How to ทิ้ง ตัดใจทิ้งของไม่ให้บ้านรก
ไหนบ้านใครรก ยกมือขึ้น!!
หลายคนน่าจะประสบปัญหาคล้ายๆ กันคือ พ่อ แม่ ลุง ป้า ที่บ้าน หรือตัวเรานี่ล่ะ ที่ไม่ยอมทิ้งของง่ายๆ แต่ชอบ “เก็บ” จนบ้านรกไปหมด ข้ออ้างคือ ตัดใจไม่ลง เสียดาย หรือ ไม่รู้จะทิ้งอันไหนไปดี เลยตัดสินใจเก็บไว้ก่อน จนสุดท้าย เก็บจนลืม ปัญหาบ้านรก ก็ยากที่จะจัดการและรับมือทำให้บ้านของเราสะอาดเรียบร้อย ดูโล่ง โปร่งสบาย เหมือนที่มันควรจะเป็นได้เลย
วันนี้เราจึงนำเอาเทคนิคง่ายๆ เล่นๆ แต่ทำได้จริง ใน How to ทิ้ง ตัดใจทิ้งของไม่ให้บ้านรกมาฝาก เช็คด่วนว่าคุณมีสิ่งของที่ควร “ทิ้ง” มากน้อยแค่ไหน รู้แล้วก็รีบกลับไปจัดการของที่ควรทิ้งที่บ้านกันนะ
1. เสื้อผ้าเก่า : มาเริ่มจากการรื้อตู้เสื้อผ้ากัน คุณมีเสื้อผ้าเก่าๆ ที่ไม่ใช้เกินกว่า 10 ปีแล้วบ้างหรือไม่ เพียงตัดใจคัดแยกเสื้อผ้าเก่าออกเป็น 3 กอง ดังนี้
Photo by Sarah Brown on Unsplash
2. คูปองและใบเสร็จต่างๆ : ตรวจสอบเหล่าคูปองและใบเสร็จต่างๆ ในกระเป๋าเงิน หากพบว่า มีคูปองที่หมดอายุแล้ว ก็ทิ้งได้เลย ไม่ต้องเก็บรกกระเป๋าอีกต่อไป ส่วนใบเสร็จต่างๆ อาทิ ใบเสร็จรับเงินจากการใช้บัตรเครดิต เมื่อคุณได้บันทึกยอด หรือจดค่าใช้จ่ายเรียบร้อยแล้ว ก็ควรรวบรวมและทิ้งไป ควรเคลียร์กระเป๋าเงินเป็นประจำเป็นรายสัปดาห์ หรือ รายเดือน
Photo by Michael Walter on Unsplash
3. อาหารเหลือ : หลายบ้านเจอปัญหาเดียวกันนี้ เพราะซื้อของเข้าตู้เย็นทุกวัน โดยไม่มีการเช็ควันหมดอายุและหมุนเวียนอาหารเดิมเลย บ่อยครั้งที่ซื้ออาหารมามากจนเกินจะกินได้หมดใน 1 วัน จึงเกิดปัญหาอาหารเหลือค้างคืน ด้วยความเสียดาย จึงเก็บต่อไปเรื่อยๆ สุดท้ายกลายเป็น วัตถุโบราณ หรือ อาหารหมดอายุคาตู้เย็น ขอให้หมั่นตรวจเช็คตู้เย็น และคัดแยกอาหารเหลือและหมดอายุเป็นรายสัปดาห์ และทำการกำจัดออกจากตู้เพื่อสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี
4. เครื่องสำอาง : ทุกบ้านมักจะมีเครื่องสำอางหมดอายุ อย่างน้อย 1 ชิ้น และมักจะเสียดาย ไม่กล้าตัดใจทิ้งไป ขอให้จำไว้ว่า การใช้เครื่องสำอางหมดอายุแล้ว อาจจะได้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่คุ้มเสีย ควรตัดใจทิ้งก่อนหน้าสวยๆ จะพังไปซะก่อน
Photo by Johanne Kristensen on Unsplash
5. ของชำรุด : ตรวจสอบว่ามีของใช้ ที่แตกหัก หรือพังเสียหายจนเกินกว่าจะใช้ต่อไปได้บ้างหรือไม่ ถ้าตรวจแล้วว่าไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับมาใช้ได้ ควรตัดใจทิ้ง อาทิ เครื่องครัว ไดร์เป่าผม เป็นต้น
6. ของใช้ที่ถึงเวลาต้องเปลี่ยน : ของทุกอย่างมีอายุการใช้งานทั้งนั้น เราจึงควรปรับเปลี่ยนไปตามระยะเวลาการใช้งานจะดีที่สุด อาทิ แปรงสีฟัน หลอดไฟ แผ่นกรองอากาศ เป็นต้น
7. จาน ชามบิ่น : จานชามบิ่น อาจเกิดจากอายุการใช้งานระยะเวลายาวนาน แต่ตามความเชื่อของชาวจีน เรามักจะไม่ใช้จาน ชามที่ชำรุด แตกหัก หรือมีรอยบิ่นชัดเจน โดยแท้จริง น่าจะมาจากอาจทำให้เกิดอันตรายระหว่างใช้งานได้นั่นเอง ทางที่ดีควรสำรวจและคัดแยกจาน ชามที่ชำรุด แตกหัก มีรอยบิ่นเหล่านั้นทิ้งไป
Photo by Brooke Lark on Unsplash
8. เครื่องประดับเก่า : เครื่องประดับที่ยังมีสภาพดีอยู่ หากคิดว่า ยังไงก็คงจะไม่หยิบออกมาใช้งานแล้ว ควรนำไปบริจาคหรือมอบให้คนที่อยากได้ต่อไป หรือนำไปขายออนไลน์ เพื่อนำกำไรกลับมาบ้างก็สามารถทำได้
Photo by Karly Jones on Unsplash
9. ยาหมดอายุ : หลายบ้านมองข้ามเรื่องนี้ไปมาก คิดว่า การซื้อยาเข้าบ้านคือ จะหยิบออกมาใช้ตอนไหนก็ได้และไม่มีวันหมดอายุ ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริง เราควรตรวจเช็คอายุของยาที่บ้านอยู่เสมอ เพื่อทิ้ง หรือเก็บยาที่หมดอายุแล้วออกจากตู้ยาเพื่อไปทิ้ง ไม่ควรเสียดาย
Photo by Volodymyr Hryshchenko on Unsplash
10. หนังสือเก่า : หลายบ้านมีปัญหาร่วมกันเรื่องไม่กล้าตัดใจทิ้งหนังสือเก่าที่เก็บไว้ได้ ไม่ว่าจะจากสาเหตุใดก็ตาม หากคุณคิดว่า ไม่มีทางที่จะหยิบออกมาอ่าน การคัดแยกหนังสือเก่า แล้วนำไปบริจาคก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะสามารถนำหนังสือเก่าของเราไปให้เพื่อเป็นประโยขน์กับผู้อื่นได้ต่อไป
Photo by Tom Hermans on Unsplash
เข้าใจได้ว่า สิ่งของหลายอย่างยากเกินกว่าจะตัดใจทิ้งได้ง่ายๆ เราจะเห็นได้ว่า สิ่งของมากมายที่คนเรามักเสียดาย ไม่สามารถตัดใจทิ้งไปได้ลงนั้น ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากเป็นสิ่งของที่มีคุณค่าทางใจ บางชิ้นเป็นของที่มีคุณค่าทางความทรงจำของเรา ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องเลือกว่า จะทิ้ง หรือ จะเก็บไว้เพียงแค่ความทรงจำ
อีกไอเดียคือ คุณอาจจะเก็บข้าวของที่หวงแหนไว้ในรูปแบบของภาพถ่าย คิดถึงเมื่อใดก็หยิบมาชื่นชมได้เสมอนะ แถมได้เคลียร์บ้านให้โล่งและหายรก และข้าวของแห่งความทรงจำก็ยังคงอยู่ หวังว่า How to ทิ้งในครั้งนี้ จะไม่ต้องไม่มีใครต้องเสียน้ำตา แต่เลือกจะเคลียร์ของที่ไม่จำเป็นได้อย่างแท้จริง
ข้อมูลประกอบการเขียน
https://younghappy.com/blog/life-style/goodbye-things/
www.thaihometown.com/knowledge/5848/
หลายคนน่าจะประสบปัญหาคล้ายๆ กันคือ พ่อ แม่ ลุง ป้า ที่บ้าน หรือตัวเรานี่ล่ะ ที่ไม่ยอมทิ้งของง่ายๆ แต่ชอบ “เก็บ” จนบ้านรกไปหมด ข้ออ้างคือ ตัดใจไม่ลง เสียดาย หรือ ไม่รู้จะทิ้งอันไหนไปดี เลยตัดสินใจเก็บไว้ก่อน จนสุดท้าย เก็บจนลืม ปัญหาบ้านรก ก็ยากที่จะจัดการและรับมือทำให้บ้านของเราสะอาดเรียบร้อย ดูโล่ง โปร่งสบาย เหมือนที่มันควรจะเป็นได้เลย
วันนี้เราจึงนำเอาเทคนิคง่ายๆ เล่นๆ แต่ทำได้จริง ใน How to ทิ้ง ตัดใจทิ้งของไม่ให้บ้านรกมาฝาก เช็คด่วนว่าคุณมีสิ่งของที่ควร “ทิ้ง” มากน้อยแค่ไหน รู้แล้วก็รีบกลับไปจัดการของที่ควรทิ้งที่บ้านกันนะ
1. เสื้อผ้าเก่า : มาเริ่มจากการรื้อตู้เสื้อผ้ากัน คุณมีเสื้อผ้าเก่าๆ ที่ไม่ใช้เกินกว่า 10 ปีแล้วบ้างหรือไม่ เพียงตัดใจคัดแยกเสื้อผ้าเก่าออกเป็น 3 กอง ดังนี้
- กองที่ 1 นำไปบริจาค เพื่อส่งมอบให้กับคนที่จำเป็นต้องใช้มากกว่า
- กองที่ 2 นำไปขายเป็นเสื้อผ้ามือสอง ขายได้ทั้งแฟนเพจ Instagram และตามแอปพลิเคชันขายของทั่วไป
- กองที่ 3 นำเสื้อผ้าเก่าไปปรับบางส่วนไปไปผ้าขี้ริ้ว หรือ ผ้าเช็ดมือ เพื่อใช้งานได้ต่อไป
Photo by Sarah Brown on Unsplash
2. คูปองและใบเสร็จต่างๆ : ตรวจสอบเหล่าคูปองและใบเสร็จต่างๆ ในกระเป๋าเงิน หากพบว่า มีคูปองที่หมดอายุแล้ว ก็ทิ้งได้เลย ไม่ต้องเก็บรกกระเป๋าอีกต่อไป ส่วนใบเสร็จต่างๆ อาทิ ใบเสร็จรับเงินจากการใช้บัตรเครดิต เมื่อคุณได้บันทึกยอด หรือจดค่าใช้จ่ายเรียบร้อยแล้ว ก็ควรรวบรวมและทิ้งไป ควรเคลียร์กระเป๋าเงินเป็นประจำเป็นรายสัปดาห์ หรือ รายเดือน
Photo by Michael Walter on Unsplash
3. อาหารเหลือ : หลายบ้านเจอปัญหาเดียวกันนี้ เพราะซื้อของเข้าตู้เย็นทุกวัน โดยไม่มีการเช็ควันหมดอายุและหมุนเวียนอาหารเดิมเลย บ่อยครั้งที่ซื้ออาหารมามากจนเกินจะกินได้หมดใน 1 วัน จึงเกิดปัญหาอาหารเหลือค้างคืน ด้วยความเสียดาย จึงเก็บต่อไปเรื่อยๆ สุดท้ายกลายเป็น วัตถุโบราณ หรือ อาหารหมดอายุคาตู้เย็น ขอให้หมั่นตรวจเช็คตู้เย็น และคัดแยกอาหารเหลือและหมดอายุเป็นรายสัปดาห์ และทำการกำจัดออกจากตู้เพื่อสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี
4. เครื่องสำอาง : ทุกบ้านมักจะมีเครื่องสำอางหมดอายุ อย่างน้อย 1 ชิ้น และมักจะเสียดาย ไม่กล้าตัดใจทิ้งไป ขอให้จำไว้ว่า การใช้เครื่องสำอางหมดอายุแล้ว อาจจะได้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่คุ้มเสีย ควรตัดใจทิ้งก่อนหน้าสวยๆ จะพังไปซะก่อน
Photo by Johanne Kristensen on Unsplash
5. ของชำรุด : ตรวจสอบว่ามีของใช้ ที่แตกหัก หรือพังเสียหายจนเกินกว่าจะใช้ต่อไปได้บ้างหรือไม่ ถ้าตรวจแล้วว่าไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับมาใช้ได้ ควรตัดใจทิ้ง อาทิ เครื่องครัว ไดร์เป่าผม เป็นต้น
6. ของใช้ที่ถึงเวลาต้องเปลี่ยน : ของทุกอย่างมีอายุการใช้งานทั้งนั้น เราจึงควรปรับเปลี่ยนไปตามระยะเวลาการใช้งานจะดีที่สุด อาทิ แปรงสีฟัน หลอดไฟ แผ่นกรองอากาศ เป็นต้น
7. จาน ชามบิ่น : จานชามบิ่น อาจเกิดจากอายุการใช้งานระยะเวลายาวนาน แต่ตามความเชื่อของชาวจีน เรามักจะไม่ใช้จาน ชามที่ชำรุด แตกหัก หรือมีรอยบิ่นชัดเจน โดยแท้จริง น่าจะมาจากอาจทำให้เกิดอันตรายระหว่างใช้งานได้นั่นเอง ทางที่ดีควรสำรวจและคัดแยกจาน ชามที่ชำรุด แตกหัก มีรอยบิ่นเหล่านั้นทิ้งไป
Photo by Brooke Lark on Unsplash
8. เครื่องประดับเก่า : เครื่องประดับที่ยังมีสภาพดีอยู่ หากคิดว่า ยังไงก็คงจะไม่หยิบออกมาใช้งานแล้ว ควรนำไปบริจาคหรือมอบให้คนที่อยากได้ต่อไป หรือนำไปขายออนไลน์ เพื่อนำกำไรกลับมาบ้างก็สามารถทำได้
Photo by Karly Jones on Unsplash
9. ยาหมดอายุ : หลายบ้านมองข้ามเรื่องนี้ไปมาก คิดว่า การซื้อยาเข้าบ้านคือ จะหยิบออกมาใช้ตอนไหนก็ได้และไม่มีวันหมดอายุ ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริง เราควรตรวจเช็คอายุของยาที่บ้านอยู่เสมอ เพื่อทิ้ง หรือเก็บยาที่หมดอายุแล้วออกจากตู้ยาเพื่อไปทิ้ง ไม่ควรเสียดาย
Photo by Volodymyr Hryshchenko on Unsplash
10. หนังสือเก่า : หลายบ้านมีปัญหาร่วมกันเรื่องไม่กล้าตัดใจทิ้งหนังสือเก่าที่เก็บไว้ได้ ไม่ว่าจะจากสาเหตุใดก็ตาม หากคุณคิดว่า ไม่มีทางที่จะหยิบออกมาอ่าน การคัดแยกหนังสือเก่า แล้วนำไปบริจาคก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะสามารถนำหนังสือเก่าของเราไปให้เพื่อเป็นประโยขน์กับผู้อื่นได้ต่อไป
Photo by Tom Hermans on Unsplash
เข้าใจได้ว่า สิ่งของหลายอย่างยากเกินกว่าจะตัดใจทิ้งได้ง่ายๆ เราจะเห็นได้ว่า สิ่งของมากมายที่คนเรามักเสียดาย ไม่สามารถตัดใจทิ้งไปได้ลงนั้น ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากเป็นสิ่งของที่มีคุณค่าทางใจ บางชิ้นเป็นของที่มีคุณค่าทางความทรงจำของเรา ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องเลือกว่า จะทิ้ง หรือ จะเก็บไว้เพียงแค่ความทรงจำ
อีกไอเดียคือ คุณอาจจะเก็บข้าวของที่หวงแหนไว้ในรูปแบบของภาพถ่าย คิดถึงเมื่อใดก็หยิบมาชื่นชมได้เสมอนะ แถมได้เคลียร์บ้านให้โล่งและหายรก และข้าวของแห่งความทรงจำก็ยังคงอยู่ หวังว่า How to ทิ้งในครั้งนี้ จะไม่ต้องไม่มีใครต้องเสียน้ำตา แต่เลือกจะเคลียร์ของที่ไม่จำเป็นได้อย่างแท้จริง
ข้อมูลประกอบการเขียน
https://younghappy.com/blog/life-style/goodbye-things/
www.thaihometown.com/knowledge/5848/
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)