10 วิธีกำจัด “Burnout Syndrome”

คุณรู้สึกว่าตัวเองเหนื่อยเกินไป เครียดเกินไป จนหมดไฟในการทำงานหรือเปล่า
ถ้าคำตอบคือ “ใช่”
เป็นไปได้ว่าคุณอาจมีอาการ Burnout Syndrome หรือ “ภาวะหมดไฟในการทำงาน”
ภาวะนี้คือภาวะที่คนทำงานรู้สึกเหนื่อยล้า ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จากการทำงาน ส่งผลให้เหนื่อยหน่าย ไม่อยากจะทำอะไร อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวหมดแรง ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน และสุดท้ายก็ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ซึ่งอาจเป็นเหตุวนกลับมากระหน่ำความรู้สึกหมดไฟให้มากขึ้นไปอีก
สาเหตุมักมาจากการทำงานในสภาวะที่มีความเครียดและกดดันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน งานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาพักผ่อน การไม่ได้รับความยอมรับในความสามารถหรือผลงานที่ทำไป ได้ทำงานที่ไม่มีใครสนใจ หรือไม่ได้มี Passion ที่จะทำ การได้ค่าตอบแทนที่น้อยเกินไป ไปจนถึงปัญหาความขัดแย้งในที่ทำงาน ปัญหาความไม่ยุติธรรมในบริษัท หรืออาจจะเป็นคนประเภท Perfectionism ที่มีมาตรฐานในการทำงานสูงเกินไป คาดหวังสูง ไม่ยืดหยุ่น กดดันตัวเอง
จนทำให้เกิดความเครียดสะสม กลายมาเป็น ภาวะ Burnout Syndrome ซึ่งถ้าเป็นหนักเข้าอาจจะพัฒนากลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้
อาการทางกาย
รู้สึกเหนื่อย หมดแรง ร่างการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ไปจนถึงอาการป่วยง่าย เพราะภูมิคุ้มกันต่ำ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อบ่อย ไม่อยากอาหารหรือกินอาหารมากเกินไป ปวดท้อง คลื่นไส้ มีความสามารถในการจำและการทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด
อาการทางใจ
รู้สึกล้มเหลว หดหู่ เบื่อ ขาดแรงจูงใจ ไม่มีความสุขในการทำงาน มองโลกในแง่ร้าย โกรธและหงุดหงิดง่าย เจ้าอารมณ์ พร้อมจะขัดแย้งกับคนรอบข้างได้ง่าย สงสัยในตัวเองและคนอื่นตลอดเวลา รู้สึกโดดเดี่ยว สิ้นหวัง ไม่มีใครเข้าใจ ไม่พอใจในตัวเอง และรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ
อาการทางด้านพฤติกรรม
พูดคุยกับคนรอบตัวน้อยลง ชอบแยกตัวไม่สุงสิงกับใคร ไม่อยากตื่นมาทำงาน มาทำงานสายแต่กลับบ้านเร็ว เริ่มขี้เกียจมากขึ้น ไม่กระตือรือร้น ผัดวันประกันพรุ่ง ทำงานไปตามหน้าที่ ไม่มีความคิดอยากพัฒนาที่ทำอยู่ ไปจนถึงเริ่มใช้สิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ ในบางคน
หากรู้สึกว่าทำงานมากเกินไป ควรหันมาให้เวลากับตัวเองให้มากขึ้น เช่น
ข้อมูลประกอบการเขียน
https://www.healthaddict.com/content/cooking-therapy-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E...
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30044
https://hellokhunmor.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0...
https://www.trueplookpanya.com/blog/content/67463/
ถ้าคำตอบคือ “ใช่”
เป็นไปได้ว่าคุณอาจมีอาการ Burnout Syndrome หรือ “ภาวะหมดไฟในการทำงาน”
ภาวะนี้คือภาวะที่คนทำงานรู้สึกเหนื่อยล้า ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จากการทำงาน ส่งผลให้เหนื่อยหน่าย ไม่อยากจะทำอะไร อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวหมดแรง ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน และสุดท้ายก็ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ซึ่งอาจเป็นเหตุวนกลับมากระหน่ำความรู้สึกหมดไฟให้มากขึ้นไปอีก
สาเหตุมักมาจากการทำงานในสภาวะที่มีความเครียดและกดดันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน งานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาพักผ่อน การไม่ได้รับความยอมรับในความสามารถหรือผลงานที่ทำไป ได้ทำงานที่ไม่มีใครสนใจ หรือไม่ได้มี Passion ที่จะทำ การได้ค่าตอบแทนที่น้อยเกินไป ไปจนถึงปัญหาความขัดแย้งในที่ทำงาน ปัญหาความไม่ยุติธรรมในบริษัท หรืออาจจะเป็นคนประเภท Perfectionism ที่มีมาตรฐานในการทำงานสูงเกินไป คาดหวังสูง ไม่ยืดหยุ่น กดดันตัวเอง
จนทำให้เกิดความเครียดสะสม กลายมาเป็น ภาวะ Burnout Syndrome ซึ่งถ้าเป็นหนักเข้าอาจจะพัฒนากลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้
อาการทางกาย
รู้สึกเหนื่อย หมดแรง ร่างการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ไปจนถึงอาการป่วยง่าย เพราะภูมิคุ้มกันต่ำ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อบ่อย ไม่อยากอาหารหรือกินอาหารมากเกินไป ปวดท้อง คลื่นไส้ มีความสามารถในการจำและการทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด
อาการทางใจ
รู้สึกล้มเหลว หดหู่ เบื่อ ขาดแรงจูงใจ ไม่มีความสุขในการทำงาน มองโลกในแง่ร้าย โกรธและหงุดหงิดง่าย เจ้าอารมณ์ พร้อมจะขัดแย้งกับคนรอบข้างได้ง่าย สงสัยในตัวเองและคนอื่นตลอดเวลา รู้สึกโดดเดี่ยว สิ้นหวัง ไม่มีใครเข้าใจ ไม่พอใจในตัวเอง และรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ
อาการทางด้านพฤติกรรม
พูดคุยกับคนรอบตัวน้อยลง ชอบแยกตัวไม่สุงสิงกับใคร ไม่อยากตื่นมาทำงาน มาทำงานสายแต่กลับบ้านเร็ว เริ่มขี้เกียจมากขึ้น ไม่กระตือรือร้น ผัดวันประกันพรุ่ง ทำงานไปตามหน้าที่ ไม่มีความคิดอยากพัฒนาที่ทำอยู่ ไปจนถึงเริ่มใช้สิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ ในบางคน
หากรู้สึกว่าทำงานมากเกินไป ควรหันมาให้เวลากับตัวเองให้มากขึ้น เช่น
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยง บุหรี่ แอลกอฮอล์ และการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนมากเกินไป
- หาเวลาไปพักร้อน ให้ห่างจากการทำงานสักพัก
- จัดระเบียบตัวเองและงาน โดยทำงานตามลำดับความสำคัญ กำหนดเวลาในการทำงานแต่ละชิ้นให้เหมาะสม ไม่ทำงานเกินเวลา และพยายามอย่านำงานกลับไปทำที่บ้าน
- หากงานมีความยากเกินความสามารถ ให้ขอความเห็น ความช่วยเหลือจากเพื่อนหรือหัวหน้า พูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนในทีมเพื่อคลายความเครียด
- ทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ อย่างท่องเที่ยว ดูภาพยนตร์หรือซีรี่ย์สักเรื่อง ฟังเพลง อ่านนิยายสักเล่ม ผ่อนคลายในวันหยุด หรือออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ สามสิบนาที ห้าวันต่อสัปดาห์
- งดเล่นโซเชียลมีเดีย เพราะการออนไลน์ตลอดเวลา ทำให้คุณเกิดความเครียดจากการที่รับข่าวสารเข้ามามากเกินไป และเสียเวลาพักผ่อน
- พยายามปรับความคิดเกี่ยวกับความเครียดใหม่ ทำความเข้าใจและยอมรับว่าในการทำงานต้องมีความเครียดเป็นของคู่กัน และการที่คุณเครียดก็เป็นการบอกได้ว่าคุณใส่ใจในงานที่ทำ
- พัฒนาทักษะสกิลในการทำงานของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้เราตามทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคม
- มองหาที่ปรึกษาที่รับฟังและแนะนำได้ หรือปรึกษาแพทย์
ข้อมูลประกอบการเขียน
https://www.healthaddict.com/content/cooking-therapy-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E...
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30044
https://hellokhunmor.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0...
https://www.trueplookpanya.com/blog/content/67463/
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)