5 ห้องสมุด น่าเที่ยว เรียน รู้
ทุกวันนี้ ห้องสมุดไม่ได้เป็นเพียงแหล่งรวบรวมหนังสือและสื่อต่างๆ เพื่อให้บริการกับสาธารณชนเท่านั้น แต่ทุกวันนี้ห้องสมุดหลายแห่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความโดดเด่นสวยงามทางด้านสถาปัตยกรรม ด้วยการออกแบบก่อสร้างอาคาร การจัดวางองค์ประกอบอื่นๆ ที่ล้วนมี เอกลักษณ์เไม่เหมือนใคร ผสมผสานกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการ รวมถึงกิจกรรมความรู้ สาระบันเทิงต่างๆ เพื่อสนองต่อความต้องการของบรรดานักอ่านทั้งหลายให้มากที่สุด ห้องสมุด หรือหอสมุดจึงเป็นมากกว่าแค่สถานที่รวมหนังสือธรรมดาๆ แต่คืองานศิลปะที่ไม่อาจละสายตาไปได้ง่ายๆ
เชื่อว่าบรรดานักอ่านตัวยง คงคิดเหมือนกันว่า ถ้าเมืองไทยมีสถานที่ที่น่าเที่ยวและเรียนรู้ได้ด้วย แบบนี้บ้าง... น่าจะดีไม่น้อย
1. Royal Library of Denmark, Copenhagen
ขึ้นชื่อว่าโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เรื่องของการออกแบบย่อมไม่ธรรมดา หอสมุดที่เดิมคือวิหารแห่งนี้สร้างขึ้นตั้งแต่ในปี 1648 ต่อมาได้รับการปรับปรุงให้เป็นหอสมุดสุดล้ำในปัจจุบัน Royal Library of Denmark มีอีกชื่อหนึ่งที่เรียกกันว่า “Black Daimond" เพราะโครงสร้างเป็นโลหะ หินแกรนิตสีดำเงาแวววาว ส่วนตรงกลางกระจกใส
ที่นี่คือหอสมุดที่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นที่เก็บหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่คือขุมทรัพย์ทางปัญญาที่แท้จริง ที่มีทั้งหนังสือหายากของเดนมาร์ก ต้นฉบับของนักปรัชญาดังๆ สำเนาต้นฉบับของหนังสือเดนมาร์กเล่มแรก ฯลฯ
อาคารนี้ยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายแห่งชาติ ห้องแสดงผลงานศิลปะ และจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังเป็นที่จัดแสดงกิจกรรมต่างๆ มากมาย พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกได้แก่ หอประชุมขนาด 600 ที่นั่ง Queen's Hall ซึ่งใช้สำหรับจัดคอนเสิร์ต ส่วนใหญ่เป็นดนตรีแชมเบอร์มิวสิกและแจ๊ส งานวรรณกรรม การแสดงละคร และการประชุม อีกทั้งยังมีพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ ร้านขายของกระจุกกระจิก คาเฟ่ และสวน นิทรรศการมีพื้นฐานมาจากหรือได้รับแรงบันดาลใจจากคอลเลกชันของห้องสมุดและมีตั้งแต่หัวข้อทางประวัติศาสตร์ผ่านภาพถ่ายร่วมสมัยไปจนถึงความร่วมมือของศิลปินต่างๆ ด้วย
Photo by Kasper Rasmussen on Unsplash
2. Central Library Oodi in Helsinki, Finland
เปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2018 และได้รับเลือกจากสหพันธ์นานาชาติแห่งสถาบันและสมาคมห้องสมุด (IFLA) ให้เป็นหนึ่งในห้องสมุดแห่งปีประจำปี 2019 หอสมุดกลาง Oodi คือ สถาปัตยกรรมแห่งอนาคต ซึ่งมองจากมุมหนึ่งทำให้อาคารดูเหมือนคลื่นในมหาสมุทร
ที่ฟินแลนด์ มีกฎหมายว่าเขตเทศบาลแต่ละแห่งต้องให้บริการห้องสมุดชุมชน โดยเป็นบริการขั้นพื้นฐานที่ต้องผ่านมาตรฐาน และที่สำคัญคือต้องทำให้ชาวฟินแลนด์ทุกคนต้องสามารถเข้าถึงบริการนี้ได้อย่างเท่าเทียม ความน่าสนใจคือ หอสมุดไม่ได้มีสถานะเป็นแค่ที่เก็บหนังสือ แต่คือพื้นที่สาธารณะที่ชาวเมืองมาใช้ชีวิต จัดกิจกรรม ที่รัฐบาลตั้งใจไว้ว่า การทำห้องสมุดก็คือการสร้าง ‘ห้องนั่งเล่น’ สำหรับประชากรชาวฟินแลนด์
Oodi มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่มากกว่าห้องสมุด นั่นคือการเป็นแหล่งเรียนรู้สมัยใหม่ที่ออกแบบสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย โดยมีห้องโถงที่กว้างขวางและให้ความรู้สึกลื่นไหลเหมือนอยู่ในมหาสมุทร ชั้นล่างยังทำเป็นโรงภาพยนตร์ ห้องออดิทอเรียมอเนกประสงค์ และร้านอาหาร ส่วนชั้นสองเป็นโซนพักผ่อน สังสรรค์ และพัฒนาทักษะ ซึ่งรวมถึงการจัดอุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์สามมิติ จักรเย็บผ้า เครื่องดนตรี ห้องสตูดิโอที่สามารถเข้าใช้งานได้ ไม่นับคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมอย่างดีไว้ให้ใช้มากมาย รวมไปจนถึงอุปกรณ์เล็กๆ น้อยๆ อย่างที่ปั๊มเข็มกลัด
นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่สำหรับเล่นเกม และบริการให้เช่าครัวในราคาถูก เมื่อขึ้นไปถึงชั้นสามจึงเห็นห้องสมุดแบบที่แบ่งเป็นโซนต่างๆ ให้บริการอีกมากมาย
Photo by Vadim Morozov on Unsplash
3. Bibliotheca Alexandrina, Egypt
หอสมุด Bibliotheca Alexandrina ตั้งอยู่บนคาบสมุทรเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอิยิปต์ ห้องสมุดแห่งนี้เปิดใช้ในปี 2002 ภายใต้แนวคิดที่จะชุบชีวิตห้องสมุดอเล็กซานเดรีย ห้องสมุดหลวงของอิยิปต์โบราณ ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในตำนานที่สูญสลายไป โดยออกแบบในรูปแบบของสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ด้วยอาคารหินแกรนิตที่สวยงาม โครงสร้างทรงกลมซึ่งออกแบบโดยบริษัท Snøhetta ของนอร์เวย์ มีความโฉบเฉี่ยวโมเดิร์นแต่ก็ไม่ละทิ้งอัตลักษณ์งานแกะสลักโดยศิลปินท้องถิ่น
นอกจากนี้ ยังเป็นที่รวบรวมหนังสือทุกภาษาทั่วโลก มีหนังสือมากกว่า 8,000,000 เล่ม วารสาร 4,000 ฉบับ และหนังสือหายาก 50,000 เล่ม ต้นฉบับตัวเขียน แผนที่และโสตทัศนวัสดุ 50,000 รายการ พื้นที่ห้องอ่านหนังสือ 70,000 ตารางเมตร อาคารที่เป็นท้องฟ้าจำลอง อนุรักษ์อารยธรรมโบราณ มีจอภาพ 9 จอ พร้อมเครื่องฉาย 9 เครื่อง ในแต่ละภาพสามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ เป็นการนำเสนอภาพประวัติศาสตร์ของอียิปต์ 5,000 ปีที่ผ่านมา
4. Public Library Stuttgart, Germany
หอสมุดเมืองสตุทการ์ท ประเทศเยอรมนี ออกแบบโดย Yi Eun-Young สถาปนิกชาวเกาหลี มีรูปทรงตัวอาคารคล้ายลูกบาศก์ ซึ่งได้ไอเดียมาจาก วิหารพาร์เธนอน ในประเทศกรีซ อาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ประกอบด้วยสี่เหลี่ยมทรงลูกบาศก์จำนวน 9 ลูกในแนวตั้งและแนวนอนมาวางต่อกัน นอกจากอาคารจะทาสีขาวทั้งหมดแล้ว ข้างบนหลังคายังมีกระจกโปร่งใส เพื่อให้แสงรอดส่องลงมาผ่านห้องสีขาว เพื่อเพิ่มความสว่างให้กับห้องสมุดที่มากขึ้น เป็นการประหยัดพลังงานจากหลอดไฟไปในตัวอีกด้วย มีการออกแบบแนวโมเดิร์น ดูสวยงาม เรียบง่าย แต่ละชั้นถูกเชื่อมต่อด้วยบันไดแบบ random สามารถเดินได้อย่างทั่วถึง ผู้ใช้บริการจะตื่นตาตื่นใจไปกับอาณาจักรหนังสือนับแสนเล่ม ที่สำคัญหอสมุดเมืองสตุทการ์ทยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของวิถีชีวิตใหม่ในเมืองนี้อีกด้วย
ภายใต้พื้นที่ใช้สอย 11,500 ตารางเมตร จัดแบ่งพื้นที่ให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการกลุ่มต่างๆ ได้อย่างลงตัว อาทิ ส่วนห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ห้องสมุดเด็ก ห้องสมุดศิลปะ และห้องสมุดแอนิเมชั่นออนไลน์ เป็นต้น
Photo by Christian Wiediger on Unsplash
5. Tianjin Binhai Library หรือ Binhai New Area Library, China
การออกแบบสุดอลังการของห้องสมุดเมืองเทียนจิน ในประเทศจีน ห้องสมุดขนาดพื้นที่ 33,700 ตารางเมตร ที่เต็มไปด้วยหนังสือกว่า 1,000,000 เล่ม เป็นความร่วมมือของ MVRDV บริษัทสถาปนิกชื่อดังจากเนเธอร์แลนด์ ร่วมมือกับ Tiamjin Urban Planing and Design Institue (TUPDI) ที่นี่ถูกออกแบบภายใต้คอนเซปต์ ‘new urban living room’ และสามารถคว้ารางวัล Jury and Public Choice Award ปี 2017 จาก Architizer A+ Awards หนึ่งในเวทีประกวดงานด้านสถาปัตยกรรมที่โด่งดังที่สุดของโลกไปครอง
ภายในคือพื้นที่โปร่ง ตรงกลางคือห้องออดิทอเรียมทรงกลมสีขาว พร้อมกับเคาท์เตอร์ประชาสัมพันธ์ รายล้อมด้วยชั้นหนังสือที่ออกแบบเป็นลอนคลื่นลดหลั่นเป็นบันได เรื่อยไปจนถึงเพดาน บรรจุหนังสือถึงกว่า 1,200,000 เล่ม ชั้นหนังสือที่ถูกออกแบบให้เป็นทั้งขั้นบันได และที่นั่ง หันหน้าไปยังจุดศูนย์กลางของอาคาร นั่นก็คือห้องออดิทอเรียมทรงกลม โดยผนังอีกสองฝั่งคือบานกระจกขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่ออาคารเข้ากับสวนที่อยู่ภายนอก ให้ความรู้ต่อเนื่องและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในขณะเดียวกันที่เพดานมีโดมขนาดเล็กสำหรับรับแสงธรรมชาติในเวลกลางวัน เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน และทำให้ห้องสมุดในช่วงเวลากลางวันนั้น ดึงดูดผู้คนให้เข้ามาใช้บริการ มองจากภายนอก เราจะเห็นแค่โครงสร้างชั้นหนังสือ แต่ภายใต้ชั้น ยังมีทั้ง สำนักงาน ห้องเก็บหนังสือ หอจดหมายเหตุเมือง ห้องอ่านหนังสือ ห้องประชุม ห้องคอมพิวเตอร์ และห้องโสตทัศนูปกรณ์
Photo by Nolan Monaghan on Unsplash
การสร้างบรรยากาศในการอ่าน หรือการเรียนรู้ที่เป็นมากกว่าห้องสี่เหลี่ยมแห่งนี้ ก็ถือเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถดึงดูดให้คนทุกเพศ ทุกวัย เข้ามารับบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรู้ จนอดไม่ได้ที่จะหยิบจับหนังสือขึ้นมาอ่านแน่นอน
เรื่องของการเรียนรู้ เป็นเรื่องที่เราต่างต้องผลักดันให้มีสถานที่เพื่อสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ ที่เข้าถึงง่าย ทันสมัย และทุกคนได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะในรูปแบบของการอ่าน หรือการได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ เป็นเรื่องที่เราเริ่มจากตัวเองได้ก่อน โดยการไม่หยุดที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดเล่นๆ แต่แอบจริงจังว่า ถ้าเมืองไทยมีสถานที่ที่ทั้งน่าเที่ยวและได้เรียนรู้ไปด้วย แบบนี้บ้าง... ก็คงดี
เชื่อว่าบรรดานักอ่านตัวยง คงคิดเหมือนกันว่า ถ้าเมืองไทยมีสถานที่ที่น่าเที่ยวและเรียนรู้ได้ด้วย แบบนี้บ้าง... น่าจะดีไม่น้อย
1. Royal Library of Denmark, Copenhagen
ขึ้นชื่อว่าโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เรื่องของการออกแบบย่อมไม่ธรรมดา หอสมุดที่เดิมคือวิหารแห่งนี้สร้างขึ้นตั้งแต่ในปี 1648 ต่อมาได้รับการปรับปรุงให้เป็นหอสมุดสุดล้ำในปัจจุบัน Royal Library of Denmark มีอีกชื่อหนึ่งที่เรียกกันว่า “Black Daimond" เพราะโครงสร้างเป็นโลหะ หินแกรนิตสีดำเงาแวววาว ส่วนตรงกลางกระจกใส
ที่นี่คือหอสมุดที่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นที่เก็บหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่คือขุมทรัพย์ทางปัญญาที่แท้จริง ที่มีทั้งหนังสือหายากของเดนมาร์ก ต้นฉบับของนักปรัชญาดังๆ สำเนาต้นฉบับของหนังสือเดนมาร์กเล่มแรก ฯลฯ
อาคารนี้ยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายแห่งชาติ ห้องแสดงผลงานศิลปะ และจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังเป็นที่จัดแสดงกิจกรรมต่างๆ มากมาย พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกได้แก่ หอประชุมขนาด 600 ที่นั่ง Queen's Hall ซึ่งใช้สำหรับจัดคอนเสิร์ต ส่วนใหญ่เป็นดนตรีแชมเบอร์มิวสิกและแจ๊ส งานวรรณกรรม การแสดงละคร และการประชุม อีกทั้งยังมีพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ ร้านขายของกระจุกกระจิก คาเฟ่ และสวน นิทรรศการมีพื้นฐานมาจากหรือได้รับแรงบันดาลใจจากคอลเลกชันของห้องสมุดและมีตั้งแต่หัวข้อทางประวัติศาสตร์ผ่านภาพถ่ายร่วมสมัยไปจนถึงความร่วมมือของศิลปินต่างๆ ด้วย
Photo by Kasper Rasmussen on Unsplash
2. Central Library Oodi in Helsinki, Finland
เปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2018 และได้รับเลือกจากสหพันธ์นานาชาติแห่งสถาบันและสมาคมห้องสมุด (IFLA) ให้เป็นหนึ่งในห้องสมุดแห่งปีประจำปี 2019 หอสมุดกลาง Oodi คือ สถาปัตยกรรมแห่งอนาคต ซึ่งมองจากมุมหนึ่งทำให้อาคารดูเหมือนคลื่นในมหาสมุทร
ที่ฟินแลนด์ มีกฎหมายว่าเขตเทศบาลแต่ละแห่งต้องให้บริการห้องสมุดชุมชน โดยเป็นบริการขั้นพื้นฐานที่ต้องผ่านมาตรฐาน และที่สำคัญคือต้องทำให้ชาวฟินแลนด์ทุกคนต้องสามารถเข้าถึงบริการนี้ได้อย่างเท่าเทียม ความน่าสนใจคือ หอสมุดไม่ได้มีสถานะเป็นแค่ที่เก็บหนังสือ แต่คือพื้นที่สาธารณะที่ชาวเมืองมาใช้ชีวิต จัดกิจกรรม ที่รัฐบาลตั้งใจไว้ว่า การทำห้องสมุดก็คือการสร้าง ‘ห้องนั่งเล่น’ สำหรับประชากรชาวฟินแลนด์
Oodi มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่มากกว่าห้องสมุด นั่นคือการเป็นแหล่งเรียนรู้สมัยใหม่ที่ออกแบบสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย โดยมีห้องโถงที่กว้างขวางและให้ความรู้สึกลื่นไหลเหมือนอยู่ในมหาสมุทร ชั้นล่างยังทำเป็นโรงภาพยนตร์ ห้องออดิทอเรียมอเนกประสงค์ และร้านอาหาร ส่วนชั้นสองเป็นโซนพักผ่อน สังสรรค์ และพัฒนาทักษะ ซึ่งรวมถึงการจัดอุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์สามมิติ จักรเย็บผ้า เครื่องดนตรี ห้องสตูดิโอที่สามารถเข้าใช้งานได้ ไม่นับคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมอย่างดีไว้ให้ใช้มากมาย รวมไปจนถึงอุปกรณ์เล็กๆ น้อยๆ อย่างที่ปั๊มเข็มกลัด
นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่สำหรับเล่นเกม และบริการให้เช่าครัวในราคาถูก เมื่อขึ้นไปถึงชั้นสามจึงเห็นห้องสมุดแบบที่แบ่งเป็นโซนต่างๆ ให้บริการอีกมากมาย
Photo by Vadim Morozov on Unsplash
3. Bibliotheca Alexandrina, Egypt
หอสมุด Bibliotheca Alexandrina ตั้งอยู่บนคาบสมุทรเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอิยิปต์ ห้องสมุดแห่งนี้เปิดใช้ในปี 2002 ภายใต้แนวคิดที่จะชุบชีวิตห้องสมุดอเล็กซานเดรีย ห้องสมุดหลวงของอิยิปต์โบราณ ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในตำนานที่สูญสลายไป โดยออกแบบในรูปแบบของสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ด้วยอาคารหินแกรนิตที่สวยงาม โครงสร้างทรงกลมซึ่งออกแบบโดยบริษัท Snøhetta ของนอร์เวย์ มีความโฉบเฉี่ยวโมเดิร์นแต่ก็ไม่ละทิ้งอัตลักษณ์งานแกะสลักโดยศิลปินท้องถิ่น
นอกจากนี้ ยังเป็นที่รวบรวมหนังสือทุกภาษาทั่วโลก มีหนังสือมากกว่า 8,000,000 เล่ม วารสาร 4,000 ฉบับ และหนังสือหายาก 50,000 เล่ม ต้นฉบับตัวเขียน แผนที่และโสตทัศนวัสดุ 50,000 รายการ พื้นที่ห้องอ่านหนังสือ 70,000 ตารางเมตร อาคารที่เป็นท้องฟ้าจำลอง อนุรักษ์อารยธรรมโบราณ มีจอภาพ 9 จอ พร้อมเครื่องฉาย 9 เครื่อง ในแต่ละภาพสามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ เป็นการนำเสนอภาพประวัติศาสตร์ของอียิปต์ 5,000 ปีที่ผ่านมา
4. Public Library Stuttgart, Germany
หอสมุดเมืองสตุทการ์ท ประเทศเยอรมนี ออกแบบโดย Yi Eun-Young สถาปนิกชาวเกาหลี มีรูปทรงตัวอาคารคล้ายลูกบาศก์ ซึ่งได้ไอเดียมาจาก วิหารพาร์เธนอน ในประเทศกรีซ อาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ประกอบด้วยสี่เหลี่ยมทรงลูกบาศก์จำนวน 9 ลูกในแนวตั้งและแนวนอนมาวางต่อกัน นอกจากอาคารจะทาสีขาวทั้งหมดแล้ว ข้างบนหลังคายังมีกระจกโปร่งใส เพื่อให้แสงรอดส่องลงมาผ่านห้องสีขาว เพื่อเพิ่มความสว่างให้กับห้องสมุดที่มากขึ้น เป็นการประหยัดพลังงานจากหลอดไฟไปในตัวอีกด้วย มีการออกแบบแนวโมเดิร์น ดูสวยงาม เรียบง่าย แต่ละชั้นถูกเชื่อมต่อด้วยบันไดแบบ random สามารถเดินได้อย่างทั่วถึง ผู้ใช้บริการจะตื่นตาตื่นใจไปกับอาณาจักรหนังสือนับแสนเล่ม ที่สำคัญหอสมุดเมืองสตุทการ์ทยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของวิถีชีวิตใหม่ในเมืองนี้อีกด้วย
ภายใต้พื้นที่ใช้สอย 11,500 ตารางเมตร จัดแบ่งพื้นที่ให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการกลุ่มต่างๆ ได้อย่างลงตัว อาทิ ส่วนห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ห้องสมุดเด็ก ห้องสมุดศิลปะ และห้องสมุดแอนิเมชั่นออนไลน์ เป็นต้น
Photo by Christian Wiediger on Unsplash
5. Tianjin Binhai Library หรือ Binhai New Area Library, China
การออกแบบสุดอลังการของห้องสมุดเมืองเทียนจิน ในประเทศจีน ห้องสมุดขนาดพื้นที่ 33,700 ตารางเมตร ที่เต็มไปด้วยหนังสือกว่า 1,000,000 เล่ม เป็นความร่วมมือของ MVRDV บริษัทสถาปนิกชื่อดังจากเนเธอร์แลนด์ ร่วมมือกับ Tiamjin Urban Planing and Design Institue (TUPDI) ที่นี่ถูกออกแบบภายใต้คอนเซปต์ ‘new urban living room’ และสามารถคว้ารางวัล Jury and Public Choice Award ปี 2017 จาก Architizer A+ Awards หนึ่งในเวทีประกวดงานด้านสถาปัตยกรรมที่โด่งดังที่สุดของโลกไปครอง
ภายในคือพื้นที่โปร่ง ตรงกลางคือห้องออดิทอเรียมทรงกลมสีขาว พร้อมกับเคาท์เตอร์ประชาสัมพันธ์ รายล้อมด้วยชั้นหนังสือที่ออกแบบเป็นลอนคลื่นลดหลั่นเป็นบันได เรื่อยไปจนถึงเพดาน บรรจุหนังสือถึงกว่า 1,200,000 เล่ม ชั้นหนังสือที่ถูกออกแบบให้เป็นทั้งขั้นบันได และที่นั่ง หันหน้าไปยังจุดศูนย์กลางของอาคาร นั่นก็คือห้องออดิทอเรียมทรงกลม โดยผนังอีกสองฝั่งคือบานกระจกขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่ออาคารเข้ากับสวนที่อยู่ภายนอก ให้ความรู้ต่อเนื่องและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในขณะเดียวกันที่เพดานมีโดมขนาดเล็กสำหรับรับแสงธรรมชาติในเวลกลางวัน เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน และทำให้ห้องสมุดในช่วงเวลากลางวันนั้น ดึงดูดผู้คนให้เข้ามาใช้บริการ มองจากภายนอก เราจะเห็นแค่โครงสร้างชั้นหนังสือ แต่ภายใต้ชั้น ยังมีทั้ง สำนักงาน ห้องเก็บหนังสือ หอจดหมายเหตุเมือง ห้องอ่านหนังสือ ห้องประชุม ห้องคอมพิวเตอร์ และห้องโสตทัศนูปกรณ์
Photo by Nolan Monaghan on Unsplash
การสร้างบรรยากาศในการอ่าน หรือการเรียนรู้ที่เป็นมากกว่าห้องสี่เหลี่ยมแห่งนี้ ก็ถือเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถดึงดูดให้คนทุกเพศ ทุกวัย เข้ามารับบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรู้ จนอดไม่ได้ที่จะหยิบจับหนังสือขึ้นมาอ่านแน่นอน
เรื่องของการเรียนรู้ เป็นเรื่องที่เราต่างต้องผลักดันให้มีสถานที่เพื่อสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ ที่เข้าถึงง่าย ทันสมัย และทุกคนได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะในรูปแบบของการอ่าน หรือการได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ เป็นเรื่องที่เราเริ่มจากตัวเองได้ก่อน โดยการไม่หยุดที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดเล่นๆ แต่แอบจริงจังว่า ถ้าเมืองไทยมีสถานที่ที่ทั้งน่าเที่ยวและได้เรียนรู้ไปด้วย แบบนี้บ้าง... ก็คงดี
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)