ต้าน Climate Change ด้วย Indoor Farming
Indoor farming หรือการเกษตรแบบในร่ม เป็นเทรนด์ด้านการเกษตรที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ประเทศในทวีปยุโรป รวมถึงเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน และไต้หวัน
Indoor farming เริ่มมาจากความต้องการในการแก้ไขปัญหาเรื่องผลผลิตทางเกษตรที่มีข้อจำกัดในสภาวะอากาศที่หนาวเย็น ทำให้ไม่สามารถปลูกพืชและผลไม้บางชนิดได้ และปัญหาในการขนส่งระยะไกลที่ใช้เวลานาน ทำให้ผักผลไม้ไม่สดและเน่าเสีย จึงการคิดค้นการปลูกพืชแบบเกษตรในร่ม ซึ่งก็คือการทำเกษตรในสถานที่ปิด เช่น โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง ที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ แสงแดด ความชื้น และปริมาณน้ำ ซึ่งมีรูปแบบการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย โดยสามารถจำแนกได้ตามระบบการเพาะปลูก และโครงสร้างอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะปลูก
รูปแบบของการทำเกษตรในร่ม สามารถแบ่งได้ตามระบบการเพาะปลูก ดังนี้
การปลูกพืชในร่มนั้น มีข้อดีหลายประการ เช่น ปลูกพืชได้ทุกฤดูกาลและทุกสภาพอากาศ สามารถควบคุมผลผลิตได้และมีความสม่ำเสมอ สะอาด คุณภาพดี เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้พอดีกับความต้องการของพืช และมีการควบคุมสภาพแวดล้อมอื่นๆ ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ข้อเสียคือใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เกษตรกรหรือผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงเลือกเพาะปลูกพืชที่ให้กำไรสูง และระยะเวลาในการผลิตค่อนข้างสั้น
ยกตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ไอเดียการปลูกผักในตัวอาคารเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยรูปแบบที่นำมาใช้ค่อนข้างหลากหลาย เช่น โรงเรือนไฮโดรโปนิกส์ โรงงานปลูกผัก และฟาร์มแบบตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น
จีนเป็นประเทศอีกหนึ่งพัฒนาการเกษตรแบบ Indoor Farming เพื่อรองรับตลาดผู้บริโภคในประเทศที่เพิ่มมากขึ้น โดยได้สร้างโรงงานปลูกพืชขนาดใหญ่ที่มีการใช้ระบบแสงจากไฟ LED และพลังงานแสงอาทิตย์ในหลายพื้นที่ ปักกิ่ง เทียนจิน เหลียว หนิง ชานตง เจียงซู นอกจากนี้ จีนยังได้ทำความร่วมมือด้านการเกษตรกับรัฐบาลประเทศอียิปต์ เพื่อจะพลิกฟื้นพื้นที่ทะเลทรายให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งโครงการนี้นับเป็นการนำร่องของรัฐบาลจีนเพื่อใช้เป็นต้นแบบกับประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลางอีกด้วย
สำหรับประเทศไทยที่มีความได้เปรียบทางภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ หลายคนอาจคิดว่า Indoor Farming ไม่จำเป็นเท่าไหร่
แต่กระนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจะให้ผู้ผลิตหรือเกษตรกรไทยพึ่งฟ้าพึ่งฝนที่มีการเปลี่ยนแปลงและแปรปรวนนั้น นับเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงควรปรับตัวและใช้เทคโนโลยีในการเพาะปลูกมากขึ้น
วิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงข้อจำกัดในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น น้ำ พื้นที่เพาะปลูก และยังพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการทำเกษตรด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขยายโอกาสในการแข่งขันก็คือเกษตรในร่ม หรือ Indoor Farming นั่นเอง
Indoor farming เริ่มมาจากความต้องการในการแก้ไขปัญหาเรื่องผลผลิตทางเกษตรที่มีข้อจำกัดในสภาวะอากาศที่หนาวเย็น ทำให้ไม่สามารถปลูกพืชและผลไม้บางชนิดได้ และปัญหาในการขนส่งระยะไกลที่ใช้เวลานาน ทำให้ผักผลไม้ไม่สดและเน่าเสีย จึงการคิดค้นการปลูกพืชแบบเกษตรในร่ม ซึ่งก็คือการทำเกษตรในสถานที่ปิด เช่น โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง ที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ แสงแดด ความชื้น และปริมาณน้ำ ซึ่งมีรูปแบบการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย โดยสามารถจำแนกได้ตามระบบการเพาะปลูก และโครงสร้างอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะปลูก
รูปแบบของการทำเกษตรในร่ม สามารถแบ่งได้ตามระบบการเพาะปลูก ดังนี้
- ไฮโดรโปนิกส์ เป็นการปลูกพืชโดยใช้น้ำ โดยพืชจะดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ จากน้ำผ่านราก
- แอโรโปนิกส์ เป็นการปลูกพืชโดยให้รากพืชเปลือยอยู่ในอากาศ และให้แร่ธาตุสารอาหารโดยการฉีดพ่นสารละลายแร่ธาตุเป็นละอองน้ำ
- อะควาโปนิกส์ เป็นการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ และใช้น้ำระบบหมุนเวียน
- ไฮบริด เป็นระบบที่ผสมผสานกันระหว่างไฮโดรโปนิกส์และแอโรโปนิกส์
- การปลูกพืชโดยใช้ดิน
การปลูกพืชในร่มนั้น มีข้อดีหลายประการ เช่น ปลูกพืชได้ทุกฤดูกาลและทุกสภาพอากาศ สามารถควบคุมผลผลิตได้และมีความสม่ำเสมอ สะอาด คุณภาพดี เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้พอดีกับความต้องการของพืช และมีการควบคุมสภาพแวดล้อมอื่นๆ ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ข้อเสียคือใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เกษตรกรหรือผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงเลือกเพาะปลูกพืชที่ให้กำไรสูง และระยะเวลาในการผลิตค่อนข้างสั้น
การลงทุนส่วนใหญ่จะใช้เป็นค่าวางระบบและเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่จะมาช่วยในการดูแลพืช เช่น ระบบแสงจากไฟ LED และพลังงานแสงอาทิตย์จากโซล่าเซลล์ รวมไปถึงการใช้ IoT (Internet of Things), Machine learning, ระบบอัตโนมัติ (automation), หุ่นยนต์ (Robotic) มาใช้ในการรดน้ำและปรับการให้แสงแบบอัตโนมัติ และการเก็บข้อมูลการเพาะปลูกภายใต้การควบคุมปัจจัยต่างๆ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตและควบคุมต้นทุนการผลิตได้ รวมไปถึงช่วยในการวางแผนการผลิตเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ยกตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ไอเดียการปลูกผักในตัวอาคารเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยรูปแบบที่นำมาใช้ค่อนข้างหลากหลาย เช่น โรงเรือนไฮโดรโปนิกส์ โรงงานปลูกผัก และฟาร์มแบบตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น
จีนเป็นประเทศอีกหนึ่งพัฒนาการเกษตรแบบ Indoor Farming เพื่อรองรับตลาดผู้บริโภคในประเทศที่เพิ่มมากขึ้น โดยได้สร้างโรงงานปลูกพืชขนาดใหญ่ที่มีการใช้ระบบแสงจากไฟ LED และพลังงานแสงอาทิตย์ในหลายพื้นที่ ปักกิ่ง เทียนจิน เหลียว หนิง ชานตง เจียงซู นอกจากนี้ จีนยังได้ทำความร่วมมือด้านการเกษตรกับรัฐบาลประเทศอียิปต์ เพื่อจะพลิกฟื้นพื้นที่ทะเลทรายให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งโครงการนี้นับเป็นการนำร่องของรัฐบาลจีนเพื่อใช้เป็นต้นแบบกับประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลางอีกด้วย
สำหรับประเทศไทยที่มีความได้เปรียบทางภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ หลายคนอาจคิดว่า Indoor Farming ไม่จำเป็นเท่าไหร่
แต่กระนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจะให้ผู้ผลิตหรือเกษตรกรไทยพึ่งฟ้าพึ่งฝนที่มีการเปลี่ยนแปลงและแปรปรวนนั้น นับเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงควรปรับตัวและใช้เทคโนโลยีในการเพาะปลูกมากขึ้น
วิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงข้อจำกัดในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น น้ำ พื้นที่เพาะปลูก และยังพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการทำเกษตรด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขยายโอกาสในการแข่งขันก็คือเกษตรในร่ม หรือ Indoor Farming นั่นเอง
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)