ผลร้ายของสภาวะ ‘ขาดธรรมชาติ’
ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ยิ่งอยู่ในภาวะที่มีโรคระบาดอย่างโควิด-19 เรายิ่งต้องกักตัวอยู่ห่างกัน พลอยทำให้มนุษย์เราอยู่ห่างจากธรรมชาติมากขึ้นไปอีก
ในหนังสือ Last child in the Woods : เด็กคนสุดท้ายในป่า (โดย Richard Louv) ผู้เขียนได้พูดถึงสังคมที่เปลี่ยนไป มีผลทำให้เด็กแทบไม่ได้สัมผัสธรรมชาติทางกายภาพเลย ซึ่งผู้เขียนชี้ว่า การไม่ได้สัมผัสธรรมชาติกายภาพ ทำให้การสัมผัสเพื่อเรียนรู้คับแคบลง โดยหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติและเด็กๆ ไว้มากมาย ทำให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่ช่วยบรรเทาใจ โดยเฉพาะ “ความเครียด” ที่เข้ามาบั่นทอนในการใช้ชีวิตไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่อย่างเราๆ โดยไม่รู้ตัว
หลายคนอาจไม่เคยรู้จักภาวะนี้มาก่อน แต่นี่คือ “ภาวะขาดธรรมชาติ” หรือ Nature Deficit Disorder (NDD) ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด
NDD เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และพฤติกรรม จากการที่ไม่ได้ออกไปใช้เวลา หรือทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือไปสัมผัสกับธรรมชาติ ซึ่งหากเกิดในเด็ก จะเป็นปัญหามาก เพราะเด็กเล็กเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาเด็กจึงต้องมองอย่างรอบด้าน
ที่จริงแล้ว เซลล์สมองจะเริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่ในครรภ์ เกิดเป็นเนื้อสมองและเส้นใยประสาทที่เชื่อมโยงกันเอง สร้างเป็นข่ายใยเส้นประสาทจำนวนมากและมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
สมองนั้นเริ่มพัฒนาจากด้านหลังมาด้านหน้า ตามลำดับขั้นของการได้ยิน การมองเห็น การสัมผัส การควบคุมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ไปสู่กล้ามเนื้อมัดเล็ก และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามช่วงอายุ
พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก ถูกกระตุ้นให้พัฒนาผ่าน “การเล่น” ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในทุกด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา
สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นได้ตั้งแต่สาเหตุเชิงโครงสร้าง เช่น ความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตมนุษย์ที่เข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น สาเหตุทางเศรษฐกิจที่ทำให้พ่อแม่มีเวลาในการดูแลลูกน้อยลง หรือโครงสร้างปรระชากรที่พ่อแม่มีลูกน้อยลง จึงดูแลลูกมากเป็นพิเศษ ไม่อยากให้ลูกได้รับอันตรายจากการออกไปเล่นนอกบ้าน เป็นต้น
มีผู้วิเคราะห์ถึงสาเหตุในครอบครัวที่ทำให้เด็กมีอาการ NDD มากขึ้นเอาไว้ว่าเกิดจาก
ทำอย่างไรไม่ให้เด็ก “ขาดธรรมชาติ”
นอกจากธรรมชาติจะช่วยทำให้เด็กมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีแล้ว ยังส่งผลถึงการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในครอบครัว สร้างความรักและความสุข เมื่อครอบครัวได้มีโอกาสออกไปทำกิจกรรม หรือเล่นด้วยกัน ธรรมชาติจะนำพาไปสู่การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
เด็กๆสามารถเปลี่ยนทุกสิ่งที่มีรอบตัวให้เป็นของเล่นได้ ขอเพียงให้ “โอกาส” และ “พื้นที่ธรรมชาติ” เพื่อให้เด็กได้สร้างประสบการณ์ด้วยตัวของเด็กเอง
ในหนังสือ Last child in the Woods : เด็กคนสุดท้ายในป่า (โดย Richard Louv) ผู้เขียนได้พูดถึงสังคมที่เปลี่ยนไป มีผลทำให้เด็กแทบไม่ได้สัมผัสธรรมชาติทางกายภาพเลย ซึ่งผู้เขียนชี้ว่า การไม่ได้สัมผัสธรรมชาติกายภาพ ทำให้การสัมผัสเพื่อเรียนรู้คับแคบลง โดยหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติและเด็กๆ ไว้มากมาย ทำให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่ช่วยบรรเทาใจ โดยเฉพาะ “ความเครียด” ที่เข้ามาบั่นทอนในการใช้ชีวิตไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่อย่างเราๆ โดยไม่รู้ตัว
หลายคนอาจไม่เคยรู้จักภาวะนี้มาก่อน แต่นี่คือ “ภาวะขาดธรรมชาติ” หรือ Nature Deficit Disorder (NDD) ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด
NDD เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และพฤติกรรม จากการที่ไม่ได้ออกไปใช้เวลา หรือทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือไปสัมผัสกับธรรมชาติ ซึ่งหากเกิดในเด็ก จะเป็นปัญหามาก เพราะเด็กเล็กเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาเด็กจึงต้องมองอย่างรอบด้าน
ที่จริงแล้ว เซลล์สมองจะเริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่ในครรภ์ เกิดเป็นเนื้อสมองและเส้นใยประสาทที่เชื่อมโยงกันเอง สร้างเป็นข่ายใยเส้นประสาทจำนวนมากและมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
สมองนั้นเริ่มพัฒนาจากด้านหลังมาด้านหน้า ตามลำดับขั้นของการได้ยิน การมองเห็น การสัมผัส การควบคุมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ไปสู่กล้ามเนื้อมัดเล็ก และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามช่วงอายุ
พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก ถูกกระตุ้นให้พัฒนาผ่าน “การเล่น” ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในทุกด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา
กิจกรรมการเล่นในยุคก่อนที่มนุษย์จะขลุกอยู่ในโลกออนไลน์ คือการได้ออกไปเล่นนอกบ้าน เล่นดิน เล่นทราย เก็บดอกไม้ ใบหญ้า มาเล่นตามจินตนาการ สร้างสรรค์รูปแบบการเล่นไปตามธรรมชาติสิ่งแวดล้อมใกล้ๆตัว แต่ปัจจุบัน “การเล่น” ของเด็กเริ่มเปลี่ยนแปลงไป จากการเล่นโดยใช้ร่างกายเคลื่อนไหว ออกแรง ก็หันมาเล่นกับหน้าจอมากขึ้น จนแทบจะไม่ได้สัมผัสธรรมชาติเลย การออกไปเล่นหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งจึงน้อยลง
สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นได้ตั้งแต่สาเหตุเชิงโครงสร้าง เช่น ความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตมนุษย์ที่เข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น สาเหตุทางเศรษฐกิจที่ทำให้พ่อแม่มีเวลาในการดูแลลูกน้อยลง หรือโครงสร้างปรระชากรที่พ่อแม่มีลูกน้อยลง จึงดูแลลูกมากเป็นพิเศษ ไม่อยากให้ลูกได้รับอันตรายจากการออกไปเล่นนอกบ้าน เป็นต้น
มีผู้วิเคราะห์ถึงสาเหตุในครอบครัวที่ทำให้เด็กมีอาการ NDD มากขึ้นเอาไว้ว่าเกิดจาก
- การอบรมเลี้ยงดู พ่อแม่เลี้ยงดูแบบไข่ในหิน กลัวว่าเล่นออกแรง ผาดโผน เกินไปจะเป็นอันตราย จึงไม่ให้ลูกออกไปลองสัมผัสหรือเล่นสนุกกับธรรมชาติ
- พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ การเล่นกับหน้าจอจึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพื่อให้ลูกมีความปลอดภัยทางกาย
- การหยิบยื่นสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และหน้าจอต่างๆให้เป็นพี่เลี้ยงลูกก่อนถึงวัยที่เหมาะสม
ทำอย่างไรไม่ให้เด็ก “ขาดธรรมชาติ”
- อย่าหยิบยื่นหน้าจอให้ลูกก่อนเวลาอันควร หรือมีกติกาในการใช้อย่างชัดเจน
- พาเด็กๆออกไปทำกิจกรรม หรือพาไปเที่ยวสัมผัสธรรมชาติ เช่น สวนสาธารณะ หรือพื้นที่ๆมีต้นไม้ ป่าไม้ และธรรมชาติ
- เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นสนุก เลอะเทอะบ้างในกิจกรรมที่เขาชอบ สนใจ
- ชวนปลูกต้นไม้ ดอกไม้ นอกจากจะสนุกแล้วยังเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกรักธรรมชาติด้วย
- สร้างพื้นที่เล่นให้กับเด็กได้สัมผัสดิน ทราย โคลน หญ้า และต้นไม้ภายในบ้าน (ในพื้นที่ๆเหมาะสม พื้นที่มาก สร้างใหญ่ได้ ถ้าพื้นที่น้อย แค่กองทรายก็สร้างความสุขได้)
- ชวนทำของเล่นจากธรรมชาติ กิ่งไม้ ใบไม้ เป็นการสร้างจินตนาการจากประสบการณ์จริง
การนำธรรมชาติกลับเข้ามาสู่วิถีชีวิตของเด็กจึงมีความจำเป็น เราควรให้เด็กได้เรียนรู้ว่า ธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้
นอกจากธรรมชาติจะช่วยทำให้เด็กมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีแล้ว ยังส่งผลถึงการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในครอบครัว สร้างความรักและความสุข เมื่อครอบครัวได้มีโอกาสออกไปทำกิจกรรม หรือเล่นด้วยกัน ธรรมชาติจะนำพาไปสู่การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
เด็กๆสามารถเปลี่ยนทุกสิ่งที่มีรอบตัวให้เป็นของเล่นได้ ขอเพียงให้ “โอกาส” และ “พื้นที่ธรรมชาติ” เพื่อให้เด็กได้สร้างประสบการณ์ด้วยตัวของเด็กเอง
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)