เมื่อต้องทำมาหากินในเมืองเศรษฐกิจฐานความรู้
เมื่อสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง จากสังคมเกษตรกรรม สู่สังคมอุตสาหกรรม จนมาถึงสังคมข้อมูลข่าวสาร และปัจจุบันเข้าสู่ ยุคเศรษฐกิจความรู้ หากขาดการเตรียมตัวที่ดีการใช้ชีวิตคงจะยากลำบากกว่าเดิมไม่น้อย
ลำปางเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเมืองเศรษฐกิจความรู้ เนื่องจากมีความพร้อมของต้นทุนท้องถิ่น หากมีกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) โดยการบูรณาการองค์ความรู้ที่จำเป็นและสร้างสิ่งแวดล้อมสำหรับกระบวนการเรียนรู้เรื่องอาชีพได้อย่างเหมาะสม โดยมุ่งหวังให้เกิดผลลัพธ์สำคัญ 3 ประการ คือ (1) องค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพแบบเบ็ดเสร็จที่เข้าใจและเข้าถึงได้ง่าย (2) กระบวนการเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ (3) แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการค้นคว้าและจุดประกายการทำมาหากินที่เหมาะสมกับต้นทุนของท้องถิ่น ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบจำเป็นต้องเชื่อมโยงและต่อเนื่อง โดยอาศัยบุคลากรที่มีความสามารถในการจัดการองค์ความรู้เป็นผู้ขับเคลื่อนและสร้างความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาและความชำนาญของคนรุ่นก่อนให้คงอยู่และสร้างรายได้ให้กับลูกหลานต่อไป
OKMD เริ่มพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อการทำมาหากินในจังหวัดลำปางเมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยทำงานร่วมกับสำนักงาน กศน. จังหวัดลำปาง พัฒนาพื้นที่ส่วนหนึ่งในห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปางให้เป็น “มุมความรู้กินได้” โดยมีกระบวนการดังนี้
นอกจากนั้นยังมีการเชื่อมโยงองค์ความรู้ท้องถิ่นเข้ากับกระบวนการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับแนวโน้มโลกและความต้องการของตลาด โดยพัฒนาต้นแบบสินค้าท้องถิ่น 2 ชนิด ได้แก่ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวแต๋นน้ำแตงโม และ พัฒนารูปแบบเครื่องปั้นดินเผาเพื่อสร้างภาพลักษณ์และการรับรู้ใหม่ให้แก่นักท่องเที่ยวและผู้บริโภค เพื่อขยายฐานลูกค้าและสร้างโอกาสใหม่ทางการตลาดให้กับสินค้าพื้นเมือง
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)