“3 เทรนด์อาหารโลก” ที่ผู้ประกอบการควรต้องรู้
ด้วยสถานการณ์ความเป็นไปของโลก การมาของ Covid19 ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมการบริโภคของคนก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย ความต้องการ...อาหารที่เคยเป็นแค่เพียงปัจจัย 4 ก็เปลี่ยนไปตามใช้ชีวิตที่หลากหลายขึ้น อาหารที่ไม่ได้เป็นแค่อาหารอีกต่อไป…. เทรนด์ที่กำลังเป็นกระแสอาหารโลก กำลังมุ่งไปทางใด 3 เทรนด์อาหารโลก สามารถนำมาปรับ ต่อยอดสำหรับธุรกิจของคุณได้บ้างหรือไม่ ลองหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน
เทรนด์สำคัญที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจการให้บริการด้านอาหารทั่วโลก
ผู้ประกอบการต้องปรับตัวรับเทรนด์ผู้บริโภคแนวใหม่ โดยบริษัทวิจัยการตลาดระดับโลก ที่ชื่อ มินเทล (Mintel) บอกไว้ว่า 3 เทรนด์อาหารสำคัญนั้นก็คือ
1.จิตใจที่เต็มอิ่ม
2.คุณภาพที่ต้องเปลี่ยนโฉม
3. อาหารสำหรับคนแนวเดียวกัน
1. Mind Fullfillment หรือ จิตใจที่เต็มอิ่ม นั้นจะพบว่า นับจากปีนี้ไป แนวโน้มของธุรกิจบริการด้านอาหารหรือธุรกิจอาหารจะเคลื่อนไปตาม กระแสชีวจิต ซึ่งคือ การมีความสุขสมบูรณ์ทั้งกายและใจ โดยยึดวิธีปฏิบัติและความคิดในแนวธรรมชาติเป็นหลัก และการมุ่งสร้างสุขภาพกายและใจ โดยใช้อาหารสุขภาพเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงธรรมชาติ และอาหารชีวจิต ก็หมายถึง อาหารชั้นเดียว หรืออาหารที่คงสภาพตามธรรมชาติไว้มากที่สุด ไม่ผ่านการปรุงแต่งมากนัก ยังคงรสชาติเดิมๆ ของวัตถุดิบอยู่ โดยจะผ่านการนำเสนอรูปแบบผลิตภัณฑ์และสูตรอาหารที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด
เพราะคาดว่า เมื่อโควิด-19 ลดลง สังคมเริ่มฟื้นตัว คนจะปรับพฤติกรรมการบริโภค โดยเริ่มหันมาสนใจการรับประทานอาหารอย่างมีสติ และศึกษาหาข้อมูลในการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงลดการบริโภคที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ส่วนผู้ประกอบการที่สามารถสนองต่อประสาทสัมผัสด้านอารมณ์ที่หลากหลาย ก็จะช่วยเสริมให้สินค้าและบริการเป็นที่นิยมมากขึ้น เรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางจิตวิทยาด้านอาหารแบบใหม่ในตลาด
ลองจับตามองอาหารชีวจิตไว้ให้จงดี เพราะโลกยุคใหม่ ผู้คนใส่ใจเรื่องสุขภาพเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กระแสแห่งชีวจิตจะช่วยให้โลกแห่งอาหาร ปรับโหมดสู่กระแสแห่งสุขภาพอย่างแท้จริง!!
2. Quality Transformation หมายถึง คุณภาพที่ต้องเปลี่ยนโฉมไป
เพราะผลการวิเคราะห์ทางการตลาดระบุว่า ผู้บริโภคแนวใหม่มองหาประสบการณ์การบริโภคแบบ Hometainment คือ หรูหรา ดูมีราคา สะดวกสบาย และมีบริการแบบถึงที่บ้านเลย และผู้บริโภคก็มีแนวโน้มที่จะเลือกสนับสนุนและใช้สินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่มีนโยบายที่เป็นธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้ความสำคัญกับอาหารเพื่อสุขภาพ และมีช่องทางการติดต่อทางสื่อออนไลน์ที่สะดวกรวดเร็วมากกว่าการติดต่อโดยตรงกับผู้ประกอบการ
และเมื่อตลาดกลับมาเปิดได้อย่างเต็มที่อีกครั้ง ก็มีการคาดการณ์ว่า วิถีการใช้ชีวิตของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไป โดยมีความคาดหวังความเนี๊ยบในการซื้อสินค้าและบริการที่สะอาด ถูกสุขอนามัย รวดเร็ว และสะดวก และเน้นการซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสมนี้เอง จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการทำงานอย่างโปร่งใสมากขึ้น
3. People with the same Tastes หมายถึง อาหารสำหรับคนที่ชอบแนวเดียวกัน
ผู้ประกอบการสามารถใช้กลยุทธ์ในการโน้มน้าวผู้บริโภค ให้เข้ามาสนใจและใช้สินค้าและบริการ โดยการโปรโมทภาพลักษณ์ให้โดดเด่น ปรับมุมมองของผู้บริโภคให้มองมาที่สินค้าฯ ของตน และเป็นอีกช่องทางที่สร้างชุมชนที่มีทัศนคติและรสนิยมคล้ายๆ กัน
วิธีที่ผู้ประกอบการจะปรับตัวเข้ากับเทรนด์ที่กำลังจะมาถึง คือ การทำงานผ่านโซเชียลมากขึ้น สร้างชุมชนโลกออนไลน์ที่สื่อสารและช่วยเหลือผู้บริโภค และทีสำคัญคืิอ สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการทำงานผ่านโซเชียลมาวิเคราะห์สรุปผล เพื่อปรับปรุงงานของเราได้ด้วย
และเมื่อผู้บริโภคต่างก็ตระหนักถึงความสำคัญของชุมชนมากขึ้น โดยแต่ละคนต่างก็มองหา และสร้างสัมพันธ์กับกลุ่มคนที่มีทัศนคติ รสนิยมคล้ายกัน ผู้ประกอบการฯ จึงควรใช้ข้อได้เปรียบของตนเองในการดึงดูดลูกค้าที่มีรสนิยมตามแบบที่เป็นเอกลักษณ์ และแตกต่างของตนเอง และเมื่อมีคนที่มีรสนิยมเดียวกันอยู่ร่วมกัน ก็จะเป็นการขยายฐานผู้บริโภคอีกด้วย
เมื่อเราทราบถึง เทรนด์ที่กำลังมาว่า ผู้คนกำลังปรับเพื่อสอดรับกับกระแส อันเกิดจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป และสถานการณ์ของ Covid-19 ที่เกิดขึ้นแล้ว ลองมองหาโอกาส และนำไปปรับหรือสร้างอาชีพใหม่ๆ กันต่อไป เพราะโลกของอาหารยังมีที่ว่างสำหรับคนที่ก้าวทันกระแส เท่าทันเทรนด์เสมอ….
เทรนด์สำคัญที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจการให้บริการด้านอาหารทั่วโลก
ผู้ประกอบการต้องปรับตัวรับเทรนด์ผู้บริโภคแนวใหม่ โดยบริษัทวิจัยการตลาดระดับโลก ที่ชื่อ มินเทล (Mintel) บอกไว้ว่า 3 เทรนด์อาหารสำคัญนั้นก็คือ
1.จิตใจที่เต็มอิ่ม
2.คุณภาพที่ต้องเปลี่ยนโฉม
3. อาหารสำหรับคนแนวเดียวกัน
1. Mind Fullfillment หรือ จิตใจที่เต็มอิ่ม นั้นจะพบว่า นับจากปีนี้ไป แนวโน้มของธุรกิจบริการด้านอาหารหรือธุรกิจอาหารจะเคลื่อนไปตาม กระแสชีวจิต ซึ่งคือ การมีความสุขสมบูรณ์ทั้งกายและใจ โดยยึดวิธีปฏิบัติและความคิดในแนวธรรมชาติเป็นหลัก และการมุ่งสร้างสุขภาพกายและใจ โดยใช้อาหารสุขภาพเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงธรรมชาติ และอาหารชีวจิต ก็หมายถึง อาหารชั้นเดียว หรืออาหารที่คงสภาพตามธรรมชาติไว้มากที่สุด ไม่ผ่านการปรุงแต่งมากนัก ยังคงรสชาติเดิมๆ ของวัตถุดิบอยู่ โดยจะผ่านการนำเสนอรูปแบบผลิตภัณฑ์และสูตรอาหารที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด
เพราะคาดว่า เมื่อโควิด-19 ลดลง สังคมเริ่มฟื้นตัว คนจะปรับพฤติกรรมการบริโภค โดยเริ่มหันมาสนใจการรับประทานอาหารอย่างมีสติ และศึกษาหาข้อมูลในการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงลดการบริโภคที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ส่วนผู้ประกอบการที่สามารถสนองต่อประสาทสัมผัสด้านอารมณ์ที่หลากหลาย ก็จะช่วยเสริมให้สินค้าและบริการเป็นที่นิยมมากขึ้น เรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางจิตวิทยาด้านอาหารแบบใหม่ในตลาด
ลองจับตามองอาหารชีวจิตไว้ให้จงดี เพราะโลกยุคใหม่ ผู้คนใส่ใจเรื่องสุขภาพเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กระแสแห่งชีวจิตจะช่วยให้โลกแห่งอาหาร ปรับโหมดสู่กระแสแห่งสุขภาพอย่างแท้จริง!!
2. Quality Transformation หมายถึง คุณภาพที่ต้องเปลี่ยนโฉมไป
เพราะผลการวิเคราะห์ทางการตลาดระบุว่า ผู้บริโภคแนวใหม่มองหาประสบการณ์การบริโภคแบบ Hometainment คือ หรูหรา ดูมีราคา สะดวกสบาย และมีบริการแบบถึงที่บ้านเลย และผู้บริโภคก็มีแนวโน้มที่จะเลือกสนับสนุนและใช้สินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่มีนโยบายที่เป็นธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้ความสำคัญกับอาหารเพื่อสุขภาพ และมีช่องทางการติดต่อทางสื่อออนไลน์ที่สะดวกรวดเร็วมากกว่าการติดต่อโดยตรงกับผู้ประกอบการ
และเมื่อตลาดกลับมาเปิดได้อย่างเต็มที่อีกครั้ง ก็มีการคาดการณ์ว่า วิถีการใช้ชีวิตของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไป โดยมีความคาดหวังความเนี๊ยบในการซื้อสินค้าและบริการที่สะอาด ถูกสุขอนามัย รวดเร็ว และสะดวก และเน้นการซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสมนี้เอง จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการทำงานอย่างโปร่งใสมากขึ้น
3. People with the same Tastes หมายถึง อาหารสำหรับคนที่ชอบแนวเดียวกัน
ผู้ประกอบการสามารถใช้กลยุทธ์ในการโน้มน้าวผู้บริโภค ให้เข้ามาสนใจและใช้สินค้าและบริการ โดยการโปรโมทภาพลักษณ์ให้โดดเด่น ปรับมุมมองของผู้บริโภคให้มองมาที่สินค้าฯ ของตน และเป็นอีกช่องทางที่สร้างชุมชนที่มีทัศนคติและรสนิยมคล้ายๆ กัน
วิธีที่ผู้ประกอบการจะปรับตัวเข้ากับเทรนด์ที่กำลังจะมาถึง คือ การทำงานผ่านโซเชียลมากขึ้น สร้างชุมชนโลกออนไลน์ที่สื่อสารและช่วยเหลือผู้บริโภค และทีสำคัญคืิอ สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการทำงานผ่านโซเชียลมาวิเคราะห์สรุปผล เพื่อปรับปรุงงานของเราได้ด้วย
และเมื่อผู้บริโภคต่างก็ตระหนักถึงความสำคัญของชุมชนมากขึ้น โดยแต่ละคนต่างก็มองหา และสร้างสัมพันธ์กับกลุ่มคนที่มีทัศนคติ รสนิยมคล้ายกัน ผู้ประกอบการฯ จึงควรใช้ข้อได้เปรียบของตนเองในการดึงดูดลูกค้าที่มีรสนิยมตามแบบที่เป็นเอกลักษณ์ และแตกต่างของตนเอง และเมื่อมีคนที่มีรสนิยมเดียวกันอยู่ร่วมกัน ก็จะเป็นการขยายฐานผู้บริโภคอีกด้วย
เมื่อเราทราบถึง เทรนด์ที่กำลังมาว่า ผู้คนกำลังปรับเพื่อสอดรับกับกระแส อันเกิดจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป และสถานการณ์ของ Covid-19 ที่เกิดขึ้นแล้ว ลองมองหาโอกาส และนำไปปรับหรือสร้างอาชีพใหม่ๆ กันต่อไป เพราะโลกของอาหารยังมีที่ว่างสำหรับคนที่ก้าวทันกระแส เท่าทันเทรนด์เสมอ….
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)