co., Ltd. สถาปนิกผู้คร่ำหวอดในวงการ และมีชื่อเสียงด้านงานออกแบบร่วมสมัย ได้มาร่วมแบ่งปันแนวความคิดจากประสบการณ์ และองค์ความรู้ที่หลากหลายจะแปรเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นเมืองแห่งความรู้ หรือ Knowledge Cities ในอนาคต คุณจูนได้พาผู้ร่วมงานไปพบกับกรณีศึกษาที่ว่า เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในเมืองไทย โดยเฉพาะเหตุฉุกเฉิน เราจะได้เรียนรู้การทำงานที่เป็นรูปแบบของเราเอง การเกิดงานหนึ่งชิ้น จากเงินมูลค่า 0 บาท จนเป็นล้านบาทนั้น จะต้องผ่านกระบวนการอย่างไรบ้าง ในสังคมและเมืองมีกลุ่มคนประเภทไหนที่เข้ามามีส่วนร่วมผลักดันให้เกิดผลสำเร็จ สถาปัตยกรรมนั้นแท้จริงแล้วรับใช้คนแบบไหน ประเภทไหน ระดับไหน สูงเกินไปคนทั่วไปเข้าใจหรือไม่ หรือว่างานบางชิ้นเกิดขึ้นได้จากบริบทของคนมากกว่าเมือง และท้ายที่สุด social มีผลอย่างไรกับงานสถาปัตยกรรมที่ล่าช้ากับการเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน
7. คุณรวิศ หาญอุตสาหะ
Managing Director, Srichand United Dispensary Co., Ltd. นักสร้างแบรนด์ชื่อดังแห่งยุค ที่มีผู้ติดตามมากอันดับต้นๆ ได้มาร่วมแชร์ไอเดียการตลาดภาคธุรกิจสู่การปรับเปลี่ยนมุมมองไลฟ์สไตล์ในวิถีคนเมือง สู่การเป็น Knowledge Cities ที่ร่วมสมัยและเติบโตอย่างยั่งยืน คุณรวิศเล่าว่าในการสร้างเมืองผ่าน “Design Thinking” ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการ “คิดใหม่” ที่ว่าด้วยการปรับวิธีคิด บิดวิธีหาคำตอบ ผ่านกรณีศึกษาที่น่าสนใจมากมายในบริบทของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของไทย ที่ทั้งฟังง่าย ใกล้ตัว และจุดประกายให้ผู้ฟังคิดต่อยอดได้ทันที พร้อมส่งผ่านประเด็นสนับสนุนให้ผู้อาศัยในเมือง ที่ถือเป็น Talent กล้าที่จะก้าวเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจสร้างเมืองผ่านการเสนอไอเดีย และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล อันเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเมืองอย่างแท้จริง
ผู้เข้าร่วมงานได้มาเรียนรู้ร่วมกันในหัวข้อ Knowledge City: Ecosystem and Empowerment องค์ประกอบและโอกาสในเมืองแห่งความรู้ Knowledge Cities: Implications for Thailand เมืองแห่งความรู้ในบริบทของไทย และ Knowledge Cities: Implications for Thailand เมืองแห่งความรู้ในบริบทของไทย จากวิทยากรผู้มากประสบการณ์ทั้ง 7 ท่าน โดยสรุปใจความได้ดังนี้
1. Dr. Jong-Sung Hwang
Lead Researcher-Smart Cities & Government 3.0 National Information Society Agency Republic of Korea (South Korea) นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้าน Smart Cities จาก National Information Society Agency ได้บรรยายถึง Smart City Platform ของเกาหลีใต้ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับ People-centric ภายใต้แนวคิด Ubiquitous-City หรือ เราสามารถอยู่ที่ใดก็ได้ในเมือง และกลยุทธ์การนำนวัตกรรมมาใช้ใน Smart Cities อย่างเต็มรูปแบบ โดยเราจะสามรถพัฒนาเมืองได้อย่างไร โดยให้ทุกคนสามารถข้าถึง Technology ล้ำสมัยได้อย่างง่ายดาย ในราคาที่ถูกลง พร้อมยกตัวอย่างของ Artificial Intelligence หรือ AI ซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของทุกคนมากยิ่งขึ้น และยังได้บอกเล่าถึงปรากฏการณ์ของสังคมระดับโลกที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4th-Generation นั่นคือ สังคมแห่งข้อมูลและองค์ความรู้
2. Marie Østergård
Director of Aarhus Public Libraries, Kingdom of Denmark ผู้อำนวยการห้องสมุดประชาชน Aarhus ที่มีหนังสือเกือบ 4 ล้านเล่ม และผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์กว่า 10 ล้านคน ภายใต้แนวคิดการสร้างต้นแบบนวัตกรรมห้องสมุดแห่งโลก หรือ Global Libraries ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของประชาชนผ่านรูปแบบ Digital Platform ซึ่งทำให้ห้องสมุดกลายเป็นพื้นที่ใหม่ที่ไม่เพียงเก็บหนังสือ แต่เป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนข้อมูล และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชนอย่างมีนัยสำคัญ ห้องสมุด Aarhus สร้าง Start-up ที่ประสบความสำเร็จขึ้นมากมายจากการเข้ามาใช้พื้นที่ในรูปแบบดังกล่าว และการเข้าถึงข้อมูลผ่านแนวคิด open-source จะเห็นได้ว่าห้องสมุดประชาชนแห่งนี้ใช้หลักการ Human Centered Design ได้อย่างเป็นรูปธรรม และ Marie Østergård ยังได้กล้าวทิ้งท้ายไว้ให้ผู้ฟังได้คิดกันต่อ “The Library is a Space Where We Create Meaning Together”
3. Dr. Jackie Watts
Chair, Knowledge City, City of Melbourne, Australia นักการศึกษาและบรรณารักษ์ สมาชิกสภาเมือง Melbourne ในฐานะประธานเมืองแห่งความรู้ หรือ Knowledge City ได้มาแบ่งประสบการณ์และขยายองค์ความรู้สู่การพัฒนา และปรับเปลี่ยน City of Melbourne ให้เป็น Knowledge City โดยเน้นไปที่การเป็น Smart City และการนำไปสู่ความเป็น City of Learning ซึ่ง Dr. Jackie Watts ได้เน้นย้ำว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดและหล่อหลอมผู้คนที่เปี่ยมศักยภาพ (Attraction of talent) พร้อมกับเน้นถึงความสำคัญของการเข้าถึงองค์ความรู้ และรวมไปถึงในแง่มุมทางการเมืองเองก็อยู่ภายใต้แนวคิด Knowledge City นั่นหมายถึง กระบวนการทำงานของรัฐที่โปร่งใส เชื้อเชิญให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลการดำเนินงานของสมาชิกสภา ตามหลักการที่เน้นให้ผู้คนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง และสมกับเป็นเมืองที่สร้างโดยประชาชน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
4. รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
President And Chief Executive Officer, Quality Houses Plc. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Q House ได้มาแบ่งปันประสบการณ์งานบริหารเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิชาการ แนวคิดการจัดการเมืองไปสู่การเป็น Knowledge Cities หรือเมืองแห่งความรู้ในบริบทของประเทศไทย ในยุค Thailand 4.0 ที่หากเมื่อพูดถึงการพัฒนาเมืองในรูปแบบที่เน้นองค์ความรู้ ดร.ชัชชาติ ได้ชวนให้ผู้ฟังนึกถึงกรณีศึกษาของชุมชม 70 ไร่ ซึ่งว่าด้วยคนกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดย่านคลองเตย ที่แม้ว่าจะถูกจำกัดโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้ และดูเหมือนไม่มีความข้องเกี่ยวกับการเข้าสู่เมือง Digital platform แต่อย่างใด แต่แท้จริงแล้วคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนเมืองอย่างแท้จริง ด้วยอาชีพผู้ใช้แรงงาน ดังนั้น ในการจะสร้าง "เมือง คิด ใหม่" โดยพุ่งเป้าไปที่ Technology และ Knowledge จึงคำถามที่น่าขบคิดว่า เราจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะสร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงเมืองในอุดมคติดังกล่าวได้ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
5. คุณอนุวัตร เฉลิมไชย
Brand Director, SCG Cement-Building Materials Co., Ltd. นักการตลาดผู้มากประสบการณ์จากเครือซิเมนต์ไทย หรือ SCG ได้มาเปิดมุมมองด้านการสร้างเมืองแห่งความรู้ จากองค์ประกอบปัจจัยเมืองปัจจุบัน นำไปสู่การพัฒนาสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างสรรค์เป็น Knowledge Cities ที่ยั่งยืน พร้อมกับเผยบทวิเคราะห์ของกระแสที่กำลังกลายมาเป็นสภาวะของสังคมในวงกว้าง ได้แก่ การขาดแคลนแรงงาน กระแสด้านสภาพแวดล้อมที่เราก้าวสู่ภาวะโลกร้อน และที่สำคัญคือการก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ คุณอนุวัตรยังได้เน้นไปที่ประเด็นสุดท้าย ว่าทั้งหมดสามารถกลายมาเป็นโอกาสให้ต่อยอดทางธุรกิจใน "เมือง คิด ใหม่" ได้ เหมือนคำพูดที่ถูกหยิบยกมาจาก Betty Friedan ที่ได้กล่าวไว้ว่า “Aging is not lost youth but the new stage of opportunity and strength” หากผู้คนใช้องค์ความรู้รวมกับทักษะในการสร้างสรรค์ เราจะสามารถรับมือและเติบโตไปกับโอกาสพร้อมๆ กันได้อย่างแข็งแรง
6. คุณจูน เซคิโน
Design Director, Junsekino Architect and Design Co., Ltd. สถาปนิกผู้คร่ำหวอดในวงการ และมีชื่อเสียงด้านงานออกแบบร่วมสมัย ได้มาร่วมแบ่งปันแนวความคิดจากประสบการณ์ และองค์ความรู้ที่หลากหลายจะแปรเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นเมืองแห่งความรู้ หรือ Knowledge Cities ในอนาคต คุณจูนได้พาผู้ร่วมงานไปพบกับกรณีศึกษาที่ว่า เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในเมืองไทย โดยเฉพาะเหตุฉุกเฉิน เราจะได้เรียนรู้การทำงานที่เป็นรูปแบบของเราเอง การเกิดงานหนึ่งชิ้น จากเงินมูลค่า 0 บาท จนเป็นล้านบาทนั้น จะต้องผ่านกระบวนการอย่างไรบ้าง ในสังคมและเมืองมีกลุ่มคนประเภทไหนที่เข้ามามีส่วนร่วมผลักดันให้เกิดผลสำเร็จ สถาปัตยกรรมนั้นแท้จริงแล้วรับใช้คนแบบไหน ประเภทไหน ระดับไหน สูงเกินไปคนทั่วไปเข้าใจหรือไม่ หรือว่างานบางชิ้นเกิดขึ้นได้จากบริบทของคนมากกว่าเมือง และท้ายที่สุด social มีผลอย่างไรกับงานสถาปัตยกรรมที่ล่าช้ากับการเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน
7. คุณรวิศ หาญอุตสาหะ
Managing Director, Srichand United Dispensary Co., Ltd. นักสร้างแบรนด์ชื่อดังแห่งยุค ที่มีผู้ติดตามมากอันดับต้นๆ ได้มาร่วมแชร์ไอเดียการตลาดภาคธุรกิจสู่การปรับเปลี่ยนมุมมองไลฟ์สไตล์ในวิถีคนเมือง สู่การเป็น Knowledge Cities ที่ร่วมสมัยและเติบโตอย่างยั่งยืน คุณรวิศเล่าว่าในการสร้างเมืองผ่าน “Design Thinking” ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการ “คิดใหม่” ที่ว่าด้วยการปรับวิธีคิด บิดวิธีหาคำตอบ ผ่านกรณีศึกษาที่น่าสนใจมากมายในบริบทของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของไทย ที่ทั้งฟังง่าย ใกล้ตัว และจุดประกายให้ผู้ฟังคิดต่อยอดได้ทันที พร้อมส่งผ่านประเด็นสนับสนุนให้ผู้อาศัยในเมือง ที่ถือเป็น Talent กล้าที่จะก้าวเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจสร้างเมืองผ่านการเสนอไอเดีย และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล อันเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเมืองอย่างแท้จริง