มาทำความรู้จัก 3 เทรนด์การใช้ชีวิต จาก New Normal สู่ Next Normal
เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างหนักของโรคโควิด 19 ส่งผลให้วิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนทั่วโลกเปลี่ยนไป “บ้าน” ไม่ได้เป็นแค่ “ที่อยู่อาศัย” อีกต่อไป แต่ยังเป็นออฟฟิศ ห้องประชุม ฟิตเนส หรือแม้กระทั่งโรงภาพยนตร์ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้สามารถใช้งานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย
เทรนด์ 01 | Stay-at-home Economy เศรษฐกิจติดบ้าน
เริ่มจากเราคงเห็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานแบบอัตโนมัติมากขึ้น ประตูอัตโนมัติ ก๊อกน้ำอัตโนมัติ รวมถึงชักโครกอัตโนมัติ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ร่างกายของเราไปสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ให้มากที่สุด
ซึ่งเรื่องนี้คงทำให้เทคโนโลยีเซนเซอร์ต่างๆ เติบโตขึ้นอย่างมาก รวมถึงเทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียง ก็จะได้รับความนิยมเช่นกัน สำหรับในธุรกิจภาคบริการ ก็อาจจะต้องหาวิธีมารองรับ เพื่อให้ลูกค้ามีการ “สัมผัส” น้อยที่สุด
เทรนด์ Touchless Society หรือสังคมไร้การสัมผัส จึงอาจกลายเป็นเทรนด์ที่คนส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจ
โดยหลักการดังกล่าวเป็นหลักการง่ายๆ ที่ Soil Science Society of America เขานำเสนอขึ้นมาเพื่อให้ตอบรับกับเทรนด์ regenerative agriculture ที่กำลังค่อยๆ มีบทบาทมากขึ้น ผ่านการทำตามหลักการง่ายๆ 5 ขั้นตอน ได้แก่
ที่มา :
https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256306GlobalTrend.aspx
https://www.salika.co/2021/01/03/next-normal-trend-post-covid-2021/
https://www.brandbuffet.in.th/2021/03/stay-at-home-economy-trend/
https://www.longtunman.com/22771
https://www.greenery.org/articles/soil-friendly-eating/
เทรนด์ 01 | Stay-at-home Economy เศรษฐกิจติดบ้าน
- สามารถทำกิจกรรมต่างๆภายในบ้านได้ เพราะไม่จำเป็นต้องออกจากบ้านไปไหนและคุ้นชินกับการทำกิจกรรมเพื่อหาความสุขและสร้างความสนุกในแบบที่ต้องการทั้งการพบปะสังสรรค์ผ่านแอปพลิเคชัน ธุรกิจ e-commerce บริการจัดส่งอาหารถึงบ้าน และเทคโนโลยีการชอปปิ้งผ่านประสบการณ์เสมือนจริง (virtual reality) การทำอาหาร ปลูกผักสวนครัว ดู netfilx ออกกำลังกาย การทำชาเลนจ์ผ่าน Tiktok ทำให้เกิดเทรนด์ใหม่ที่เรียกว่า New Luxury คือการต้องมีของหรืออุปกรณ์ที่สามารถสร้างความสุขให้กับตัวเองได้โดยไม่ต้องออกนอกบ้าน เช่น เครื่องทำกาแฟสด หม้อทอดไร้น้ำมัน เป็นต้น
- ทำให้แบรนด์ในกลุ่มธุรกิจต่างๆ หันมาพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์เทรนด์ Stay-at-Home Economy เพื่อรองรับ Demand การบริโภค และการใช้จ่ายภายในบ้าน
- นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดธุรกิจแบบ Stay-at-Home Economy มากมาย และมีการเติบโตทางออนไลน์เพิ่มสูงยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ถือเป็นกระแสอย่างหนึ่งที่สามารถบ่งบอกถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนั่นเอง
โลกแบบ Touchless Society จะเป็นอย่างไรบ้าง?
เริ่มจากเราคงเห็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานแบบอัตโนมัติมากขึ้น ประตูอัตโนมัติ ก๊อกน้ำอัตโนมัติ รวมถึงชักโครกอัตโนมัติ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ร่างกายของเราไปสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ให้มากที่สุด
ซึ่งเรื่องนี้คงทำให้เทคโนโลยีเซนเซอร์ต่างๆ เติบโตขึ้นอย่างมาก รวมถึงเทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียง ก็จะได้รับความนิยมเช่นกัน สำหรับในธุรกิจภาคบริการ ก็อาจจะต้องหาวิธีมารองรับ เพื่อให้ลูกค้ามีการ “สัมผัส” น้อยที่สุด
เทรนด์ Touchless Society หรือสังคมไร้การสัมผัส จึงอาจกลายเป็นเทรนด์ที่คนส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจ
- ยกตัวอย่างแอปพลิเคชันส่งอาหารบางแพลตฟอร์ม ก็เริ่มมีตัวเลือกการ Contactless Delivery โดยเป็นการให้คนส่งอาหารวางอาหารไว้ในจุดรับ-ส่งของเลย เพื่อเลี่ยงการสัมผัสกับคนขับโดยตรงทั้งการใช้ E-Wallet หรือการสแกน QR Code และต่อไปการชำระเงินด้วยระบบ Facial Recognition ก็อาจได้รับความนิยมมากขึ้นไม่ใช่แค่ความสะดวก แต่เพราะเป็นเรื่องของสุขอนามัยด้วยแปลว่า เราน่าจะมีเงินสด บัตรต่างๆ ทั้งบัตรสมาชิก บัตรสะสมแต้ม ติดตัวน้อยลง และกระเป๋าเงินอาจจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป เพราะทุกอย่างสามารถทำผ่านโทรศัพท์มือถือ หรืออัตลักษณ์ตัวตนของเราเอง
- สิ่งที่เห็นได้ง่ายที่สุดก็คือเราอยู่ในยุค Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสดมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ทั้งการใช้ Mobile Banking แทนการทำธุรกรรมที่ธนาคาร หรือ การสั่งสินค้า Online แทนการไปเดินช้อปปิ้งเองที่ห้างสรรพสินค้า เพียงแค่เรายังไม่คำนึงความจำเป็นมากเหมือนในปัจจุบัน จนกระทั่งเกิด Covid-19 ขึ้น จึงกลายเป็นตัวเร่งที่ทำให้เราเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากที่เคยเป็นอยู่ไปอย่างสิ้นเชิง
-
จากเดิม Touchless Society น่าจะเป็นเทรนด์ระยะยาวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
แต่ในตอนนี้ดูเหมือนว่า COVID-19 จะเร่งให้มันเกิดขึ้น “ทันที” ในตอนนี้
ทุกอย่างบนโลกจะถูกทำให้เป็นระบบไร้สัมผัสอย่างรวดเร็ว
ประเด็นเรื่องความปลอดภัยและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นหัวใจสำคัญของโลกยุค next normal ดังนั้น เทรนด์หนึ่งที่จะฉายภาพชัดขึ้นเรื่อยๆ คือ มาตรฐานสินค้าเกษตรที่เรียกว่า “regenerative organic” ซึ่งไม่เพียงต้องปลอดสารพิษและปราศจากการใช้เมล็ดพันธุ์ดัดแปลงเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงมาตรฐาน คุณภาพดิน การคุ้มครองสัตว์ คุณภาพชีวิตเกษตรกร ความยุติธรรมด้านค่าแรง รวมถึงระบบฟาร์มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
โดยหลักการดังกล่าวเป็นหลักการง่ายๆ ที่ Soil Science Society of America เขานำเสนอขึ้นมาเพื่อให้ตอบรับกับเทรนด์ regenerative agriculture ที่กำลังค่อยๆ มีบทบาทมากขึ้น ผ่านการทำตามหลักการง่ายๆ 5 ขั้นตอน ได้แก่
- กินให้หลากหลายเข้าไว้ ทั้งพืชผัก ผลไม้ ธัญพืช เพื่อให้เกษตรกรได้ปลูกผลผลิตที่หลากหลายตามไปด้วย
- สนับสนุนถั่วจากฟาร์มออร์แกนิก เพราะพืชต้นเล็กอย่างถั่วมีคุณสมบัติในการช่วยตรึงไนโตรเจน ที่สามารถนำไปใช้ในดินได้อย่างเหมาะสม พอปลูกถั่วเยอะๆ เข้าก็จะสามารถช่วยพัฒนาดินไปได้ในตัว แถมถั่วยังเป็นทางเลือกให้เกษตรกรนอกฤดูเก็บเกี่ยวด้วย
- ถ้ายังกินเนื้อสัตว์อยู่ เลือกเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงอย่างเป็นมิตร เพราะกระบวนการเลี้ยงสัตว์ที่ต้องใช้อาหารจำพวกพืชจากฟาร์มเชิงเดี่ยวที่นำไปอัดเม็ดนี่แหละคือภัยร้ายต่อหน้าดิน
- ลดการกินเหลือ เพราะอาหารที่เน่าเสียจะสร้างมลพิษ แถมบางทีเมื่อนำไปทิ้งหรือฝังกลบในดิน ก็กลายเป็นการเพิ่มหน้าที่ให้ดินทำงานหนักขึ้นเหมือนกันนะ
- รู้จักการทำปุ๋ย เพราะเปลือกไข่ หรือเศษกาแฟต่างๆ ล้วนมีประโยชน์ต่อดินทั้งสิ้นถ้ารู้จักจัดการให้เป็น ยิ่งถ้ามีถังหมักประจำบ้านด้วยก็ยิ่งดีเข้าไปใหญ่
ที่มา :
https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256306GlobalTrend.aspx
https://www.salika.co/2021/01/03/next-normal-trend-post-covid-2021/
https://www.brandbuffet.in.th/2021/03/stay-at-home-economy-trend/
https://www.longtunman.com/22771
https://www.greenery.org/articles/soil-friendly-eating/
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)