คิดให้กว้าง มองให้ไกล เข้าใจโลก เข้าใจคน
การมองต่างมุมไม่ใช่ชนวนของความขัดแย้งเสมอไป ในทางกลับกัน ถ้าเรารู้จักนำมุมมองที่แตกต่างมาใช้อย่างสร้างสรรค์ เราจะสามารถลดทอนจุดเปราะบาง และสร้างสะพานเชื่อมโยงที่เข้มแข็งระหว่างความคิดที่หลากหลายเข้าหากันได้ ที่จริงแล้ว ก็เป็นเรื่องปกติถ้าภาพที่เราเห็นจะแตกต่างจากที่คนอื่นมองเห็น ด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ เช่น จุดยืน ความสัมพันธ์ สภาพแวดล้อม ฯลฯ ที่แตกต่างกัน ทำให้เราต่างก็มีบทสรุปของตัวเอง แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถมองเห็นเรื่องราวและสรรพสิ่งต่างๆ ในมุมมองที่หลากหลายและลึกซึ้ง ไม่ด่วนสรุปหรือตัดสินอะไรด้วยความตื้นเขิน และไม่จำกัดความคิดของตัวเองอยู่ในมุมแคบๆ เพราะการติดกับดักหลุมพรางของมุมมองที่จำกัดนั้นอาจจะทำให้เราพลาดโอกาสที่จะค้นพบสิ่งใหม่ สิ่งใหญ่ และสิ่งดีที่จะเกิดขึ้นในชีวิตเราและสังคมรอบข้างไปก็ได้
บทความนี้จึงขอนำเสนอเทคนิคง่ายๆ ที่จะช่วยให้เรามองโลกได้กว้างไกลและลึกซึ้งยิ่งขึ้นกว่าเดิม มาสิ ... ลองปลดล็อค เปิดประตูความคิดที่ปิดผนึกอยู่ แล้วตามไปเรียนรู้ด้วยกัน
เปิดใจให้พร้อมเรียนรู้
เพียงเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการเปิดใจก็ทำให้มุมมองของเรากว้างขึ้นแล้ว การเปิดใจไม่ใช่พิธีการแต่เป็นเคล็ดลับความสำเร็จของการเรียนรู้ เมื่อสมองเกิดความสนใจใคร่รู้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นโดยง่าย ในเด็กเล็ก สมองส่วนเหตุผลยังไม่เจริญเต็มที่ การเรียนรู้ของเด็กๆ จะถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ที่สนุกสนาน ซาบซึ้ง พึงพอใจ ผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องกระตุ้นสมองส่วนอารมณ์ด้วยสิ่งเร้าที่แปลกใหม่และน่าสนใจ แต่สำหรับผู้ใหญ่ สมองส่วนเหตุผลจะมุ่งสัมฤทธิ์ ทำให้การเรียนรู้ถูกขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าเราเห็นว่าสิ่งใดสำคัญ เราจะตั้งใจและมีพลังที่จะทำจนสำเร็จ ดังนั้น จุดเริ่มต้นความสำเร็จของการขยายมุมมองก็คือการเปิดใจยอมรับว่ามุมมองใหม่ที่กว้างไกลและรอบด้านนั้นเป็นประโยชน์ต่อการงานและการใช้ชีวิตของเรา
เปิดตำรา ปรับวิธีคิดให้หลากหลาย
การปรับเปลี่ยนวิธีคิดที่เราคุ้นชินอาจไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนการเปิดใจ แต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะฝึกฝน โดยทั่วไป วิธีคิดของแต่ละคนจะถูกผูกร้อยเข้ากับชีวิตของเรามาตั้งแต่เด็ก ขึ้นอยู่กับคำสอน ประสบการณ์ และการฝึกฝน การเรียนในระบบการศึกษาสอนให้เราคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking) เป็นเหตุเป็นผล และฝึกให้เราคิดหาคำตอบที่มีอยู่แล้ว ด้วยวิธีการที่เป็นแนวดิ่ง (Vertical Thinking) มีแบบแผนชัดเจนตายตัว เพื่อให้เราแก้โจทย์ปัญหาได้อย่างถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว ทำให้บางครั้ง เราหลงลืมไปว่า อาจจะยังมีวิธีต่างๆ อีกมากมายที่นำเราไปสู่คำตอบของปัญหา และในการค้นหาคำตอบของปัญหาหนึ่ง เราจะอาจจะพบคำตอบของปัญหาอื่นๆ อีกมากมายแทรกอยู่ระหว่างทาง เราจึงควรเรียกคืนสมรรถนะดั้งเดิมของเรากลับมา ทั้งจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ที่เราทำหล่นหายไป ตลอดจนความกล้าหาญที่จะกระโดดออกนอกกรอบไปเผชิญสิ่งใหม่ที่ท้าทาย ลองเปิดตำราที่ว่าด้วยการคิด แล้วฝึกคิดด้วยหลากหลายกระบวนท่า เช่น
เปิดประสบการณ์ด้วยการลงมือทำ
เปิดโลกทัศน์ของตัวเองให้กว้างขึ้นด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โลกทุกวันนี้หมุนเร็วมากจนปฏิเสธไม่ได้ว่ามีสิ่งใหม่หลั่งไหลเข้ามาในชีวิตของเรามากมาย ระบบเก่าๆ ที่ฝังอยู่กับเรามายาวนานถูกทำให้หายไปในชั่วพริบตา ถ้าเราไม่อยากขึ้นชื่อว่าเป็นบรรพชีวินที่มีชีวิต (Living Fossil) เราก็จำเป็นต้องเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เข้ามาแทนที่ ต้องขอบคุณนวัตกรรมล้ำสมัย ที่ช่วยให้เราใช้ชีวิตง่ายขึ้น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้เราได้มาก เทคโนโลยีที่เชื่อมโลกนำข้อมูลที่เราต้องการเข้ามาใกล้แค่เพียงปลายนิ้ว แต่ถึงกระนั้น ทักษะความชำนาญก็ยังต้องการการฝึกฝน ลองหันมามองรอบตัวเรา คอร์สเรียน เวิร์ค์ชอป เทรนนิ่ง มีให้เลือกมากมายหลายสาขา เราสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และเพิ่มพูนทักษะของเราได้ตามความชอบ ความถนัด ให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบทชีวิตของเราเอง ความเข้าใจที่ถ่องแท้ได้มาจากการลงมือทำ และประสบการณ์ตรงจากการลงมือทำจะตอกย้ำความมั่นใจที่ส่งผลต่อมุมมอง การตัดสินใจ และพฤติกรรมของเรา
เปิดหนังสือ เรียนรู้โลกจากการอ่าน
อ่านให้มาก และอ่านให้มากขึ้น ความรู้ในโลกนี้มีมากมายมหาศาลเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้ครบจบกระบวนในช่วงชีวิตหนึ่ง แต่ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถเอื้อมมือไปสัมผัสขอบจักรวาล อย่างน้อยเราก็สามารถย่อโลกทั้งใบลงมาไว้ในมือได้ด้วยการอ่าน การอ่านไม่ได้เป็นเพียงการเปิดรับความรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นการมองโลกผ่านมุมมองของผู้คนที่หลากหลายด้วย ยิ่งอ่านมาก ก็ยิ่งเห็นมุมมองที่แตกต่าง ยิ่งเข้าถึงความคิด เข้าใจคน และเข้าใจโลกได้มากยิ่งขึ้น มาเริ่มต้นเป็นนักอ่านด้วยเคล็ดลับง่ายๆ
เราควรตระหนักอยู่เสมอว่า ทุกสิ่งที่ได้พบคือกำไรของชีวิต และมีบางสิ่งควรค่าแก่การเรียนรู้และจดจำ แต่ด้วยเหตุที่ความจำของเราค่อนข้างจำกัด ลองใช้อุปกรณ์ที่เราพกพาบันทึกเหตุการณ์สำคัญ เรื่องเล่า ภาพประทับใจ หรือแม้กระทั่งประโยคที่สัมผัสใจ แล้วหยิบมาใคร่ครวญทบทวนดูก่อนที่เราจะหลงลืมและปล่อยให้ภาพหรือคำสำคัญเหล่านั้นเลือนหายไปโดยเปล่าประโยชน์ รูปแบบในการจดบันทึกมีหลากหลายแล้วแต่สไตล์ของแต่ละคน เช่น การเขียนบรรยายเหตุการณ์ การวาดภาพประกอบคำอธิบาย การเขียนสะท้อนความรู้สึก การจดบันทึกเป็นหัวข้อ การเขียนลิสต์ อัลบั้ม/สมุดภาพ สมุดบันทึกความคิด/คำคม ฯลฯ ลองเลือกใช้วิธีที่เราถนัด และฝึกทำให้สม่ำเสมอ แล้ววันหนึ่ง เราจะประหลาดใจเมื่อพบว่าคำพูดของเราฟังดูมีความหมายและเฉลียวฉลาดขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา
เปิดแฟ้มผลงาน เรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ
เคยตั้งคำถามกับตัวเองหรือไม่ว่า ใครคือฮีโร่ในดวงใจเรา หากยังไม่เคย ลองนึกดูดีๆ เชื่อว่าทุกคนมีบุคคลต้นแบบในใจ คนที่เราชื่นชอบ คนที่เราติดตาม คนที่เราอยากเติบโตไปเป็นเหมือนเขา ลองอ่านประวัติ ศึกษาผลงาน และทำความเข้าใจมุมมอง วิธีคิด และการปฏิบัติตนของเขา ศรัทธาที่เรามีต่อบุคคลต้นแบบในดวงใจมีอิทธิพลต่อแนวคิด มุมมอง ตลอดจนพฤติกรรมของเรา ทำให้เรามีแนวโน้มที่จะคล้อยตามความคิดและการกระทำของผู้นั้น อย่างไรก็ตาม เราต้องตระหนักว่า ไม่มีใครสมบูรณ์แบบในทุกด้าน ดังนั้น จึงต้องใช้วิจารณญาณเลือกคิดเลือกทำตามในสิ่งที่ใคร่ครวญแล้วว่าดี ไม่ก่อความเสียหายให้แก่ส่วนรวม และไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม เราสามารถเลือกติดตามเฉพาะส่วนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม (Best Practices) ของเขา แทนที่จะเป็นการติดตามตัวบุคคล การฝึกแยกแยะเช่นนี้ จะช่วยให้เรามีจุดยืนที่มั่นคง ไม่ถูกโน้มน้าวให้เอนเอียงคล้อยตามได้ง่าย และไม่ประนีประนอมกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เปิดเกม ฝึกวางแผน
เมื่อพูดถึงหมากรุก คอหนังจีนจะคุ้นเคยกับเกมกระดานที่บรรดาบัณฑิต แม่ทัพ กุนซือนิยมเล่นในสมัยโบราณ หมากรุกคือเกมกระดานที่ปรมาจารย์ด้านกลยุทธ์ต้องเรียนรู้และฝึกปรือ เพราะการเล่นหมากรุกต้องอาศัยการวางแผน ต้องมองเกมทั้งกระดาน และมองไปข้างหน้า ไม่ใช่แค่หนึ่งหรือสองก้าว แต่ไกลกว่านั้น กระดานชีวิตก็เช่นเดียวกัน ก่อนที่จะก้าวเดินออกไป เราเห็นภาพใหญ่ของสิ่งที่เราต้องเผชิญหรือไม่ และเราคาดการณ์ก้าวต่อไปไว้อย่างไร การวางแผนเป็นคุณลักษณะของผู้มีมุมมองและวิสัยทัศน์กว้างไกล หากรู้สึกว่าหมากรุกยากและซับซ้อนเกินไป ลองหาเกมกระดานหรือเกมคอมพิวเตอร์ที่ฝึกการวางแผนมาเล่นดู นอกจากนั้น เราอาจลองวางแผนกิจวัตรประจำวันเล็กๆ น้อยๆ ของตัวเอง เช่น แผนชอปปิ้งรายสัปดาห์ แผนการใช้เงินแต่ละเดือน แผนพักร้อนประจำปี การฝึกวางแผนจะช่วยขยายมุมมองรอบด้าน ทำให้เรารอบคอบ และก้าวไปข้างหน้าด้วยย่างก้าวที่มั่นใจ
เปิดคลังความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น
ส่งท้ายด้วยประโยคง่ายๆ “อย่าทำตัวเหมือนน้ำเต็มแก้ว” แก้วที่มีน้ำอยู่เต็มไม่สามารถรับน้ำเพิ่มได้อีกฉันใด ตัวเราก็ไม่สามารถเปิดรับความรู้ใหม่ๆ เข้ามาในชีวิตได้ฉันนั้น อย่าปล่อยให้คำสรรเสริญเยินยอของ “ความเชี่ยวชาญ” มาบดบังมุมมองของเรา ในทางกลับกัน การถ่อมตัวถ่อมใจยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ลดตัวลงเรียนรู้บางสิ่งจากผู้น้อยหรือคนที่มีคุณวุฒิต่ำกว่า ลงมือทำงานเล็กน้อยหรืองานหนักที่เป็นโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่หวงวิชาและยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นทั้งในและนอกสาขาที่เชี่ยวชาญ นอกจากจะเป็นการขยายมุมมอง เปิดรับความรู้ใหม่แล้ว พฤติกรรมถ่อมตัวถ่อมใจใฝ่รู้นี้ยังเป็นแบบอย่างที่ควรปลูกฝังให้คนรุ่นหลังต่อไปด้วย
หลากหลายวิธีที่นำเสนอมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยขยายมุมมองให้ลึกและกว้างขึ้น จะเห็นว่า บทเริ่มต้นและส่งท้ายด้วยการเปิดใจและถ่อมตัวนั้นกระทำได้ทันทีโดยไม่ต้องมีบทเรียนเพิ่มเติม หากเรามีเงื่อนไขเรื่องเวลา ภาระ และความจำกัดอื่นๆ ลองทำแค่เริ่มต้นและลงท้ายง่ายๆ ก่อน แล้วค่อยเติมเต็มด้วยวิธีอื่นๆ ตามแต่โอกาสจะอำนวย เพียงมีการเปิดรับและแบ่งปันออกไป ความรู้ใหม่ๆ ก็จะไหลผ่านตัวเราอย่างไม่ขาดสาย เท่านี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการขยายมุมมองของเราออกไปได้ส่วนหนึ่งแล้ว มองให้ลึกและไกลขึ้นเพื่อร่วมเป็นอีกก้าวหนึ่งมุ่งไปสู่สังคมที่ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ไม่ปิดกั้นมุมมองที่แตกต่าง เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไร้พรมแดนอย่างแท้จริง
ค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก:
https://www.businessinsider.com/how-to-broaden-your-thinking-find-ideas-2014-9
https://www.edwddebono.com/lateral-thinking
https://thecontextual.com/blog/3-thinking-skills-ที่จะทำให้การใช้-design-thinking-ขอ
https://www.webmd.com/mental-health/positive-thinking-overview
https://www.sciencedirect.com/topics/computer-science/ethical-thinking
https://www.nytimes.com/interactive/2020/05/27/burst/6-steps-to-become-a-better-reader.html
https://vanillapapers.net/2020/08/25/journaling-techniques/
บทความนี้จึงขอนำเสนอเทคนิคง่ายๆ ที่จะช่วยให้เรามองโลกได้กว้างไกลและลึกซึ้งยิ่งขึ้นกว่าเดิม มาสิ ... ลองปลดล็อค เปิดประตูความคิดที่ปิดผนึกอยู่ แล้วตามไปเรียนรู้ด้วยกัน
เปิดใจให้พร้อมเรียนรู้
เพียงเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการเปิดใจก็ทำให้มุมมองของเรากว้างขึ้นแล้ว การเปิดใจไม่ใช่พิธีการแต่เป็นเคล็ดลับความสำเร็จของการเรียนรู้ เมื่อสมองเกิดความสนใจใคร่รู้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นโดยง่าย ในเด็กเล็ก สมองส่วนเหตุผลยังไม่เจริญเต็มที่ การเรียนรู้ของเด็กๆ จะถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ที่สนุกสนาน ซาบซึ้ง พึงพอใจ ผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องกระตุ้นสมองส่วนอารมณ์ด้วยสิ่งเร้าที่แปลกใหม่และน่าสนใจ แต่สำหรับผู้ใหญ่ สมองส่วนเหตุผลจะมุ่งสัมฤทธิ์ ทำให้การเรียนรู้ถูกขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าเราเห็นว่าสิ่งใดสำคัญ เราจะตั้งใจและมีพลังที่จะทำจนสำเร็จ ดังนั้น จุดเริ่มต้นความสำเร็จของการขยายมุมมองก็คือการเปิดใจยอมรับว่ามุมมองใหม่ที่กว้างไกลและรอบด้านนั้นเป็นประโยชน์ต่อการงานและการใช้ชีวิตของเรา
เปิดตำรา ปรับวิธีคิดให้หลากหลาย
การปรับเปลี่ยนวิธีคิดที่เราคุ้นชินอาจไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนการเปิดใจ แต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะฝึกฝน โดยทั่วไป วิธีคิดของแต่ละคนจะถูกผูกร้อยเข้ากับชีวิตของเรามาตั้งแต่เด็ก ขึ้นอยู่กับคำสอน ประสบการณ์ และการฝึกฝน การเรียนในระบบการศึกษาสอนให้เราคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking) เป็นเหตุเป็นผล และฝึกให้เราคิดหาคำตอบที่มีอยู่แล้ว ด้วยวิธีการที่เป็นแนวดิ่ง (Vertical Thinking) มีแบบแผนชัดเจนตายตัว เพื่อให้เราแก้โจทย์ปัญหาได้อย่างถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว ทำให้บางครั้ง เราหลงลืมไปว่า อาจจะยังมีวิธีต่างๆ อีกมากมายที่นำเราไปสู่คำตอบของปัญหา และในการค้นหาคำตอบของปัญหาหนึ่ง เราจะอาจจะพบคำตอบของปัญหาอื่นๆ อีกมากมายแทรกอยู่ระหว่างทาง เราจึงควรเรียกคืนสมรรถนะดั้งเดิมของเรากลับมา ทั้งจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ที่เราทำหล่นหายไป ตลอดจนความกล้าหาญที่จะกระโดดออกนอกกรอบไปเผชิญสิ่งใหม่ที่ท้าทาย ลองเปิดตำราที่ว่าด้วยการคิด แล้วฝึกคิดด้วยหลากหลายกระบวนท่า เช่น
- การคิดเชิงวิพากษ์ หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
- การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
- การคิดนอกกรอบ หรือ การคิดแนวข้าง (Thinking out of the box / Lateral Thinking)
- การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
- การคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
- การคิดเชิงจริยธรรม (Ethical Thinking)
เปิดประสบการณ์ด้วยการลงมือทำ
เปิดโลกทัศน์ของตัวเองให้กว้างขึ้นด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โลกทุกวันนี้หมุนเร็วมากจนปฏิเสธไม่ได้ว่ามีสิ่งใหม่หลั่งไหลเข้ามาในชีวิตของเรามากมาย ระบบเก่าๆ ที่ฝังอยู่กับเรามายาวนานถูกทำให้หายไปในชั่วพริบตา ถ้าเราไม่อยากขึ้นชื่อว่าเป็นบรรพชีวินที่มีชีวิต (Living Fossil) เราก็จำเป็นต้องเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เข้ามาแทนที่ ต้องขอบคุณนวัตกรรมล้ำสมัย ที่ช่วยให้เราใช้ชีวิตง่ายขึ้น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้เราได้มาก เทคโนโลยีที่เชื่อมโลกนำข้อมูลที่เราต้องการเข้ามาใกล้แค่เพียงปลายนิ้ว แต่ถึงกระนั้น ทักษะความชำนาญก็ยังต้องการการฝึกฝน ลองหันมามองรอบตัวเรา คอร์สเรียน เวิร์ค์ชอป เทรนนิ่ง มีให้เลือกมากมายหลายสาขา เราสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และเพิ่มพูนทักษะของเราได้ตามความชอบ ความถนัด ให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบทชีวิตของเราเอง ความเข้าใจที่ถ่องแท้ได้มาจากการลงมือทำ และประสบการณ์ตรงจากการลงมือทำจะตอกย้ำความมั่นใจที่ส่งผลต่อมุมมอง การตัดสินใจ และพฤติกรรมของเรา
เปิดหนังสือ เรียนรู้โลกจากการอ่าน
อ่านให้มาก และอ่านให้มากขึ้น ความรู้ในโลกนี้มีมากมายมหาศาลเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้ครบจบกระบวนในช่วงชีวิตหนึ่ง แต่ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถเอื้อมมือไปสัมผัสขอบจักรวาล อย่างน้อยเราก็สามารถย่อโลกทั้งใบลงมาไว้ในมือได้ด้วยการอ่าน การอ่านไม่ได้เป็นเพียงการเปิดรับความรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นการมองโลกผ่านมุมมองของผู้คนที่หลากหลายด้วย ยิ่งอ่านมาก ก็ยิ่งเห็นมุมมองที่แตกต่าง ยิ่งเข้าถึงความคิด เข้าใจคน และเข้าใจโลกได้มากยิ่งขึ้น มาเริ่มต้นเป็นนักอ่านด้วยเคล็ดลับง่ายๆ
- เลือกสิ่งที่ต้องการอ่าน และตั้งคำถามว่าอ่านเพื่ออะไร เช่น เพื่อความรู้ เพื่อความบันเทิง เพื่อนำไปใช้ หรือเพื่อตอบสนองความอยากรู้ อย่างน้อยก็จะได้ตอบตัวเองได้ว่าอ่านแล้วได้อะไร และอ่านไปทำไม
- วางแผนการอ่านแบบคร่าวๆ เช่น จะอ่านเมื่อไร และจะอ่านจบเมื่อไร เพื่อกระตุ้นตัวเองให้บรรลุเป้าหมายในการอ่าน เราสามารถเลิกอ่านได้ ไม่จำเป็นต้องทรมานตัวเองให้อ่านจนจบถ้าพบว่าหนังสือเล่มนั้นไม่ตอบสนองวัตถุประสงค์
- อ่านให้ลึก หากต้องการอ่านเพื่อจดจำรายละเอียด ไม่ควรอ่านผ่านๆ หรืออ่านข้าม แต่ควรใส่ใจอ่านซ้ำ หาความหมายของคำที่ไม่เข้าใจ และมีปากกาหลากสีไว้ขีดเน้นข้อความสำคัญ (ในกรณีที่เป็นหนังสือของตัวเองและสามารถทำเครื่องหมายได้)
- อ่านแล้วคิดตาม ลองถามตัวเองว่าอ่านแล้วเข้าใจหรือไม่ เข้าใจอย่างไร เห็นด้วยหรือโต้แย้งกับสิ่งที่อ่าน การคิดตามจะช่วยตอกตรึงความจำได้ดีกว่าอ่านผ่านไปเฉยๆ โดยไม่คิดอะไร
- แลกเปลี่ยนแบ่งปันสิ่งที่อ่าน เล่าสู่กันฟังในหมู่เพื่อนฝูงนักอ่านคอเดียวกัน แนะนำหนังสือให้กันและกัน โพสต์แสดงความคิดเห็นในกลุ่มออนไลน์ พูดคุยกับผู้เขียนหากมีโอกาส
- ขยายประสบการณ์การอ่าน มีกิจกรรมต่อยอดการอ่านที่น่าสนุกอีกมากมาย เช่น พบปะนักเขียน ตามรอยเรื่องที่อ่าน อ่านเรื่องแนวใกล้เคียงกัน อ่านงานเขียนชิ้นอื่นของนักเขียนคนเดิม (ที่ชื่นชอบ)
เราควรตระหนักอยู่เสมอว่า ทุกสิ่งที่ได้พบคือกำไรของชีวิต และมีบางสิ่งควรค่าแก่การเรียนรู้และจดจำ แต่ด้วยเหตุที่ความจำของเราค่อนข้างจำกัด ลองใช้อุปกรณ์ที่เราพกพาบันทึกเหตุการณ์สำคัญ เรื่องเล่า ภาพประทับใจ หรือแม้กระทั่งประโยคที่สัมผัสใจ แล้วหยิบมาใคร่ครวญทบทวนดูก่อนที่เราจะหลงลืมและปล่อยให้ภาพหรือคำสำคัญเหล่านั้นเลือนหายไปโดยเปล่าประโยชน์ รูปแบบในการจดบันทึกมีหลากหลายแล้วแต่สไตล์ของแต่ละคน เช่น การเขียนบรรยายเหตุการณ์ การวาดภาพประกอบคำอธิบาย การเขียนสะท้อนความรู้สึก การจดบันทึกเป็นหัวข้อ การเขียนลิสต์ อัลบั้ม/สมุดภาพ สมุดบันทึกความคิด/คำคม ฯลฯ ลองเลือกใช้วิธีที่เราถนัด และฝึกทำให้สม่ำเสมอ แล้ววันหนึ่ง เราจะประหลาดใจเมื่อพบว่าคำพูดของเราฟังดูมีความหมายและเฉลียวฉลาดขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา
เปิดแฟ้มผลงาน เรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ
เคยตั้งคำถามกับตัวเองหรือไม่ว่า ใครคือฮีโร่ในดวงใจเรา หากยังไม่เคย ลองนึกดูดีๆ เชื่อว่าทุกคนมีบุคคลต้นแบบในใจ คนที่เราชื่นชอบ คนที่เราติดตาม คนที่เราอยากเติบโตไปเป็นเหมือนเขา ลองอ่านประวัติ ศึกษาผลงาน และทำความเข้าใจมุมมอง วิธีคิด และการปฏิบัติตนของเขา ศรัทธาที่เรามีต่อบุคคลต้นแบบในดวงใจมีอิทธิพลต่อแนวคิด มุมมอง ตลอดจนพฤติกรรมของเรา ทำให้เรามีแนวโน้มที่จะคล้อยตามความคิดและการกระทำของผู้นั้น อย่างไรก็ตาม เราต้องตระหนักว่า ไม่มีใครสมบูรณ์แบบในทุกด้าน ดังนั้น จึงต้องใช้วิจารณญาณเลือกคิดเลือกทำตามในสิ่งที่ใคร่ครวญแล้วว่าดี ไม่ก่อความเสียหายให้แก่ส่วนรวม และไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม เราสามารถเลือกติดตามเฉพาะส่วนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม (Best Practices) ของเขา แทนที่จะเป็นการติดตามตัวบุคคล การฝึกแยกแยะเช่นนี้ จะช่วยให้เรามีจุดยืนที่มั่นคง ไม่ถูกโน้มน้าวให้เอนเอียงคล้อยตามได้ง่าย และไม่ประนีประนอมกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เปิดเกม ฝึกวางแผน
เมื่อพูดถึงหมากรุก คอหนังจีนจะคุ้นเคยกับเกมกระดานที่บรรดาบัณฑิต แม่ทัพ กุนซือนิยมเล่นในสมัยโบราณ หมากรุกคือเกมกระดานที่ปรมาจารย์ด้านกลยุทธ์ต้องเรียนรู้และฝึกปรือ เพราะการเล่นหมากรุกต้องอาศัยการวางแผน ต้องมองเกมทั้งกระดาน และมองไปข้างหน้า ไม่ใช่แค่หนึ่งหรือสองก้าว แต่ไกลกว่านั้น กระดานชีวิตก็เช่นเดียวกัน ก่อนที่จะก้าวเดินออกไป เราเห็นภาพใหญ่ของสิ่งที่เราต้องเผชิญหรือไม่ และเราคาดการณ์ก้าวต่อไปไว้อย่างไร การวางแผนเป็นคุณลักษณะของผู้มีมุมมองและวิสัยทัศน์กว้างไกล หากรู้สึกว่าหมากรุกยากและซับซ้อนเกินไป ลองหาเกมกระดานหรือเกมคอมพิวเตอร์ที่ฝึกการวางแผนมาเล่นดู นอกจากนั้น เราอาจลองวางแผนกิจวัตรประจำวันเล็กๆ น้อยๆ ของตัวเอง เช่น แผนชอปปิ้งรายสัปดาห์ แผนการใช้เงินแต่ละเดือน แผนพักร้อนประจำปี การฝึกวางแผนจะช่วยขยายมุมมองรอบด้าน ทำให้เรารอบคอบ และก้าวไปข้างหน้าด้วยย่างก้าวที่มั่นใจ
เปิดคลังความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น
ส่งท้ายด้วยประโยคง่ายๆ “อย่าทำตัวเหมือนน้ำเต็มแก้ว” แก้วที่มีน้ำอยู่เต็มไม่สามารถรับน้ำเพิ่มได้อีกฉันใด ตัวเราก็ไม่สามารถเปิดรับความรู้ใหม่ๆ เข้ามาในชีวิตได้ฉันนั้น อย่าปล่อยให้คำสรรเสริญเยินยอของ “ความเชี่ยวชาญ” มาบดบังมุมมองของเรา ในทางกลับกัน การถ่อมตัวถ่อมใจยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ลดตัวลงเรียนรู้บางสิ่งจากผู้น้อยหรือคนที่มีคุณวุฒิต่ำกว่า ลงมือทำงานเล็กน้อยหรืองานหนักที่เป็นโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่หวงวิชาและยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นทั้งในและนอกสาขาที่เชี่ยวชาญ นอกจากจะเป็นการขยายมุมมอง เปิดรับความรู้ใหม่แล้ว พฤติกรรมถ่อมตัวถ่อมใจใฝ่รู้นี้ยังเป็นแบบอย่างที่ควรปลูกฝังให้คนรุ่นหลังต่อไปด้วย
หลากหลายวิธีที่นำเสนอมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยขยายมุมมองให้ลึกและกว้างขึ้น จะเห็นว่า บทเริ่มต้นและส่งท้ายด้วยการเปิดใจและถ่อมตัวนั้นกระทำได้ทันทีโดยไม่ต้องมีบทเรียนเพิ่มเติม หากเรามีเงื่อนไขเรื่องเวลา ภาระ และความจำกัดอื่นๆ ลองทำแค่เริ่มต้นและลงท้ายง่ายๆ ก่อน แล้วค่อยเติมเต็มด้วยวิธีอื่นๆ ตามแต่โอกาสจะอำนวย เพียงมีการเปิดรับและแบ่งปันออกไป ความรู้ใหม่ๆ ก็จะไหลผ่านตัวเราอย่างไม่ขาดสาย เท่านี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการขยายมุมมองของเราออกไปได้ส่วนหนึ่งแล้ว มองให้ลึกและไกลขึ้นเพื่อร่วมเป็นอีกก้าวหนึ่งมุ่งไปสู่สังคมที่ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ไม่ปิดกั้นมุมมองที่แตกต่าง เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไร้พรมแดนอย่างแท้จริง
ค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก:
https://www.businessinsider.com/how-to-broaden-your-thinking-find-ideas-2014-9
https://www.edwddebono.com/lateral-thinking
https://thecontextual.com/blog/3-thinking-skills-ที่จะทำให้การใช้-design-thinking-ขอ
https://www.webmd.com/mental-health/positive-thinking-overview
https://www.sciencedirect.com/topics/computer-science/ethical-thinking
https://www.nytimes.com/interactive/2020/05/27/burst/6-steps-to-become-a-better-reader.html
https://vanillapapers.net/2020/08/25/journaling-techniques/
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)