หยุดความรู้สึก “ด้อยค่า” ในสายตาตัวเอง
บ่อยไหม ที่คุณตั้งคำถามกับตัวเองด้วยความรู้สึกเป็นกังวลว่า “ฉันมาทำอะไรในแวดวงอัจฉริยะพวกนี้” หรือ “ทำอย่างไรดี เพื่อนในทีมต้องจับได้แน่ๆ ว่าเราไม่เก่งอย่างที่คิด”
ณ นาทีนั้น คุณกำลังถูกความรู้สึก “ด้อยค่า” ล่อลวงให้สงสัยในความสามารถของตนเอง รู้สึกไม่คู่ควรกับสถานภาพหรือตำแหน่งที่ดำรงอยู่ และถ้าคุณอนุญาตให้ความรู้สึกนั้นหลอกลวงอย่างต่อเนื่อง โดยไม่คิดที่จะเพิกถอนคำลวงเหล่านั้นให้เป็นโมฆะ คุณก็จะเริ่มพยายามหนักขึ้น ตั้งมาตรฐานตัวเองสูงขึ้น แล้วก็ลำบากตรากตรำตะเกียกตะกายปีนขึ้นไปให้ถึงมาตรฐานที่ตั้งไว้ เพื่อจะทำให้ตัวเองเป็นคนที่ “สูงค่า” หรือ “ควรค่า” ตามที่คุณเชื่อว่าคุณได้สร้างภาพไว้ในสายตาของผู้คนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย ในที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งในแวดวงสังคมที่คุณเป็นสมาชิก
หลังจากที่พยายามอย่างหนักเพื่อไปให้ถึงภาพที่สร้างไว้ในสายตาของผู้อื่น คุณรู้สึกดีขึ้นหรือไม่ คำชื่นชมที่คุณได้รับทำให้คุณรู้สึกภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเองมากขึ้นหรือไม่ หรือคุณคิดว่านั่นเป็นเพียงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจที่คนอื่นหยิบยื่นให้เพื่อปลอบใจเท่านั้น และทิ้งคุณไว้กับคำว่า “ยังไม่ดีพอ” ในความรู้สึกของตัวคุณเอง แล้วก็ดิ่งลงไปสู่ความซึมเศร้าเพราะไม่สามารถโน้มน้าวให้ตัวเองเชื่อได้ว่าคุณทำดีแล้ว ถ้าคุณมีความรู้สึกเช่นนี้ คุณอาจจะกำลังตกอยู่ในภาวะ Imposter Syndrome ซึ่งไม่ว่าจะพยายามยกระดับความสามารถของตนเองให้สูงขึ้นสักเท่าใดก็ไม่ช่วยให้คุณรู้สึกดีพอในสายตาของตัวเอง แต่กลับยิ่งผลักดันคุณไปสู่ความเครียด ความหดหู่ ท้อแท้ รู้สึกผิด และด้อยค่ายิ่งกว่าเดิม
คนที่ตกอยู่ในภาวะ Imposter Syndrome ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีความสามารถและประสบความสำเร็จในอาชีพการงานหรือสิ่งที่ทำ แต่มักจะคิดว่าตัวเองไม่เก่งพอ ไม่ดีพอ ไม่คู่ควรกับความสำเร็จหรือคำชมที่ได้รับ สิ่งที่ได้มาเป็นแค่เรื่องของจังหวะหรือโชคช่วย เสมือนว่าตัวเองสร้างภาพให้คนอื่นเห็นว่าตนเป็นคนมีความสามารถ แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น ความเชื่อที่บิดเบือนนี้อาจทำให้บางคนรู้สึกกลัวความล้มเหลวจนไม่กล้าริเริ่มทำสิ่งใหม่ หรือบังคับเคี่ยวเข็ญตนเองอย่างหนักเพื่อที่จะประสบความสำเร็จให้มากขึ้น หรือบางคนอาจรู้สึกระแวงว่าคนอื่นจะพบเห็นจุดบกพร่องของตนและเปิดเผยให้ได้รับความอับอาย ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ส่งผลต่ออารมณ์ บุคลิกภาพ และความสัมพันธ์กับผู้อื่น ถ้าเช่นนั้น จะหยุดความรู้สึกนี้ได้อย่างไร เพื่อไม่ให้ชีวิตต้องสะดุดทั้งในหน้าที่การงานและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
คำลวงที่อยู่กับคุณมานานจะไม่หายไปในชั่วพริบตา แต่กลยุทธ์ต่อไปนี้อาจจะพอช่วยประวิงเวลาให้คุณหยุดคิดไตร่ตรองและมองเห็นความจริงได้ชัดเจนขึ้น
รู้เท่าทันความรู้สึก
ทันทีที่คุณรับรู้ถึงความรู้สึกด้อยค่าที่ผุดขึ้นมาในห้วงคิดให้ดึงความรู้สึกนั้นออกมา เช่น “ฉันรู้สึกว่าฉันทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่ได้ ฉันไม่มีความสามารถเรื่องนี้ แต่ฉันรับปากที่จะทำเพราะทุกคนในทีมคิดว่าฉันจะทำได้ดี” ไม่จำเป็นต้องต่อต้านหรือปฏิเสธความรู้สึกนั้น แต่ให้ยอมรับว่าคุณรู้สึกเช่นนั้นจริงๆ แล้วลองบอกเล่าความรู้สึกอึดอัดนี้กับเพื่อนสนิทที่คุณไว้วางใจ การแบ่งปันความรู้สึกออกไปจะช่วยบรรเทาความหนักใจลงได้ส่วนหนึ่ง อีกทั้งยังอาจจะช่วยลดระดับความคาดหวังหรือมาตรฐานสูงลิบลิ่วที่คุณตั้งไว้ลงด้วย
สร้างสัมพันธ์
สิ่งที่คุณควรบอกกับตัวเองอย่างสม่ำเสมอคือ คุณไม่จำเป็นต้องทำทุกสิ่งให้สำเร็จได้โดยลำพัง แม้แต่ซูเปอร์ฮีโร่ที่เก่งกาจบางครั้งก็ยังต้องทำงานเป็นทีมในภารกิจกู้โลก คุณเองก็สามารถขอความช่วยเหลือจากคนอื่นในเรื่องที่ล้นมือหรือเกินกำลังสามารถของตนเอง และอีกนัยหนึ่ง คุณก็สามารถปวารณาตัวเป็นผู้สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือผู้อื่นในเรื่องที่คุณเชี่ยวชาญได้เช่นกัน การเชื่อมสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและเครือข่ายจะช่วยบรรเทาความรู้สึกโดดเดี่ยว ความรู้สึกกดดันที่จะต้องทำทุกอย่างให้สำเร็จทั้งๆ ที่ความสามารถมีจำกัด เพราะเพื่อนและเครือข่ายจะสามารถให้ทั้งคำแนะนำ ความช่วยเหลือ เติมเต็มจุดบกพร่อง และเสริมจุดแข็งของคุณได้
ตรวจสอบข้อสงสัยและยืนยันความสามารถของตัวเอง
เมื่อความรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอแวบผ่านเข้ามาในความคิดของคุณ ให้คุณฉวยไว้แล้วย้อนถามตัวเองว่าจริงหรือไม่ ไตร่ตรองถึงข้อเท็จจริงพร้อมกับหาหลักฐานมายืนยัน เช่น เมื่อคุณเห็นประกาศบนเว็บไซต์และรู้สึกสนใจการส่งผลงานเรื่องสั้นเข้าประกวด แต่ทันใดนั้นความรู้สึก “ไม่สามารถ” ก็โจมตีคุณจนไม่กล้าแม้แต่จะคิดลงมือเขียน บางทีอาจจะเป็นเพราะความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้รับการทักท้วงเมื่อสองเดือนก่อน หรืออาจจะเป็นเพราะคุณคิดว่า ที่ผู้อ่านกดไลค์ให้เรื่องสั้นในแฟนเพจของคุณเพราะความสงสารและเห็นใจ คุณลองถามตัวเองว่าความเชื่อนั้นถูกต้องจริงหรือ ผู้ติดตามแฟนเพจของคุณคือใคร และเขาจะได้ประโยชน์อะไรจากการเยินยองานเขียนของคุณ พวกเขาจะติดตามกดไลค์ให้กับงานเขียนทุกชิ้นเพราะความสงสารเท่านั้นหรือ หากเขาไม่ได้ชื่นชอบผลงานของคุณจากใจจริง การอวดอ้างอาจหลอกคนอื่นได้ในช่วงแรก แต่ผลงานที่ตามมาต่างหากที่จะเป็นสิ่งบ่งชี้และยืนยันถึงความสามารถที่แท้จริง ดังนั้น หากคุณได้รับการสนับสนุนและการยอมรับอย่างสม่ำเสมอ นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ดีว่าคุณมีความสามารถและมาถูกทางแล้ว จงโน้มตัวเข้าหาโอกาสแล้วมุ่งหน้าต่อไป
หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น
แต่ละคนมีความสามารถเฉพาะตัว ที่คุณยืนอยู่ ณ จุดนี้เพราะมีคนเห็นถึงพรสวรรค์และศักยภาพของคุณ คุณอาจไม่เป็นเลิศในทุกงานที่คุณพยายามทำ แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถเป็นเลิศได้ในทุกๆ เรื่อง ถึงแม้ดูเหมือนจะมีบางคนที่ควบคุมสถานการณ์ทุกอย่างไว้ได้เป็นอย่างดี แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนที่ปรากฏแก่สายตาคนภายนอก ส่วนเบื้องหลังและเรื่องราวทั้งหมดเป็นอย่างไรนั้นไม่มีใครรู้ ดังนั้น อย่ากังวลหากคุณต้องใช้เวลานานกว่าคนอื่นในการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ บางเรื่อง และแทนที่จะปล่อยให้ความสำเร็จของผู้อื่นมาตอกย้ำข้อบกพร่องของคุณ ให้ลองพิจารณาหาวิธีพัฒนาความสามารถหรือทักษะที่คุณสนใจจะน่ารื่นรมย์กว่า เพราะการพัฒนาตนเองเป็นสิ่งที่ดีอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง แต่ก็ควรเริ่มจากแรงจูงใจที่ถูกต้อง ไม่บั่นทอนทั้งความสุขและกำลังใจ
เราทุกคนต้องการประสบความสำเร็จ แต่ความสำเร็จอาจจะไม่ต้องควบคู่มากับความสมบูรณ์แบบเสมอไป ดังนั้น ความสำเร็จที่ไม่สมบูรณ์แบบหรือแม้กระทั่งความล้มเหลวก็ไม่ได้ทำให้เรากลายเป็นคนไม่สมบูรณ์ เราอาจจะคิดว่า คนอื่นคาดหวังว่าเราจะสมบูรณ์แบบ และเราก็พยายามจะไปให้ถึงจุดนั้น แต่แท้ที่จริงแล้วนั่นเป็นเพียงภาพที่เราสร้างขึ้นเอง นำมาใช้ตัดสิน และผลักดันตัวเองให้เป็นทุกข์โดยเปล่าประโยชน์ ในทางกลับกัน การมีเมตตาและกรุณาต่อตัวเองแทนการตัดสินและกล่าวโทษต่างหากที่จะสามารถช่วยให้เรารักษามุมมองที่เป็นจริงและกระตุ้นการเติบโตที่ดีต่อทั้งร่างกายและจิตใจ
ติดตามศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:
https://www.healthline.com/health/mental-health/imposter-syndrome#overcoming-it
https://time.com/5312483/how-to-deal-with-impostor-syndrome/
https://www.verywellmind.com/imposter-syndrome-and-social-anxiety-disorder-4156469
https://www.verywellhealth.com/imposter-syndrome-5089237
ณ นาทีนั้น คุณกำลังถูกความรู้สึก “ด้อยค่า” ล่อลวงให้สงสัยในความสามารถของตนเอง รู้สึกไม่คู่ควรกับสถานภาพหรือตำแหน่งที่ดำรงอยู่ และถ้าคุณอนุญาตให้ความรู้สึกนั้นหลอกลวงอย่างต่อเนื่อง โดยไม่คิดที่จะเพิกถอนคำลวงเหล่านั้นให้เป็นโมฆะ คุณก็จะเริ่มพยายามหนักขึ้น ตั้งมาตรฐานตัวเองสูงขึ้น แล้วก็ลำบากตรากตรำตะเกียกตะกายปีนขึ้นไปให้ถึงมาตรฐานที่ตั้งไว้ เพื่อจะทำให้ตัวเองเป็นคนที่ “สูงค่า” หรือ “ควรค่า” ตามที่คุณเชื่อว่าคุณได้สร้างภาพไว้ในสายตาของผู้คนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย ในที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งในแวดวงสังคมที่คุณเป็นสมาชิก
หลังจากที่พยายามอย่างหนักเพื่อไปให้ถึงภาพที่สร้างไว้ในสายตาของผู้อื่น คุณรู้สึกดีขึ้นหรือไม่ คำชื่นชมที่คุณได้รับทำให้คุณรู้สึกภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเองมากขึ้นหรือไม่ หรือคุณคิดว่านั่นเป็นเพียงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจที่คนอื่นหยิบยื่นให้เพื่อปลอบใจเท่านั้น และทิ้งคุณไว้กับคำว่า “ยังไม่ดีพอ” ในความรู้สึกของตัวคุณเอง แล้วก็ดิ่งลงไปสู่ความซึมเศร้าเพราะไม่สามารถโน้มน้าวให้ตัวเองเชื่อได้ว่าคุณทำดีแล้ว ถ้าคุณมีความรู้สึกเช่นนี้ คุณอาจจะกำลังตกอยู่ในภาวะ Imposter Syndrome ซึ่งไม่ว่าจะพยายามยกระดับความสามารถของตนเองให้สูงขึ้นสักเท่าใดก็ไม่ช่วยให้คุณรู้สึกดีพอในสายตาของตัวเอง แต่กลับยิ่งผลักดันคุณไปสู่ความเครียด ความหดหู่ ท้อแท้ รู้สึกผิด และด้อยค่ายิ่งกว่าเดิม
คนที่ตกอยู่ในภาวะ Imposter Syndrome ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีความสามารถและประสบความสำเร็จในอาชีพการงานหรือสิ่งที่ทำ แต่มักจะคิดว่าตัวเองไม่เก่งพอ ไม่ดีพอ ไม่คู่ควรกับความสำเร็จหรือคำชมที่ได้รับ สิ่งที่ได้มาเป็นแค่เรื่องของจังหวะหรือโชคช่วย เสมือนว่าตัวเองสร้างภาพให้คนอื่นเห็นว่าตนเป็นคนมีความสามารถ แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น ความเชื่อที่บิดเบือนนี้อาจทำให้บางคนรู้สึกกลัวความล้มเหลวจนไม่กล้าริเริ่มทำสิ่งใหม่ หรือบังคับเคี่ยวเข็ญตนเองอย่างหนักเพื่อที่จะประสบความสำเร็จให้มากขึ้น หรือบางคนอาจรู้สึกระแวงว่าคนอื่นจะพบเห็นจุดบกพร่องของตนและเปิดเผยให้ได้รับความอับอาย ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ส่งผลต่ออารมณ์ บุคลิกภาพ และความสัมพันธ์กับผู้อื่น ถ้าเช่นนั้น จะหยุดความรู้สึกนี้ได้อย่างไร เพื่อไม่ให้ชีวิตต้องสะดุดทั้งในหน้าที่การงานและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
คำลวงที่อยู่กับคุณมานานจะไม่หายไปในชั่วพริบตา แต่กลยุทธ์ต่อไปนี้อาจจะพอช่วยประวิงเวลาให้คุณหยุดคิดไตร่ตรองและมองเห็นความจริงได้ชัดเจนขึ้น
รู้เท่าทันความรู้สึก
ทันทีที่คุณรับรู้ถึงความรู้สึกด้อยค่าที่ผุดขึ้นมาในห้วงคิดให้ดึงความรู้สึกนั้นออกมา เช่น “ฉันรู้สึกว่าฉันทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่ได้ ฉันไม่มีความสามารถเรื่องนี้ แต่ฉันรับปากที่จะทำเพราะทุกคนในทีมคิดว่าฉันจะทำได้ดี” ไม่จำเป็นต้องต่อต้านหรือปฏิเสธความรู้สึกนั้น แต่ให้ยอมรับว่าคุณรู้สึกเช่นนั้นจริงๆ แล้วลองบอกเล่าความรู้สึกอึดอัดนี้กับเพื่อนสนิทที่คุณไว้วางใจ การแบ่งปันความรู้สึกออกไปจะช่วยบรรเทาความหนักใจลงได้ส่วนหนึ่ง อีกทั้งยังอาจจะช่วยลดระดับความคาดหวังหรือมาตรฐานสูงลิบลิ่วที่คุณตั้งไว้ลงด้วย
สร้างสัมพันธ์
สิ่งที่คุณควรบอกกับตัวเองอย่างสม่ำเสมอคือ คุณไม่จำเป็นต้องทำทุกสิ่งให้สำเร็จได้โดยลำพัง แม้แต่ซูเปอร์ฮีโร่ที่เก่งกาจบางครั้งก็ยังต้องทำงานเป็นทีมในภารกิจกู้โลก คุณเองก็สามารถขอความช่วยเหลือจากคนอื่นในเรื่องที่ล้นมือหรือเกินกำลังสามารถของตนเอง และอีกนัยหนึ่ง คุณก็สามารถปวารณาตัวเป็นผู้สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือผู้อื่นในเรื่องที่คุณเชี่ยวชาญได้เช่นกัน การเชื่อมสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและเครือข่ายจะช่วยบรรเทาความรู้สึกโดดเดี่ยว ความรู้สึกกดดันที่จะต้องทำทุกอย่างให้สำเร็จทั้งๆ ที่ความสามารถมีจำกัด เพราะเพื่อนและเครือข่ายจะสามารถให้ทั้งคำแนะนำ ความช่วยเหลือ เติมเต็มจุดบกพร่อง และเสริมจุดแข็งของคุณได้
ตรวจสอบข้อสงสัยและยืนยันความสามารถของตัวเอง
เมื่อความรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอแวบผ่านเข้ามาในความคิดของคุณ ให้คุณฉวยไว้แล้วย้อนถามตัวเองว่าจริงหรือไม่ ไตร่ตรองถึงข้อเท็จจริงพร้อมกับหาหลักฐานมายืนยัน เช่น เมื่อคุณเห็นประกาศบนเว็บไซต์และรู้สึกสนใจการส่งผลงานเรื่องสั้นเข้าประกวด แต่ทันใดนั้นความรู้สึก “ไม่สามารถ” ก็โจมตีคุณจนไม่กล้าแม้แต่จะคิดลงมือเขียน บางทีอาจจะเป็นเพราะความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้รับการทักท้วงเมื่อสองเดือนก่อน หรืออาจจะเป็นเพราะคุณคิดว่า ที่ผู้อ่านกดไลค์ให้เรื่องสั้นในแฟนเพจของคุณเพราะความสงสารและเห็นใจ คุณลองถามตัวเองว่าความเชื่อนั้นถูกต้องจริงหรือ ผู้ติดตามแฟนเพจของคุณคือใคร และเขาจะได้ประโยชน์อะไรจากการเยินยองานเขียนของคุณ พวกเขาจะติดตามกดไลค์ให้กับงานเขียนทุกชิ้นเพราะความสงสารเท่านั้นหรือ หากเขาไม่ได้ชื่นชอบผลงานของคุณจากใจจริง การอวดอ้างอาจหลอกคนอื่นได้ในช่วงแรก แต่ผลงานที่ตามมาต่างหากที่จะเป็นสิ่งบ่งชี้และยืนยันถึงความสามารถที่แท้จริง ดังนั้น หากคุณได้รับการสนับสนุนและการยอมรับอย่างสม่ำเสมอ นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ดีว่าคุณมีความสามารถและมาถูกทางแล้ว จงโน้มตัวเข้าหาโอกาสแล้วมุ่งหน้าต่อไป
หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น
แต่ละคนมีความสามารถเฉพาะตัว ที่คุณยืนอยู่ ณ จุดนี้เพราะมีคนเห็นถึงพรสวรรค์และศักยภาพของคุณ คุณอาจไม่เป็นเลิศในทุกงานที่คุณพยายามทำ แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถเป็นเลิศได้ในทุกๆ เรื่อง ถึงแม้ดูเหมือนจะมีบางคนที่ควบคุมสถานการณ์ทุกอย่างไว้ได้เป็นอย่างดี แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนที่ปรากฏแก่สายตาคนภายนอก ส่วนเบื้องหลังและเรื่องราวทั้งหมดเป็นอย่างไรนั้นไม่มีใครรู้ ดังนั้น อย่ากังวลหากคุณต้องใช้เวลานานกว่าคนอื่นในการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ บางเรื่อง และแทนที่จะปล่อยให้ความสำเร็จของผู้อื่นมาตอกย้ำข้อบกพร่องของคุณ ให้ลองพิจารณาหาวิธีพัฒนาความสามารถหรือทักษะที่คุณสนใจจะน่ารื่นรมย์กว่า เพราะการพัฒนาตนเองเป็นสิ่งที่ดีอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง แต่ก็ควรเริ่มจากแรงจูงใจที่ถูกต้อง ไม่บั่นทอนทั้งความสุขและกำลังใจ
เราทุกคนต้องการประสบความสำเร็จ แต่ความสำเร็จอาจจะไม่ต้องควบคู่มากับความสมบูรณ์แบบเสมอไป ดังนั้น ความสำเร็จที่ไม่สมบูรณ์แบบหรือแม้กระทั่งความล้มเหลวก็ไม่ได้ทำให้เรากลายเป็นคนไม่สมบูรณ์ เราอาจจะคิดว่า คนอื่นคาดหวังว่าเราจะสมบูรณ์แบบ และเราก็พยายามจะไปให้ถึงจุดนั้น แต่แท้ที่จริงแล้วนั่นเป็นเพียงภาพที่เราสร้างขึ้นเอง นำมาใช้ตัดสิน และผลักดันตัวเองให้เป็นทุกข์โดยเปล่าประโยชน์ ในทางกลับกัน การมีเมตตาและกรุณาต่อตัวเองแทนการตัดสินและกล่าวโทษต่างหากที่จะสามารถช่วยให้เรารักษามุมมองที่เป็นจริงและกระตุ้นการเติบโตที่ดีต่อทั้งร่างกายและจิตใจ
ติดตามศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:
https://www.healthline.com/health/mental-health/imposter-syndrome#overcoming-it
https://time.com/5312483/how-to-deal-with-impostor-syndrome/
https://www.verywellmind.com/imposter-syndrome-and-social-anxiety-disorder-4156469
https://www.verywellhealth.com/imposter-syndrome-5089237
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)