เขาสกัดคาเฟอีนออกจากกาแฟได้อย่างไร
สำหรับคนรักกาแฟที่ไม่อยากได้คาเฟอีนในกาแฟ ทางเลือกที่ดีที่่สุดก็คือ ‘กาแฟดีแคฟ’ (Decaffeinated Coffee)
คาเฟอีนมีฤทธิ์หลายอย่าง ฤทธิ์สำคัญคือทำให้เราไม่ง่วง แต่สำหรับคนที่แพ้คาเฟอีน อาจเกิดผลแบบอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ตื่นตัว กังวล กระวนกระวาย ปวดศีรษะ เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ หายใจถี่ และอาจทำให้กล้ามเนื้อสั่นได้
วิธีสกัดคาเฟอีนออกจากกาแฟนั้นมี 4 วิธีหลัก โดยเป็นวิธีใช้สารละลายสองวิธี ใช้คาร์บอนไดออกไซด์อีกหนึ่งวิธี และอีกวิธีหนึ่งใช้น้ำ มาดูกันว่าแต่ละวิธีเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
จะเห็นว่า การทำกาแฟดีแคฟนั้นไม่ง่ายเลย ต้องอาศัยกรรมวิธีที่ซับซ้อนพอตัว ต้องขอบคุณผู้คิดค้นทั้งหลาย ที่ทำให้คนแพ้คาเฟอีนสามารถดื่มกาแฟได้เหมือนคนทั่วไป
คาเฟอีนมีฤทธิ์หลายอย่าง ฤทธิ์สำคัญคือทำให้เราไม่ง่วง แต่สำหรับคนที่แพ้คาเฟอีน อาจเกิดผลแบบอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ตื่นตัว กังวล กระวนกระวาย ปวดศีรษะ เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ หายใจถี่ และอาจทำให้กล้ามเนื้อสั่นได้
วิธีสกัดคาเฟอีนออกจากกาแฟนั้นมี 4 วิธีหลัก โดยเป็นวิธีใช้สารละลายสองวิธี ใช้คาร์บอนไดออกไซด์อีกหนึ่งวิธี และอีกวิธีหนึ่งใช้น้ำ มาดูกันว่าแต่ละวิธีเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
วิธีที่หนึ่ง: การใช้ตัวทำละลายสัมผัสโดยตรง
วิธีนี้จะนำเมล็ดกาแฟไปนึ่งไอน้ำก่อน แล้วใช้ตัวทำละลายที่ชื่อ เอธิลอะซีเตต (Ethyl Acetatge) หรือเมธีลีนคลอไรด์ (Methylene Chloride) มาล้างซ้ำหลายๆ ครั้ง ตัวทำละลายที่ว่านี้ จะเลือกจับกับเฉพาะโมเลกุลของคาเฟอีน ก็เลยดึงเอาคาเฟอีนออกมาได้ หลังจากนั้นก็ต้องเอาเมล็ดไปนึ่งซ้ำอีกครั้งเพื่อกำจัดตัวทำละลายที่อาจเหลืออยู่
วิธีที่สอง: การใช้ตัวทำละลายสัมผัสโดยอ้อม
วิธีนี้ไม่อยากให้ตัวทำละลายไปสัมผัสกับเมล็ดกาแฟโดยตรง จึงนำเมล็ดไปแช่ในน้ำร้อนนานๆ เพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาแฟหลุดออกมาให้หมด ไม่ว่าจะเป็นคาเฟอีน กลิ่นรส หรือน้ำมันหอมระเหยต่างๆ จากนั้นค่อยนำน้ำที่ได้มาเติมตัวทำลายลายลงไป มันก็จะไปจับกับคาเฟอีน แล้วนำไปให้ความร้อน ตัวทำละลายที่จับกับคาเฟอีนแล้วก็จะระเหยอออกไป แต่น้ำมันและสารให้กลิ่นรสต่างๆ ยังคงอยู่ แล้วค่อยนำเมล็ดกาแฟมาแช่น้ำที่เหลืออยู่นี้ เมล็ดกาแฟก็จะมีกลิ่นรสเหมือนกาแฟ แต่ไม่มีคาเฟอีน
วิธีที่สาม: การใช้คาร์บอนไดออกไซด์
วิธีนี้คล้ายวิธีที่สอง คือเริ่มด้วยการแช่เมล็ดกาแฟในน้ำร้อน แต่มีเฉพาะโมเลกุลของคาเฟอีนเท่านั้นที่หลุดออกมา จากนั้นก็เติมคาร์บอนไดออกไซด์ลงไป เหมือนการทำน้ำอัดลม คาร์บอนไดออกไซด์จะไปจับกับคาเฟอีน วิธีนี้ฟังดูง่าย แต่ต้องลงทุนสูง จึงเป็นวิธีที่ใช้ในการผลิตใหญ่ๆ เท่านั้น
วิธีที่สี่: วิธีสวิสวอเตอร์ (Swiss Water Method)
วิธีนี้เกิดจากนักวิทยาศาสตร์ชาวสวิสในยุคแปดศูนย์ที่คิดวิธีสกัดคาเฟอีนออกจากเมล็ดกาแฟโดยไม่ต้องใช้ตัวทำละลาย ซึ่งก็เริ่มด้วยการนำเมล็ดกาแฟไปแช่น้ำร้อนเพื่อสกัดเอาคาเฟอีนออกมาเหมือนกัน แต่แทนที่จะใส่ตัวทำละลายลงไป ก็ใช้วิธีกรอง โดยใช้ถ่านที่ออกแบบให้รูพรุนจับเฉพาะโมเลกุลของคาเฟอีนเอาไว้เท่านั้น โชคดีที่คาเฟอีนโมเลกุลใหญ่กว่า ก็เลยถูกกรองเอาไว้ได้ ในขณะที่พวกกลิ่นรสและน้ำมันหอมต่างๆ ผ่านไปได้ แล้วก็นำเมล็ดกลับมาแช่ให้ได้รับกลิ่นรสพวกนี้กลับไปอีก
จะเห็นว่า การทำกาแฟดีแคฟนั้นไม่ง่ายเลย ต้องอาศัยกรรมวิธีที่ซับซ้อนพอตัว ต้องขอบคุณผู้คิดค้นทั้งหลาย ที่ทำให้คนแพ้คาเฟอีนสามารถดื่มกาแฟได้เหมือนคนทั่วไป
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)