รู้จัก 6 'มรดกโลก' ของไทย
มรดกโลก หรือ World Heritage เป็นคำที่เราได้ยินกันอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะในสถานที่ท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ แต่หลายคนอาจไม่ทราบความหมายของคำๆ นี้ ในบทความนี้ OKMD จึงจะนำเสนอเรื่องราวของคำว่า มรดกโลก และ 6 มรดกโลกของไทย
มรดกโลก หรือ แหล่งมรดกโลก คือ พื้นที่ซึ่งอาจจะเป็น ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ที่ได้รับการคัดเลือกจากยูเนสโก ว่าเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญ มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ที่มนุษย์หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา เพราะแม้จะเป็นทรัพย์สินของประเทศที่มรดกโลกนั้นตั้งอยู่ก็ตาม แต่เป็นสิ่งทรงคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติที่จะได้ร่วมชื่นชมและช่วยกันอนุรักษ์สืบต่อไปยังคนรุ่นหลัง
แนวคิดในการกำเนิดของมรดกโลก เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หลายๆ ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามเห็นตรงกันว่า สงครามทำลายทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และโบราณสถาน สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และธรรมชาติไปอย่างน่าเสียดาย และหากไม่มีการปกป้องรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ ในอนาคตคนรุ่นหลังจะไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ หรือชื่นชมความงดงามที่ได้ถูกสร้างสรรค์เอาไว้
องค์การยูเนสโกจึงได้ร่างอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องมรดกโลกขึ้น เพื่อสร้างความร่วมมือในประเทศภาคีในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมทั้งด้านนโยบายการบริหารเทคนิค และการเงินเพื่อสงวน คุ้มครอง และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อมวลมนุษย์ชาติให้คงอยู่ต่อไป โดยได้เริ่มประกาศขึ้นทะเบียนสถานที่ที่เป็นมรดกโลกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515
มรดกโลกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทางวัฒนธรรม และทางธรรมชาติ ซึ่งในปี พ.ศ.2564 มีมรดกโลกกระจายอยู่ใน 167 ประเทศทั่วโลก อยู่ 1,154 แห่ง เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 897 และเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ 218 แห่ง ส่วนอีก 39 แห่งเป็นแบบผสมระหว่างทั้งสองประเภท ประเทศที่มีมรดกโลกมากที่สุดในปัจจุบันคือ อิตาลี คือ 58 แห่ง
สำหรับประเทศไทยมีมรดกโลกอยู่ 6 แห่ง
เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง ได้แก่
ในปี พ.ศ. 2548 มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 ข้อ สำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 4 ข้อสำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม
ในฐานะเป็นประเทศเจ้าของแหล่ง อย่างน้อยที่สุด ก็เกิดความภาคภูมิใจที่มีสถานที่ที่มีคุณค่าและความสำคัญระดับโลก อันมีผลต่อการตระหนักรับรู้และช่วยกันอนุรักษ์สถานที่นั้นๆ ให้คงคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล และสืบทอดต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป และที่สำคัญคือ เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะนำรายได้มาให้ท้องถิ่น ชุมชน และประเทศชาติอย่างต่อเนื่องต่อไป
ข้อมูลประกอบการเขียน
https://bit.ly/3mnwvsT
https://bit.ly/3GYwRhA
http://whc.unesco.org/en/about/
https://www.bangkokbiznews.com/social/951832
มรดกโลก หรือ แหล่งมรดกโลก คือ พื้นที่ซึ่งอาจจะเป็น ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ที่ได้รับการคัดเลือกจากยูเนสโก ว่าเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญ มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ที่มนุษย์หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา เพราะแม้จะเป็นทรัพย์สินของประเทศที่มรดกโลกนั้นตั้งอยู่ก็ตาม แต่เป็นสิ่งทรงคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติที่จะได้ร่วมชื่นชมและช่วยกันอนุรักษ์สืบต่อไปยังคนรุ่นหลัง
แนวคิดในการกำเนิดของมรดกโลก เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หลายๆ ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามเห็นตรงกันว่า สงครามทำลายทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และโบราณสถาน สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และธรรมชาติไปอย่างน่าเสียดาย และหากไม่มีการปกป้องรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ ในอนาคตคนรุ่นหลังจะไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ หรือชื่นชมความงดงามที่ได้ถูกสร้างสรรค์เอาไว้
องค์การยูเนสโกจึงได้ร่างอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องมรดกโลกขึ้น เพื่อสร้างความร่วมมือในประเทศภาคีในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมทั้งด้านนโยบายการบริหารเทคนิค และการเงินเพื่อสงวน คุ้มครอง และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อมวลมนุษย์ชาติให้คงอยู่ต่อไป โดยได้เริ่มประกาศขึ้นทะเบียนสถานที่ที่เป็นมรดกโลกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515
มรดกโลกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทางวัฒนธรรม และทางธรรมชาติ ซึ่งในปี พ.ศ.2564 มีมรดกโลกกระจายอยู่ใน 167 ประเทศทั่วโลก อยู่ 1,154 แห่ง เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 897 และเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ 218 แห่ง ส่วนอีก 39 แห่งเป็นแบบผสมระหว่างทั้งสองประเภท ประเทศที่มีมรดกโลกมากที่สุดในปัจจุบันคือ อิตาลี คือ 58 แห่ง
สำหรับประเทศไทยมีมรดกโลกอยู่ 6 แห่ง
เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง ได้แก่
- เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร (พ.ศ.2534) สุโขทัยเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของชาวสยามในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 สิ่งก่อสร้างจำนวนมากแสดงถึงจุดเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมไทย ประกอบด้วยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร
- นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร (พ.ศ. 2534) กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงแห่งที่สองของชาวสยามต่อจากสุโขทัย ถูกทำลายโดยกองทัพพม่าในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซากปรักหักพังสิ่งก่อสร้างต่างๆ อาทิ ปรางค์ และอารามขนาดใหญ่แสดงถึงความงดงามและความเจริญรุ่งเรืองในอดีต
- แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง (พ.ศ.2535) เป็นที่ตั้งถิ่นฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญของวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมสังคมและเทคโนโลยีของมนุษย์ อาทิ การเกษตร การผลิต และการใช้โลหะ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้ง (พ.ศ.2534) ประกอบด้วยผืนป่าเกือบทุกประเภทที่มีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นบ้านของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ 77% (โดยเฉพาะช้างและเสือ) 50% ของนกขนาดใหญ่ และ 33% ของสัตว์มีกระดูกสันหลังบกที่พบในภูมิภาคนี้
- ผืนป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ (พ.ศ.2548) เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์กว่า 800 ชนิด ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน 112 สายพันธุ์ (รวมทั้งสัตว์น้ำสองสายพันธุ์) สัตว์ชนิดนก 392 สายพันธุ์ และสัตว์เลื้อยคลานกว่า 200 สายพันธุ์ มีระบบนิเวศป่าเขตร้อนที่สำคัญซึ่งสามารถเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อการอยู่รอดในระยะยาวของสัตว์สายพันธุ์เหล่านี้
- กลุ่มป่าแก่งกระจาน นับเป็น 'มรดกโลก' แห่งที่ 6 ของไทย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จาก 'ยูเนสโก' เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 64 ที่ผ่านมา และเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ แห่งที่ 3 ของไทย
ในปี พ.ศ. 2548 มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 ข้อ สำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 4 ข้อสำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม
- เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
- เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
- เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
- เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
- เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
- มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
- เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
- เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
- เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
- เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
ในฐานะเป็นประเทศเจ้าของแหล่ง อย่างน้อยที่สุด ก็เกิดความภาคภูมิใจที่มีสถานที่ที่มีคุณค่าและความสำคัญระดับโลก อันมีผลต่อการตระหนักรับรู้และช่วยกันอนุรักษ์สถานที่นั้นๆ ให้คงคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล และสืบทอดต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป และที่สำคัญคือ เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะนำรายได้มาให้ท้องถิ่น ชุมชน และประเทศชาติอย่างต่อเนื่องต่อไป
ข้อมูลประกอบการเขียน
https://bit.ly/3mnwvsT
https://bit.ly/3GYwRhA
http://whc.unesco.org/en/about/
https://www.bangkokbiznews.com/social/951832
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)