OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

Cashless Society : สังคมไร้เงินสด ชัวร์หรือมั่วนิ่ม

18206 | 6 กรกฎาคม 2564
Cashless Society : สังคมไร้เงินสด ชัวร์หรือมั่วนิ่ม
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า สังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society มีมาสักพักกันแล้ว แต่หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้จักหรือสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่!! ในยุคที่ผู้คนต้องต่อสู้และรับมือกับโรคระบาด แต่ยังต้องออกไปนอกบ้านเพื่อจับจ่ายซื้อของ ตระเตรียมวัตถุดิบและอาหารเข้าบ้าน เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะไม่ต้องใช้เงินสดเลยนับจากนี้ไป เป็นเรื่องที่เราต้องหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน 

สังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society คืออะไร
แท้ที่จริงแล้ว สังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society เป็นแนวคิดสังคมเศรษฐกิจที่ปราศจากการใช้เงินสด หรือ สังคมที่ไม่นิยมถือเงินสดนั้นเอง หรือถ้าจะให้เข้าใจกันง่ายๆ  ก็คือ ไปซื้อของ หรือทำธุรกรรมใดๆ ก็ไม่ต้องหยิบเงินสดออกมาจากกระเป๋ากันเลย เป็นหลักการที่มองว่า ความสำคัญของเงินสดในอนาคตจะลดน้อยลง และจะถูกแทนที่โดยการใช้ เทคโนโลยีทำธุรกรรมทางการเงินแทน  เช่น  ใช้จ่ายด้วยเงินสด ก็จะถูกเปลี่ยนมาเป็นใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต  บัตรเดบิต  หรือ บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) แทนนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบัน ลองสำรวจดูว่า หลายคนน่าจะได้ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ในการซื้อของออนไลน์ในยามนี้อยู่แล้ว จนจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาในยุคนี้ไปซะแล้ว…. 

ปัจจุบันหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยมีการเริ่มเปลี่ยนแปลง ขยับจากสังคมเงินสด ไปสู่การใช้ ระบบบัตรเครดิตและบัตรเดบิต หรือการบริการการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) มากขึ้น โดยเห็นจากยอดการลดจำนวนพนักงาน สาขาย่อยของสถาบันทางการเงินและธนาคารน้อยลงเรื่อยๆ แต่ก็ยังมีอีกมากที่เรายังเห็น ผู้คนยังคงใช้จ่ายเงินสด และชำระค่าบริการในชีวิตประจำวันอยู่บ้าง และระบบการเงินของธนาคารพาณิชย์ทั่วโลก ก็ยังคงเป็นสังคมเงินสดอยู่นะตอนนี้ 

ผลการจัดอันดับประเทศสังคมไร้เงินสด 
ประเทศแคนาดา  6.48% ประเทศสวีเดน 6.47% สหราชอาณาจักร 6.42% ประเทศฝรั่งเศล 6.25%  United States 5.87% ประเทศจีน 5.12% ประเทศออสเตรเลีย 4.92% ประเทศเยอรมนี 4.19% ประเทศญี่ปุ่น 3.12% และประเทศรัสเซีย 1.95%

ข้อดีข้อเสียของสังคมไร้เงินสด 
ข้อดี :
มาดูกันว่า “สังคมไร้เงินสด” ใช้แล้วดียังไง ทำไมใครๆ ถึงเริ่มขยับเข้าไปเริ่มใช้ระบบนี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ  
  1. ลดการใช้เงินสด
  2. เพิ่มการใช้งาน e-payment 
  3. เพิ่มประสิทธิภาพ และศักยภาพของเศรษฐกิจ 
  4. ลดการคอรัปชั่น จัดเก็บภาษีได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  5. ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคที่สะสมอยู่ตามเงินสด ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในเวลานี้ เชื้อโรค เชื้อไวรัสต่างๆ แพร่กระจายอยู่ในอากาศทั่วโลก โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 ขณะนี้ ทำให้ ‘เงินสด’ ที่ทุกคนหยิบจับ ใช้จ่าย เกิดการส่งต่อกันไปมาผ่านมือผู้คนมาแล้วนับไม่ถ้วน เงินสดในรูปแบบของแบงก์และเหรียญจึงเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะไวรัสโคโรน่าที่สามารถมีชีวิตอยู่บนธนบัตรได้ถึง 9 วัน
  6. รวดเร็วมากขึ้น หมดห่วงเรื่องออกจากบ้านไปทำธุรกรรมไม่ได้ ไม่เสียเวลาตามหาตู้เอทีเอ็มหรือธนาคาร 
  7. ปลอดภัยมากขึ้น ไม่ต้องกลัวเงินหายหรือการปล้นเงิน 
  8. สะดวกมากขึ้น โอนเงินไปได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้โดยตรงไม่ต้องเดินทาง
ข้อเสีย :
สูญเสียความเป็นส่วนตัวในการทำธุรกรรมทางการเงิน เกิดความไม่แน่ใจในระบบความปลอดภัย ทำให้ขาดวินัย ไม่มีการบริหารหรือควบคุมการใช้เงิน รวมทั้ง อาจจะใช้จ่ายสินค้าและบริการอย่างฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นได้ง่าย 

ดังนั้น Cashless Society จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนควรให้ความสนใจ และปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น 

การอยู่ในสังคมไร้เงินสดอาจจะไม่ได้เรื่องใหม่สำหรับผู้คนในยุคนี้อีกต่อไป เพราะมันมอบความสะดวกสบายให้กับเราได้ในหลายๆ ด้าน นอกจากที่คุณจะต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและระบบแล้ว ดูเหมือนว่า กระแสของสังคมไร้เงินสด ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เทรนด์เท่านั้นแล้วล่ะ แต่เป็นสังคมที่กำลังจะเกิดขึ้นจริงๆ และยิ่งทรงพลังมากขึ้นเรื่อยๆ จนเบียดกระแสการใช้เงินสดให้ต้องลดลงเรื่อยๆ แบบจริงจัง อยู่ที่คุณแล้วล่ะ ที่จะต้องควบคุมในเรื่องการจับจ่ายใช้สอยให้จงดี และจงจำไว้เสมอว่า แม้จะไม่ได้ใช้เงินสดจริงๆ แต่การใช้ก็ยังคงเป็นเงินของคุณจริงๆ อยู่นั่นเอง จงปรับตัวให้เท่าทันเทคโนโลยี และเรียนรู้ที่จะใช้มันอย่างถูกต้องและปลอดภัย

ว่าแต่ ตอนนี้… ใครกำลังซื้อของออนไลน์กันอยู่บ้างล่ะ!! ตาวิเศษเห็นนะ!! 





ที่มา
https://xtraincy.com/archives/13258
https://www.foodstory.co/blog/cashless-society

ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น

"โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น"
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)