How to สู้ไวรัส COVID-19 ภายในรถยนต์ของคุณ
ถ้าถามว่าทุกวันนี้ การใช้ชีวิตของคนทั่วโลกเสี่ยงต่อเชื้อโรคโควิด-19 ไหม
คำตอบคือเสี่ยงแน่ๆ เพราะโควิด-19 สามารถอยู่ได้แทบทุกที่ โดยเฉพาะบนพื้นผิวต่างๆ
แล้วถ้าเป็นในรถของเราล่ะ โคโรนาไวรัสที่เป็นตัวการของโรคโควิด-19 จะอยู่ได้อย่างไร
คำตอบก็คือ ถ้าเราขับรถเพียงคนเดียว ความเสี่ยงเรื่องนี้อาจจะต่ำ แต่ถ้าเป็นรถที่ใช้กันหลายคน หรือมีผู้โดยสารอื่นๆ นั่งอยู่ด้วย ความเสี่ยงจะพุ่งสูงขึ้นมาทันที เพราะเราไม่รู้เลยว่าคนอื่นนำรถไปใช้อย่างไรบ้าง และการนั่งอยู่ในรถร่วมกันก็คือการอยู่ในพื้นที่แคบๆ แถมยังใช้เครื่องปรับอากาศร่วมกันอีกต่างหาก ดังนั้น หากจำเป็นต้องขับรถโดยมีคนอื่นร่วม จึงอยากแนะนำคุณดังนี้
ข้อมูลประกอบการเขียน
https://www.thairath.co.th/news/auto/tips/2007424
คำตอบคือเสี่ยงแน่ๆ เพราะโควิด-19 สามารถอยู่ได้แทบทุกที่ โดยเฉพาะบนพื้นผิวต่างๆ
แล้วถ้าเป็นในรถของเราล่ะ โคโรนาไวรัสที่เป็นตัวการของโรคโควิด-19 จะอยู่ได้อย่างไร
คำตอบก็คือ ถ้าเราขับรถเพียงคนเดียว ความเสี่ยงเรื่องนี้อาจจะต่ำ แต่ถ้าเป็นรถที่ใช้กันหลายคน หรือมีผู้โดยสารอื่นๆ นั่งอยู่ด้วย ความเสี่ยงจะพุ่งสูงขึ้นมาทันที เพราะเราไม่รู้เลยว่าคนอื่นนำรถไปใช้อย่างไรบ้าง และการนั่งอยู่ในรถร่วมกันก็คือการอยู่ในพื้นที่แคบๆ แถมยังใช้เครื่องปรับอากาศร่วมกันอีกต่างหาก ดังนั้น หากจำเป็นต้องขับรถโดยมีคนอื่นร่วม จึงอยากแนะนำคุณดังนี้
- แม้เป็นรถยนต์ส่วนตัว ก็ควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทาง ไม่ว่าจะเดินทางคนเดียวหรือมีผู้โดยสารด้วย
- ลดการสนทนา การพูดคุยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
- หากจะไอหรือจาม ควรทำใส่แขนเสื้อข้อศอกด้านใน ห้ามไอจามใส่มือเด็ดขาด
- ควรปิดเครื่องปรับอากาศ เปิดหน้าต่างรถให้อากาศถ่ายเท
- พกเจลล้างมือแอลกอฮอล์ติดรถไว้เสมอ
- พวงมาลัย
- กุญแจและรีโมท
- มือเปิดประตูภายนอกทุกตำแหน่ง
- ปุ่มเปิดฝากระโปรงท้ายและบริเวณที่จับ
- มือเปิดประตูภายใน
- ปุ่มสตาร์ทเครื่องยนต์
- กระจกมองหลัง (รวมถึงกรอบและฝาปิดด้านหลัง)
- ช่องแอร์ทุกตำแหน่ง
- คันเกียร์
- ก้านไฟเลี้ยว
- ก้านที่ปัดน้ำฝน
- ปุ่มควบคุมต่างๆ บริเวณคอนโซลหน้า และแผงประตู
- ปุ่มควบคุมบริเวณคอนโซลกลางระหว่างเบาะนั่งคู่หน้า
- หัวเสียบเข็มขัดนิรภัยและปุ่มปลดล็อก (หลีกเลี่ยงการทำความสะอาดสายเข็มขัดนิรภัยด้วยแอลกอฮอล์)
- ก้านเบรกมือ
- เบาะนั่งทุกที่นั่งภายในรถยนต์ ก็จำเป็นต้องทำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วยสเปรย์แอลกอฮอล์ เช่นเดียวกัน
- ถุงมือ การใส่ถุงมือขับรถช่วยป้องกันเชื้อได้บางส่วน เพราะเราใช้มือหยิบจับอุปกรณ์ของรถและของใช้ต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัย หัวเกียร์ ปุ่มหรือสวิตช์แอร์ หรือการใช้โทรศัพท์ กรณีที่ไม่ได้ใช้รถคันนี้คนเดียว ควรหาถุงมือมาใส่เพื่อความมั่นใจ
- หน้ากากอนามัย ควรมีหน้ากากอนามัยที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งติดรถไว้ประจำ หากจะต้องรับเพื่อนหรือญาติพี่น้องขึ้นมานั่งบนรถ ซึ่งระยะของการนั่งในรถนั้นใกล้ชิด ก็ควรใส่หน้ากากอนามัย พูดคุยกันให้น้อย หรือไม่พูดคุยกันในรถ เพื่อลดการฟุ้งกระจายของละอองน้ำลาย ส่วนคนที่มีอาการไอจาม คัดจมูก มีไข้ เจ็บคอ ก็ต้องรู้ตัวเองว่าการโดยสารไปในรถยนต์อาจเป็นการแพร่เชื้อโดยตรงไปสู่คนที่อยู่ในรถ
- เจลหรือแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ แอลกอฮอล์ที่ใช้ต้องมีความเข้มข้นสูงถึง 70% หากต่ำกว่า 70% ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ ซึ่งแอลกอฮอล์สามารถหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ แอลกอฮอล์สามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย และไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์บนพื้นผิวสิ่งของต่างๆ เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ
- ผ้าสะอาดสำหรับเช็ดภายใน ผ้าเช็ดรถที่ยังใหม่ชุบน้ำหมาดๆ หมั่นทำความสะอาดในจุดที่ต้องใช้มือจับหรือนั่งสัมผัสบ่อยครั้ง เช่น พวงมาลัย หัวเกียร์ ก้านไฟเลี้ยวและก้านที่ปัดน้ำฝน ปุ่มหรือสวิตช์ปรับระบบแอร์ หน้าจอระบบสัมผัส เบาะนั่ง แผงประตู พนักเท้าแขน พนักพิงศีรษะ รวมไปถึงการนำเอาพรมรองพื้นไปซักล้างทำความสะอาด
- จอดรถตากแดดจัด การจอดรถท่ามกลางแสงแดดจัดจะช่วยฆ่าเชื้อโรคได้บ้าง แต่ถ้ารู้ตัวว่าภายในของรถคุณไม่ได้ทำความสะอาดภายในมานานมากแล้ว ก็ให้เริ่มลงมือทำได้เลย ไม่ต้องรอให้เชื้อเข้ามาแพร่อยู่ในรถยนต์แสนรักของคุณ ซึ่งนั่นอาจสายเกินแก้
ข้อมูลประกอบการเขียน
https://www.thairath.co.th/news/auto/tips/2007424
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)