กอดลูก...อย่างเข้าใจ
ถึงแม้ “การกอด” จะดูเป็นเรื่องง่าย และไม่ต้องลงทุนแม้แต่บาทเดียว แต่เมื่อทำแล้วผลที่ได้รับมีคุณค่ามหาศาล เพราะ การกอดเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาสมองของเด็กให้มีการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ที่ดี ตามหลักการพัฒนาสมองแล้ว สมองของเด็กต้องได้รับทั้ง “อาหารกาย” และ “อาหารใจ” ในสัดส่วนที่สมดุลตลอดทุกช่วงชีวิต อย่างที่เราทราบกันว่า อาหารกายของสมอง คือ อาหารหลัก 5 หมู่ และอาหารใจของสมองคือ การโอบกอด สัมผัส การเล่น การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมต่างๆ การกอดมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายให้หลั่งสารฮอร์โมนเอนเดอร์ฟิน หรือฮอร์โมนแห่งความสุข ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย อาหารกายและอาหารใจจึงเป็นพื้นฐานที่ดีในการที่จะทำให้เด็กเติบโตเต็มที่อย่างแข็งแรงและสมบูรณ์
“การกอด” เป็นสัมผัสที่พ่อแม่เป็นได้ทั้งผู้ให้และผู้รับ ไม่ว่าตอนนั้นจะมีความรู้สึกดีใจ เสียใจ ตื่นเต้น มีความสุข หรือต้องการการปลอบประโลมใจ การที่พ่อแม่โอบกอดลูกอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ในวัยเด็ก เป็นการแสดงออกถึงความรัก ลูกสัมผัสได้ถึงความอบอุ่นใจ และปลอดภัยในความสัมพันธ์ ถึงแม้ว่าลูกในแต่ละช่วงอายุจะได้รับผลต่อการโอบกอดที่แตกต่างกัน เช่น ในวินาทีแรกที่ลูกลืมตาดูโลก การกอดของพ่อแม่จะช่วยให้ลูกเรียนรู้การสัมผัสแรก ลูกเกิดความมั่นคงปลอดภัยในการสถานการณ์ที่ต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจากโลกภายนอก
อายุในช่วง 1-6 เดือน การโอบกอดทำให้มีความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างแม่กับลูก หรือพ่อกับลูกมากขึ้น ส่งผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดี หลังจากเข้าสู่เดือนที่ 7 ไปจนถึงวัยเตาะแตะ เป็นวัยที่ลูกมีการพัฒนาทางร่างกายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเริ่มนั่ง ลุกเดิน การโอบกอดจึงเป็นสร้างกำลังใจ ชื่นชมความก้าวหน้าในการเรียนรู้ สำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว ส่งผลให้ลูกเกิดความมั่นใจ มองโลกในแง่ดี มีภาวะอารมณ์ที่มั่นคง และเมื่ออายุ 3 ขวบเป็นต้นไป ลูกเริ่มค้นพบว่าในโลกของเขาไม่ได้มีแต่พ่อแม่เท่านั้น ยังมีเพื่อน มีสังคม มีสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เขาจึงต้องมีการปรับตัว การโอบกอดจึงช่วยให้ลูกเกิดการรับรู้และค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมถึงภาวะด้านอารมณ์ที่ดีขึ้นด้วย
“การกอด” จึงเป็นภาษากายที่แสดงออกถึงความรัก การสร้างความผูกพันในครอบครัว ทั้งยังช่วยในการเยียวยาทางความรู้สึกได้ เมื่อลูกเติบโตขึ้น พ่อแม่จำเป็นต้องให้ลูกเรียนรู้ที่จะแยกแยะการสัมผัสว่าการกอดแบบไหนที่ปลอดภัย เพราะลูกมีสิทธิ์ที่จะปกป้องพื้นที่ส่วนตัวของตนไม่ให้ใครมาสัมผัสจับต้องได้ พ่อแม่จึงไม่ควรบังคับให้ลูกต้องกอดใคร ทั้งๆที่ลูกอาจจะไม่เต็มใจถึงแม้ว่าจะเป็นญาติแท้ๆ ก็ตาม เพื่อที่จะสอนให้ลูกรู้จักการมีสิทธิ์ในร่างกายตนเอง และสามารถควบคุมมันได้ โดยที่ไม่ต้องให้ใครมาบังคับจะทำให้ลูกรู้จักการป้องกันตนเองให้ปลอดภัย ซึ่งนั้นอาจจะไม่ใช่แค่เรื่องการกอด แต่ยังรวมถึงการสัมผัสร่างกายในส่วนอื่นๆของลูกด้วย
ถ้าไม่เคยกอดลูกตั้งแต่แรก...กอดลูกวันนี้จะทันไหม?
ไม่มีคำว่าสายเกินไป ลูกหรือพ่อแม่อาจจะขัดเขินอยู่บ้างเมื่อไม่ได้เริ่มกอดกันตั้งแต่แรกเกิดหรือช่วงเวลาของการเติบโต ถ้าเป็นวัยเด็ก พ่อแม่อาจเริ่มต้นด้วยการพูดคุย สัมผัส เพื่อให้ลูกรับรู้ถึงความรัก ความห่วงใย พ่อแม่ต้องค่อยๆ ทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ลูกก็จะรับรู้และค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยอมรับการกอดได้ และเมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น พ่อแม่อาจต้องมีเทคนิควิธีการหรือมีจังหวะจะโคน เลือกช่วงเวลาการกอดที่เหมาะสมไม่พร่ำเพรื่อ เพราะเด็กวัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง อาจจะไม่ชอบถ้าพ่อแม่ไปกอดต่อหน้าเพื่อน แต่ถึงอย่างไรการกอดก็ยังเป็นความอบอุ่นหัวใจของลูกเสมอ
การกอดลูกอย่างถูกที่ ถูกเวลามีประโยชน์ต่อตัวลูกอย่างไร
วันนี้คุณได้กอดลูกแล้วรึยัง!!
ข้อมูลประกอบการเขียน
https://th.theasianparent.com
https://www.pptvhd36.com/news
https://www.genifamilyclub.com/tips/214/
“การกอด” เป็นสัมผัสที่พ่อแม่เป็นได้ทั้งผู้ให้และผู้รับ ไม่ว่าตอนนั้นจะมีความรู้สึกดีใจ เสียใจ ตื่นเต้น มีความสุข หรือต้องการการปลอบประโลมใจ การที่พ่อแม่โอบกอดลูกอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ในวัยเด็ก เป็นการแสดงออกถึงความรัก ลูกสัมผัสได้ถึงความอบอุ่นใจ และปลอดภัยในความสัมพันธ์ ถึงแม้ว่าลูกในแต่ละช่วงอายุจะได้รับผลต่อการโอบกอดที่แตกต่างกัน เช่น ในวินาทีแรกที่ลูกลืมตาดูโลก การกอดของพ่อแม่จะช่วยให้ลูกเรียนรู้การสัมผัสแรก ลูกเกิดความมั่นคงปลอดภัยในการสถานการณ์ที่ต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจากโลกภายนอก
อายุในช่วง 1-6 เดือน การโอบกอดทำให้มีความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างแม่กับลูก หรือพ่อกับลูกมากขึ้น ส่งผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดี หลังจากเข้าสู่เดือนที่ 7 ไปจนถึงวัยเตาะแตะ เป็นวัยที่ลูกมีการพัฒนาทางร่างกายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเริ่มนั่ง ลุกเดิน การโอบกอดจึงเป็นสร้างกำลังใจ ชื่นชมความก้าวหน้าในการเรียนรู้ สำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว ส่งผลให้ลูกเกิดความมั่นใจ มองโลกในแง่ดี มีภาวะอารมณ์ที่มั่นคง และเมื่ออายุ 3 ขวบเป็นต้นไป ลูกเริ่มค้นพบว่าในโลกของเขาไม่ได้มีแต่พ่อแม่เท่านั้น ยังมีเพื่อน มีสังคม มีสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เขาจึงต้องมีการปรับตัว การโอบกอดจึงช่วยให้ลูกเกิดการรับรู้และค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมถึงภาวะด้านอารมณ์ที่ดีขึ้นด้วย
“การกอด” จึงเป็นภาษากายที่แสดงออกถึงความรัก การสร้างความผูกพันในครอบครัว ทั้งยังช่วยในการเยียวยาทางความรู้สึกได้ เมื่อลูกเติบโตขึ้น พ่อแม่จำเป็นต้องให้ลูกเรียนรู้ที่จะแยกแยะการสัมผัสว่าการกอดแบบไหนที่ปลอดภัย เพราะลูกมีสิทธิ์ที่จะปกป้องพื้นที่ส่วนตัวของตนไม่ให้ใครมาสัมผัสจับต้องได้ พ่อแม่จึงไม่ควรบังคับให้ลูกต้องกอดใคร ทั้งๆที่ลูกอาจจะไม่เต็มใจถึงแม้ว่าจะเป็นญาติแท้ๆ ก็ตาม เพื่อที่จะสอนให้ลูกรู้จักการมีสิทธิ์ในร่างกายตนเอง และสามารถควบคุมมันได้ โดยที่ไม่ต้องให้ใครมาบังคับจะทำให้ลูกรู้จักการป้องกันตนเองให้ปลอดภัย ซึ่งนั้นอาจจะไม่ใช่แค่เรื่องการกอด แต่ยังรวมถึงการสัมผัสร่างกายในส่วนอื่นๆของลูกด้วย
ถ้าไม่เคยกอดลูกตั้งแต่แรก...กอดลูกวันนี้จะทันไหม?
ไม่มีคำว่าสายเกินไป ลูกหรือพ่อแม่อาจจะขัดเขินอยู่บ้างเมื่อไม่ได้เริ่มกอดกันตั้งแต่แรกเกิดหรือช่วงเวลาของการเติบโต ถ้าเป็นวัยเด็ก พ่อแม่อาจเริ่มต้นด้วยการพูดคุย สัมผัส เพื่อให้ลูกรับรู้ถึงความรัก ความห่วงใย พ่อแม่ต้องค่อยๆ ทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ลูกก็จะรับรู้และค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยอมรับการกอดได้ และเมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น พ่อแม่อาจต้องมีเทคนิควิธีการหรือมีจังหวะจะโคน เลือกช่วงเวลาการกอดที่เหมาะสมไม่พร่ำเพรื่อ เพราะเด็กวัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง อาจจะไม่ชอบถ้าพ่อแม่ไปกอดต่อหน้าเพื่อน แต่ถึงอย่างไรการกอดก็ยังเป็นความอบอุ่นหัวใจของลูกเสมอ
การกอดลูกอย่างถูกที่ ถูกเวลามีประโยชน์ต่อตัวลูกอย่างไร
-
ทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น สบาย มั่นคงและปลอดภัย โดยเฉพาะเด็กวัยแรกเกิดที่ต้องมีการปรับตัวกับโลกภายนอก
-
ลูกมีการเติบโตและพัฒนาการที่ดี เสริมสร้างพัฒนาการทางอารมณ์ ความไว้วางใจในสายสัมพันธ์ รวมถึงการเยียวยาภาวะอารมณ์ ลดความเครียด
-
เสริมสร้างความเชื่อมั่น ความมั่นใจให้กับลูกในการที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆรอบตัว
-
ทำให้ลูกเห็นคุณค่าในตนเองและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
- ในกรณีลูกไม่สบาย การกอดทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย บรรเทาความเจ็บป่วยได้
วันนี้คุณได้กอดลูกแล้วรึยัง!!
ข้อมูลประกอบการเขียน
https://th.theasianparent.com
https://www.pptvhd36.com/news
https://www.genifamilyclub.com/tips/214/
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)