ภาวะการอุดตัน Writer’s block
Photo by Steve Johnson on Unsplash
ในยุคที่อะไรๆ ก็กลายเป็น Content หรือเนื้อหาสาระได้ เพราะ Content is King ยิ่งสร้าง Content ได้ไว คิดก่อน หาข้อมูลก่อน รวมรวม เรียบเรียง สร้างสรรค์ก่อน ถึงจะกลายมาเป็น Content ที่สมบูรณ์ได้ ใครสร้าง Content ได้เสร็จไว คนนั้นจะยิ่งได้เปรียบ นอกเหนือจาก
สปีดที่ไว แรง และเร็วแล้ว สิ่งที่สำคัญคือ Content ต้องถูกต้องและแม่นยำด้วย
ด้วยความที่เราต้องคอยทำงานแข่งกับเวลาไปด้วยแบบนี้ แน่นอนว่า การสร้าง Content ในบางช่วงเวลา ก็มักจะประสบกับภาวะ Writer’s block ได้เหมือนกัน ทำให้เราต้องเสียเวลามาก นักเขียนจึงต้องออกหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ เพื่อสร้าง Content ที่สมบูรณ์ที่สุดในแต่ละชิ้น
Writer’s block เกิดจากอะไร
ภาวะ Writer’s block นั้นเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเกิดจากสภาวการณ์ภายนอกที่ตัวเราเองจะไม่สามารถควบคุมได้ ที่ส่งผลทำให้เราเกิดสภาวะทางจิตภายในของเราเอง เช่นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรงที่แพร่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกๆ ด้านของชีวิต เกิดการสูญเสียอย่างมากมายมหาศาล ประเมินค่าการสูญเสียไม่ได้ รวมไปถึงการเสียชีวิตของผู้คน ที่เราจะรู้จักหรือไม่ก็ตาม ทำให้เครียด กดดัน หดหู่ อ่านข่าวเสาะหาข้อมูล เสพเนื้อหาแต่เรื่องราวดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ดิ่งดำลงไปในห้วงของความหมองหม่น และมืดแปดด้าน ในบางรายหากต้องกักตัวอยู่บ้าน ผู้คนอีกจำนวนมากที่จำเป็นต้องหาเช้า กินค่ำ ก็ยิ่งต้องดิ้นรนกันยกใหญ่ ไม่สามารถ work from home ได้ มีความจำเป็นต้องออกนอกบ้านเพื่อประกอบอาชีพ นี่ยังไม่นับรวมเศรษฐกิจที่ถดถอย จนภาวะ Writer’s block กลายเป็นเรื่องเล็กในพริบตาเลยทีเดียว
แต่เมื่อมีปัญหา ต้องหาทางออก
เมื่อมีภาวะการอุดตันทางการเขียนนั้น เกิดจากการขาดแรงบันดาลใจ อารมณ์ที่แปรปรวน เคว้ง ว่างเปล่า ในเมื่อเรารู้ตัวว่ากำลังประสบกับภาวะการเขียนไม่ออกไปต่อไม่ถูก เราจะมีวิธีอะไรบ้างที่จะทำให้เราปลดล็อค หรือผ่านจุดบอดของเราตรงนี้ไปได้บ้าง เพราะหากไม่ส่งบทความ งานเขียน หรือโครงการที่ร่างอยู่ ผลงานก็จะไม่ได้ตามเป้าที่วางแผนไว้ บางรายอาจจะไม่ได้รับเงินค่าตอบแทนจากการเขียนเพื่ออยู่รอดต่อไปในยุคนี้ก็เป็นได้
เรามาส่องปัญหาและทางออกง่าย ๆ เพื่อที่จะฟื้นฟู และ Say Goodbye กับภาวะ Writer’s block กันเลยดีกว่า
1. ปัญหา คือ คุณมีไอเดียน้อยเกินไป
การคิดวนๆ อยู่กับที่ เป็นวงกลม และการมีข้อมูล หรือไอเดียน้อยเกินไป ไม่ทำให้คุณก้าวไปข้างหน้าได้ การขาดข้อมูลสำหรับโปรเจ็กต์ถัดไปก็เช่นกัน คุณอาจไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า คุณมีไอเดียอะไร หรือไร้ความคิดใหม่ๆ ทำให้ออกแบบสิ่งที่จะเขียนต่อไปไม่ถูก ไม่รู้จะไปในทิศทางใด ก็ยังคงคิดเป็นวงกลมวนไปเช่นเดิมจนถึงตอนนี้
วิธีแก้ไข คือ ให้ยอมรับว่า การคิดเชิงลึก คิดซับซ้อนนั้น ไม่สามารถทำให้คิดงานออกได้ และการคิดไม่ออก เขียนไม่ออกนั้น เป็นเรื่องปกติที่ยอมรับได้ หากเกิดภาวะนี้ ขอให้ลองหยิบกระดาษแผ่นหนึ่งมา แล้วลองเขียน ลองโยนไอเดียเรื่องหัวข้อที่อยากเขียนลงบนหัวกระดาษ อาทิ 10 ไอเดียยอดแย่สำหรับงานที่คุณกำลังตันอยู่กับที่ หรือ 10 ไอเดียยอดแย่สำหรับบทความ / บทละคร / คำโปรย หรือโครงการ เป็นต้น แล้วมาดูกันว่าหลังคุณจัดการเขียนลงไปทีละข้อเสร็จแล้ว คุณได้ไอเดียใหม่ๆ เพิ่มเติมบ้างหรือไม่
จากนั้น ลองหยิบกระดาษแผ่นใหม่ขึ้นมาแล้วเขียนหัวข้อเรื่อง 10 ไอเดียยอดแย่กว่าเดิม สำหรับงานของคุณอีกสักครั้ง ตอนนี้ คุณอาจจะมีไอเดียพรั่งพรูเต็มไปหมด ซึ่งพอได้อ่านทบทวนดู มันอาจจะไม่ได้ยอดแย่อย่างที่เขียนไว้ก็เป็นได้นะ เพราะขณะที่คุณได้วิเคราะห์คำตอบแต่ละข้อ แล้วเขียนมันออกไปนั้น คุณเองก็จะได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ในคำตอบแต่ละข้อด้วยเช่นกัน!!
หลังจากนั้น ให้เวลากับตัวเองได้จดบันทึกว่า อะไรที่ทำให้คุณกังวลหรือ เครียด หรือรู้สึกกลัวที่จะเขียนบ้าง เป็นการ Visualize หรือทำให้ความคิดของคุณนั้นออกมาเป็นรูปธรรม มองเห็นด้วยตาบนกระดาษได้นั้นเอง การได้เห็นสิ่งที่กวนใจหรือกังวล และได้ถูกเขียนลงมาบนกระดาษ จะทำให้เราสามารถทำให้ความกลัว ความกังวลนั้นลดน้อยลงได้
ผลลัพธ์ที่คุณจะพบคือ คุณจะได้ไอเดียแปลกใหม่ บางครั้ง อาจจะเรียกว่าเกินความคาดหมายเลยก็อาจเป็นไปได้ จากตั้งโจทย์ เลือกหัวข้อ และได้วิเคราะห์คำตอบจากการเขียน 20 ไอเดียยอดแย่และแย่ยิ่งกว่ารวมกันข้างต้น สามารถพาคุณออกจากกรอบเดิมๆ ที่ปลดล็อคไอเดียไว้ได้
ซึ่งในกรอบการเขียนแบบเดิมๆ ไอเดียเดิมๆ คุณจะเหมือนได้ออกไปท่องในโลกที่หลากหลายมากกว่าเดิม ได้ฝึกจิตนาการ สร้างไอเดียได้ดีขึ้นกว่าเดิม แถมยังได้รู้จักตัวเองมากขึ้นอีกด้วย คุณเหมือนได้ถูกปลดปล่อยและกล้าผจญภัยในวิธีการเขียนของคุณมากขึ้น ลองเป็นผู้กล้าที่จะหยิบปากกา อาวุธของคุณขึ้นมาดูสิ… แล้วลองมาดูกันว่า หลังจากคุณได้ปลดล็อคในความคิดเหล่านี้แล้ว คุณกล้าที่จะเขียนแหวกแนวออกไปจากเดิมเพียงใด ลองดูสิ ว่า สิ่งนี้จะพาคุณไปถึงจุดใด และนี่คือความท้าทาย!!
อย่างน้อย คุณก็ได้สร้างแรงเคลื่อนไหว momentum ขึ้นมาแล้ว ขอเพียงกล้าที่จะไม่ได้หยุดอยู่กับที่ เริ่มจากตรงไหน เมื่อไหร่ก็ได้นะ หัวใจสำคัญก็ คือตัวคุณเอง
Photo by Steve Johnson on Unsplash
2. ปัญหา คือ คุณมีไอเดียเยอะเกินไป
ไอเดียเยอะแยะมากมาย หลั่งไหลพรั่งพรู มากมายไม่รู้จบ จับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร เลยไม่ได้เริ่มสักที ปัญหาก็คือเริ่มไม่ได้ ไม่รู้จะหยิบยกไอเดียที่เจ๋งที่สุดออกมาได้อย่างไร แม้กระทั่งการที่ค่อยๆ ปล่อยไอเดียเด็ดๆ ออกมาทีละนิด ก็ยังกลัว ซึ่งความกลัวคือ อาการที่บล็อคความคิดของคุณ และเป็นศัตรูร้ายกาจทีสุด กลัวไปหมด กลัวว่า เราจะไปหยิบใช้ไอเดียผิดหรือประเด็นที่ไม่ใช่ขึ้นมานำเสนอ
วิธีแก้ไข คือ ให้คุณได้ลองฝึกสังเกตและจินตนาการกับสถานการณ์บางอย่าง เช่น ให้คุณจินตนาการลองเป็นแพทย์ประจำห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง โดยการจินตนาการว่า หากมีสถานการณ์ที่คุณต้องรับมือกับ ผู้ป่วยที่หลั่งไหลเข้ามายามค่ำคืน แล้วโจทย์คือ ให้คัดแยกผู้ป่วยเหล่านั้นเป็น 3 สีตามความหนัก-เบาของอาการผู้ป่วย
สีแดง : ผู้ป่วยขั้นวิกฤติ ต้องได้รับการดูแลเยียวยาจากหมอเป็นอันดับแรก
สีเหลือง : ผู้ป่วยที่ไม่ถึงขั้นวิกฤติ ต้องเฝ้าระวังอาการไม่ให้ลุกลามหนักหนา
สีเขียว : ผู้ป่วยที่อาการไม่หนัก รอหมอได้ แต่ก็ควรได้รับการรักษา
จากนั้น ให้คุณลองเชียนไอเดียเหล่านี้ลงกระดาษ และให้ใช้การวิเคราะห์ตามจริตนักเขียนของคุณ โดยลองคัดเลือกไอเดียที่ใช่ที่สุดสำหรับคุณตามลำดับ โดยให้ถามตัวเองดูว่า ไอเดียใดยังสามารถรอคอยได้ตามสถานการณ์ วัน เวลาได้อยู่ โดยไม่กระทบและสร้างความกดดันให้กับคุณ ในภายหลัง เรื่องใด ไอเดียใด ใช่ และโดน สมควรที่จะผลักดันผลงานให้ออกไปทันทีในตอนนี้
ไอเดียที่ใช่ ชิ้นใดกันแน่ ที่ใช่สำหรับตอนนี้ นาทีนี้ คุณจงใช้ไอเดียที่ใช่นั้นแสดงตัวตนและสิ่งที่คุณมองเห็น และสร้าง Content และถ่ายทอดมันออกมาทันทีให้เหมาะกับ สถานการณ์ วันและเวลาที่วางแผนไว้
3. ปัญหา คือ คุณมีหลายสิ่งยั่วเย้าแย่งชิงเวลาจนหมดไป
ชีวิตคนเรามักจะประสบกับปัญหาไม่มีสิ้นสุด ทั้งหนัก และเบา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรล้วนกระทบกับตัวเราเสมอ ไม่ว่าจะเป็น ภาระหน้าที่การดูแลครอบครัว การเรียน การงาน การเงิน เพื่อน ความรัก หรืออะไรก็ตามที่สูบพลังจากคุณไป เราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ ล้วนทำให้เกิดภาวะ Writer’s block ให้คุณได้ทั้งนั้น
วิธีแก้ไข คือ การจัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคุณ จงลำดับความสำคัญก่อน หลัง การบริหารจัดการที่ดีจะนำพาความลื่นไหลให้กลับมาบนหน้ากระดาษของคุณอีกครั้ง
ให้ตั้งคำถามกับตัวเองว่า “อะไรเป็นไปได้บ้าง?” อะไรคือความเป็นได้ของสิ่งที่จะทำบ้าง โดยคุณไม่จำเป็นต้องหาทางออกจนเจอทั้งหมด ทุกอย่างอาจจะต้องใช้เวลา คุณเพียงแค่เดินตรงไปข้างหน้า อย่าลืมว่า การพัฒนาเปลี่ยนแปลงคือกระบวนการ ไม่ใช่การก้าวกระโดด
ให้ถามอีกหนึ่งคำถามง่ายๆ กับตัวเองว่า “ถ้าหากมันง่ายนิดเดียวล่ะ?” เพราะผู้คนมักจะคิดว่า สิ่งที่จะทำนั้น มันยาก ยากแน่นอน ยากที่สุด แต่แท้จริงแล้ว อาจจะง่ายจนคุณลืมไปด้วยซ้ำว่า ทำไมคุณถึงคิดว่า มันจะยากในตอนแรกที่ยังไม่เริ่มด้วยซ้ำไป การมุ่งไปยังเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วยความแน่วแน่จะทำให้คุณลืมด้วยว่ามันยาก ท่องไว้ ทุกเรื่องเป็นเรื่องง่ายๆ ได้
นี่คือทั้งหมดของปัญหาจากภาวะ Writer’s block ซึ่งเกิดขึ้นได้เป็นระยะๆ เพียงแค่คุณต้องฝึกฝน สร้างทักษะใหม่ๆ อยู่เสมอ ก็จะทำให้คุณหาทางออกได้เรื่อยๆ และมีไอเดียในเรื่องใหม่ๆ เพื่อ Content ที่สมกับการรอคอย
วันนี้เขียนเรื่องอะไรกันดี?
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.writermag.com
ในยุคที่อะไรๆ ก็กลายเป็น Content หรือเนื้อหาสาระได้ เพราะ Content is King ยิ่งสร้าง Content ได้ไว คิดก่อน หาข้อมูลก่อน รวมรวม เรียบเรียง สร้างสรรค์ก่อน ถึงจะกลายมาเป็น Content ที่สมบูรณ์ได้ ใครสร้าง Content ได้เสร็จไว คนนั้นจะยิ่งได้เปรียบ นอกเหนือจาก
สปีดที่ไว แรง และเร็วแล้ว สิ่งที่สำคัญคือ Content ต้องถูกต้องและแม่นยำด้วย
ด้วยความที่เราต้องคอยทำงานแข่งกับเวลาไปด้วยแบบนี้ แน่นอนว่า การสร้าง Content ในบางช่วงเวลา ก็มักจะประสบกับภาวะ Writer’s block ได้เหมือนกัน ทำให้เราต้องเสียเวลามาก นักเขียนจึงต้องออกหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ เพื่อสร้าง Content ที่สมบูรณ์ที่สุดในแต่ละชิ้น
Writer’s block เกิดจากอะไร
ภาวะ Writer’s block นั้นเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเกิดจากสภาวการณ์ภายนอกที่ตัวเราเองจะไม่สามารถควบคุมได้ ที่ส่งผลทำให้เราเกิดสภาวะทางจิตภายในของเราเอง เช่นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรงที่แพร่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกๆ ด้านของชีวิต เกิดการสูญเสียอย่างมากมายมหาศาล ประเมินค่าการสูญเสียไม่ได้ รวมไปถึงการเสียชีวิตของผู้คน ที่เราจะรู้จักหรือไม่ก็ตาม ทำให้เครียด กดดัน หดหู่ อ่านข่าวเสาะหาข้อมูล เสพเนื้อหาแต่เรื่องราวดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ดิ่งดำลงไปในห้วงของความหมองหม่น และมืดแปดด้าน ในบางรายหากต้องกักตัวอยู่บ้าน ผู้คนอีกจำนวนมากที่จำเป็นต้องหาเช้า กินค่ำ ก็ยิ่งต้องดิ้นรนกันยกใหญ่ ไม่สามารถ work from home ได้ มีความจำเป็นต้องออกนอกบ้านเพื่อประกอบอาชีพ นี่ยังไม่นับรวมเศรษฐกิจที่ถดถอย จนภาวะ Writer’s block กลายเป็นเรื่องเล็กในพริบตาเลยทีเดียว
แต่เมื่อมีปัญหา ต้องหาทางออก
เมื่อมีภาวะการอุดตันทางการเขียนนั้น เกิดจากการขาดแรงบันดาลใจ อารมณ์ที่แปรปรวน เคว้ง ว่างเปล่า ในเมื่อเรารู้ตัวว่ากำลังประสบกับภาวะการเขียนไม่ออกไปต่อไม่ถูก เราจะมีวิธีอะไรบ้างที่จะทำให้เราปลดล็อค หรือผ่านจุดบอดของเราตรงนี้ไปได้บ้าง เพราะหากไม่ส่งบทความ งานเขียน หรือโครงการที่ร่างอยู่ ผลงานก็จะไม่ได้ตามเป้าที่วางแผนไว้ บางรายอาจจะไม่ได้รับเงินค่าตอบแทนจากการเขียนเพื่ออยู่รอดต่อไปในยุคนี้ก็เป็นได้
เรามาส่องปัญหาและทางออกง่าย ๆ เพื่อที่จะฟื้นฟู และ Say Goodbye กับภาวะ Writer’s block กันเลยดีกว่า
1. ปัญหา คือ คุณมีไอเดียน้อยเกินไป
การคิดวนๆ อยู่กับที่ เป็นวงกลม และการมีข้อมูล หรือไอเดียน้อยเกินไป ไม่ทำให้คุณก้าวไปข้างหน้าได้ การขาดข้อมูลสำหรับโปรเจ็กต์ถัดไปก็เช่นกัน คุณอาจไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า คุณมีไอเดียอะไร หรือไร้ความคิดใหม่ๆ ทำให้ออกแบบสิ่งที่จะเขียนต่อไปไม่ถูก ไม่รู้จะไปในทิศทางใด ก็ยังคงคิดเป็นวงกลมวนไปเช่นเดิมจนถึงตอนนี้
วิธีแก้ไข คือ ให้ยอมรับว่า การคิดเชิงลึก คิดซับซ้อนนั้น ไม่สามารถทำให้คิดงานออกได้ และการคิดไม่ออก เขียนไม่ออกนั้น เป็นเรื่องปกติที่ยอมรับได้ หากเกิดภาวะนี้ ขอให้ลองหยิบกระดาษแผ่นหนึ่งมา แล้วลองเขียน ลองโยนไอเดียเรื่องหัวข้อที่อยากเขียนลงบนหัวกระดาษ อาทิ 10 ไอเดียยอดแย่สำหรับงานที่คุณกำลังตันอยู่กับที่ หรือ 10 ไอเดียยอดแย่สำหรับบทความ / บทละคร / คำโปรย หรือโครงการ เป็นต้น แล้วมาดูกันว่าหลังคุณจัดการเขียนลงไปทีละข้อเสร็จแล้ว คุณได้ไอเดียใหม่ๆ เพิ่มเติมบ้างหรือไม่
จากนั้น ลองหยิบกระดาษแผ่นใหม่ขึ้นมาแล้วเขียนหัวข้อเรื่อง 10 ไอเดียยอดแย่กว่าเดิม สำหรับงานของคุณอีกสักครั้ง ตอนนี้ คุณอาจจะมีไอเดียพรั่งพรูเต็มไปหมด ซึ่งพอได้อ่านทบทวนดู มันอาจจะไม่ได้ยอดแย่อย่างที่เขียนไว้ก็เป็นได้นะ เพราะขณะที่คุณได้วิเคราะห์คำตอบแต่ละข้อ แล้วเขียนมันออกไปนั้น คุณเองก็จะได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ในคำตอบแต่ละข้อด้วยเช่นกัน!!
หลังจากนั้น ให้เวลากับตัวเองได้จดบันทึกว่า อะไรที่ทำให้คุณกังวลหรือ เครียด หรือรู้สึกกลัวที่จะเขียนบ้าง เป็นการ Visualize หรือทำให้ความคิดของคุณนั้นออกมาเป็นรูปธรรม มองเห็นด้วยตาบนกระดาษได้นั้นเอง การได้เห็นสิ่งที่กวนใจหรือกังวล และได้ถูกเขียนลงมาบนกระดาษ จะทำให้เราสามารถทำให้ความกลัว ความกังวลนั้นลดน้อยลงได้
ผลลัพธ์ที่คุณจะพบคือ คุณจะได้ไอเดียแปลกใหม่ บางครั้ง อาจจะเรียกว่าเกินความคาดหมายเลยก็อาจเป็นไปได้ จากตั้งโจทย์ เลือกหัวข้อ และได้วิเคราะห์คำตอบจากการเขียน 20 ไอเดียยอดแย่และแย่ยิ่งกว่ารวมกันข้างต้น สามารถพาคุณออกจากกรอบเดิมๆ ที่ปลดล็อคไอเดียไว้ได้
ซึ่งในกรอบการเขียนแบบเดิมๆ ไอเดียเดิมๆ คุณจะเหมือนได้ออกไปท่องในโลกที่หลากหลายมากกว่าเดิม ได้ฝึกจิตนาการ สร้างไอเดียได้ดีขึ้นกว่าเดิม แถมยังได้รู้จักตัวเองมากขึ้นอีกด้วย คุณเหมือนได้ถูกปลดปล่อยและกล้าผจญภัยในวิธีการเขียนของคุณมากขึ้น ลองเป็นผู้กล้าที่จะหยิบปากกา อาวุธของคุณขึ้นมาดูสิ… แล้วลองมาดูกันว่า หลังจากคุณได้ปลดล็อคในความคิดเหล่านี้แล้ว คุณกล้าที่จะเขียนแหวกแนวออกไปจากเดิมเพียงใด ลองดูสิ ว่า สิ่งนี้จะพาคุณไปถึงจุดใด และนี่คือความท้าทาย!!
อย่างน้อย คุณก็ได้สร้างแรงเคลื่อนไหว momentum ขึ้นมาแล้ว ขอเพียงกล้าที่จะไม่ได้หยุดอยู่กับที่ เริ่มจากตรงไหน เมื่อไหร่ก็ได้นะ หัวใจสำคัญก็ คือตัวคุณเอง
Photo by Steve Johnson on Unsplash
2. ปัญหา คือ คุณมีไอเดียเยอะเกินไป
ไอเดียเยอะแยะมากมาย หลั่งไหลพรั่งพรู มากมายไม่รู้จบ จับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร เลยไม่ได้เริ่มสักที ปัญหาก็คือเริ่มไม่ได้ ไม่รู้จะหยิบยกไอเดียที่เจ๋งที่สุดออกมาได้อย่างไร แม้กระทั่งการที่ค่อยๆ ปล่อยไอเดียเด็ดๆ ออกมาทีละนิด ก็ยังกลัว ซึ่งความกลัวคือ อาการที่บล็อคความคิดของคุณ และเป็นศัตรูร้ายกาจทีสุด กลัวไปหมด กลัวว่า เราจะไปหยิบใช้ไอเดียผิดหรือประเด็นที่ไม่ใช่ขึ้นมานำเสนอ
วิธีแก้ไข คือ ให้คุณได้ลองฝึกสังเกตและจินตนาการกับสถานการณ์บางอย่าง เช่น ให้คุณจินตนาการลองเป็นแพทย์ประจำห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง โดยการจินตนาการว่า หากมีสถานการณ์ที่คุณต้องรับมือกับ ผู้ป่วยที่หลั่งไหลเข้ามายามค่ำคืน แล้วโจทย์คือ ให้คัดแยกผู้ป่วยเหล่านั้นเป็น 3 สีตามความหนัก-เบาของอาการผู้ป่วย
สีแดง : ผู้ป่วยขั้นวิกฤติ ต้องได้รับการดูแลเยียวยาจากหมอเป็นอันดับแรก
สีเหลือง : ผู้ป่วยที่ไม่ถึงขั้นวิกฤติ ต้องเฝ้าระวังอาการไม่ให้ลุกลามหนักหนา
สีเขียว : ผู้ป่วยที่อาการไม่หนัก รอหมอได้ แต่ก็ควรได้รับการรักษา
จากนั้น ให้คุณลองเชียนไอเดียเหล่านี้ลงกระดาษ และให้ใช้การวิเคราะห์ตามจริตนักเขียนของคุณ โดยลองคัดเลือกไอเดียที่ใช่ที่สุดสำหรับคุณตามลำดับ โดยให้ถามตัวเองดูว่า ไอเดียใดยังสามารถรอคอยได้ตามสถานการณ์ วัน เวลาได้อยู่ โดยไม่กระทบและสร้างความกดดันให้กับคุณ ในภายหลัง เรื่องใด ไอเดียใด ใช่ และโดน สมควรที่จะผลักดันผลงานให้ออกไปทันทีในตอนนี้
ไอเดียที่ใช่ ชิ้นใดกันแน่ ที่ใช่สำหรับตอนนี้ นาทีนี้ คุณจงใช้ไอเดียที่ใช่นั้นแสดงตัวตนและสิ่งที่คุณมองเห็น และสร้าง Content และถ่ายทอดมันออกมาทันทีให้เหมาะกับ สถานการณ์ วันและเวลาที่วางแผนไว้
3. ปัญหา คือ คุณมีหลายสิ่งยั่วเย้าแย่งชิงเวลาจนหมดไป
ชีวิตคนเรามักจะประสบกับปัญหาไม่มีสิ้นสุด ทั้งหนัก และเบา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรล้วนกระทบกับตัวเราเสมอ ไม่ว่าจะเป็น ภาระหน้าที่การดูแลครอบครัว การเรียน การงาน การเงิน เพื่อน ความรัก หรืออะไรก็ตามที่สูบพลังจากคุณไป เราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ ล้วนทำให้เกิดภาวะ Writer’s block ให้คุณได้ทั้งนั้น
วิธีแก้ไข คือ การจัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคุณ จงลำดับความสำคัญก่อน หลัง การบริหารจัดการที่ดีจะนำพาความลื่นไหลให้กลับมาบนหน้ากระดาษของคุณอีกครั้ง
ให้ตั้งคำถามกับตัวเองว่า “อะไรเป็นไปได้บ้าง?” อะไรคือความเป็นได้ของสิ่งที่จะทำบ้าง โดยคุณไม่จำเป็นต้องหาทางออกจนเจอทั้งหมด ทุกอย่างอาจจะต้องใช้เวลา คุณเพียงแค่เดินตรงไปข้างหน้า อย่าลืมว่า การพัฒนาเปลี่ยนแปลงคือกระบวนการ ไม่ใช่การก้าวกระโดด
ให้ถามอีกหนึ่งคำถามง่ายๆ กับตัวเองว่า “ถ้าหากมันง่ายนิดเดียวล่ะ?” เพราะผู้คนมักจะคิดว่า สิ่งที่จะทำนั้น มันยาก ยากแน่นอน ยากที่สุด แต่แท้จริงแล้ว อาจจะง่ายจนคุณลืมไปด้วยซ้ำว่า ทำไมคุณถึงคิดว่า มันจะยากในตอนแรกที่ยังไม่เริ่มด้วยซ้ำไป การมุ่งไปยังเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วยความแน่วแน่จะทำให้คุณลืมด้วยว่ามันยาก ท่องไว้ ทุกเรื่องเป็นเรื่องง่ายๆ ได้
นี่คือทั้งหมดของปัญหาจากภาวะ Writer’s block ซึ่งเกิดขึ้นได้เป็นระยะๆ เพียงแค่คุณต้องฝึกฝน สร้างทักษะใหม่ๆ อยู่เสมอ ก็จะทำให้คุณหาทางออกได้เรื่อยๆ และมีไอเดียในเรื่องใหม่ๆ เพื่อ Content ที่สมกับการรอคอย
วันนี้เขียนเรื่องอะไรกันดี?
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.writermag.com
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)