ลูกโป่ง ตัวช่วยสร้างบรรยากาศที่ไม่ควรมองข้าม
ในช่วงเทศกาลแห่งความสุขหรืองานปาร์ตี้ต่างๆ บริษัทห้างร้าน บ้านเรือนหลายแห่งมักจะประดับประดาตกแต่งสถานที่เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการสังสรรค์ ความรื่นเริง สนุกสนาน และหนึ่งไอเดียที่มักจะใช้กันก็คือใช้ลูกโป่งเพื่อตกแต่งสร้างสีสัน ช่วยสร้างบรรยากาศให้ปาร์ตี้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น นับได้ว่าลูกโป่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข ความรื่นเริง และการเฉลิมฉลองเลยทีเดียว
เรามักจะใช้ลูกโป่งเป็นสื่อหรือของให้แทนความรู้สึกดีๆ ระหว่างกัน และมักจะนำลูกโป่งมาจัดตกแต่งสถานที่หรือเข้าช่อเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศและช่วยให้ผู้คนรู้สึกประทับใจยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ลูกโป่งยังเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ การทหาร การขนส่ง หรือแม้แต่การตรวจวัดสภาพอากาศ ที่นักอุตุนิยมวิทยาใช้เพื่อตรวจวัดความหนาแน่นของอากาศ ความกดอากาศ อุณหภูมิอากาศในชั้นบรรยากาศ และตรวจสอบความเร็วและทิศทางลมในระดับความสูงอีกด้วย
รู้จัก “ลูกโป่ง”
ลูกโป่ง คือวัตถุรูปร่างต่าง ๆ ที่ยืดหยุ่นได้ที่ทำให้พองโดยบรรจุก๊าซ เช่น ฮีเลียม ไฮโดรเจน ไนตรัสออกไซด์ ออกซิเจน หรืออากาศไว้ภายใน ที่ทำมาจากยาง น้ำยาง พอลีคลอโรพรีน หรือผ้าไนลอน และใส่สีเพื่อความสวยงาม
ลูกโป่งที่นำมาใช้ สามารถแบ่งออกตามลักษณะของพื้นผิวลูกโป่ง ได้เป็น 3 ชนิด คือ
ลูกโป่งถือว่าเป็นของเล่นลำดับต้นๆ ที่ทำให้เด็กเสียชีวิตจากการขาดอาการหายใจ โดยพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจโดยลูกโป่งนั้นมี 2 พฤติกรรม คือ เด็กเป่าลูกโป่งเอง ในขณะที่เป่าเป็นจังหวะที่ต้องหายใจเข้าจะต้องดูดอากาศเข้าอย่างแรง เพื่อเติมลมในปอด ทำให้มีโอกาสที่ลูกโป่งจะถูกดูดเข้าไปในปากและลงไปในหลอดลมเกิดการอุดตันทางเดินหายใจได้ และอีกพฤติกรรมหนึ่งคือ เด็กเอาลูกโป่งที่ยังไม่ได้เป่าเข้าปากแล้วอมไว้หรือเคี้ยวเล่น การเผลอของเด็ก การวิ่ง ปีนป่าย หรือหัวเราะ อาจทำให้สำลัก เข้าปอด เกิดการอุดตันทางเดินหายใจได้
และนอกจากมนุษย์เราอาจจะมีความเสี่ยงจากลูกโป่งแล้ว สิ่งแวดล้อมและสัตว์ต่างๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากลูกโป่งด้วยเช่นเดียวกัน เพราะลูกโป่งที่ถูกทิ้งอย่างไม่ถูกวิธี และลูกโป่งที่ถูกปล่อยขึ้นไปในอากาศจะตกลงสู่พื้นโลกและกลายเป็นขยะ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตสัตว์ โดยเฉพาะนกและสัตว์ทะเล
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย พบว่า ลูกโป่งสวรรค์ที่มักปล่อยกันตามพิธีเปิดงานต่าง ๆ เป็นสาเหตุการตายของนกทะเลและเต่าทะเลจำนวนมาก ซึ่งลูกโป่งคือขยะทางทะเลที่อันตรายที่สุดอันดับ 1 สำหรับนกทะเล และ 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตของนกทะเลหลากหลายสายพันธุ์เกิดจากการกลืนเศษซากลูกโป่งเข้าไป เพราะเศษชิ้นส่วนลูกโป่ง มีลักษณะคล้ายหมึกหรือแมงกะพรุน ทำให้สัตว์เข้าใจผิดว่าเป็นอาหารและกลืนเข้าไปทำให้อุดตันทางเดินอาหาร และเชือกที่ผูกไว้กับลูกโป่งก็เป็นอันตรายกับสัตว์อีกด้วย ซึ่งเคยพบว่านกถูกเชือกลูกโป่งพันปีกและขา ทำให้ไม่สามารถบินหรือหาอาหารได้
ประกอบกับรายงานจากศูนย์วิจัยและมหาวิทยาลัยวาเกนนิงเกน ในเนเธอร์แลนด์ ที่พบว่าลูกโป่งที่ถูกปล่อยออกไปสามารถลอยไปได้ไกล และเมื่อลอยไปตกพื้นดินหรือทะเล สัตว์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นก เต่าทะเล โลมา วาฬ ปลา จะกินเข้าไปเพราะคิดว่าเป็นอาหาร เป็นสาเหตุให้สัตว์ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตได้
อย่างไรก็ตาม เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าลูกโป่งสีสันสวยงาม เป็นตัวช่วยสร้างบรรยากาศในเทศกาลงานเฉลิมฉลอง งานปาร์ตี้ ให้รื่นเริงสนุกสนาน แต่หากจำเป็นที่จะต้องใช้ลูกโป่งให้แทนความรู้สึกในโอกาสต่างๆ ใช้เพื่อประดับตกแต่งสถานที่สร้างบรรยากาศความรื่นเริงสนุกสนาน หรือใช้ในการประกอบพิธีการ งานประชาสัมพันธ์ต่างๆ ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของการใช้ ประโยชน์และความคุ้มค่า การใช้ซ้ำ รวมถึงการจัดเก็บและทิ้งโดยแยกประเภทของลูกโป่ง เพื่อให้สามารถนำขยะเศษลูกโป่งไปกำจัดอย่างถูกวิธีด้วย
ที่มาของข้อมูล:
https://themomentum.co/plastic-diary-ep9/
https://www.blockdit.com/posts/5e6ee95227551c0c8d4067e7
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/march-2019/children-balloon
https://zhort.link/s6U
https://www.pkballoon.com/th/articles/180797
https://www.pkballoon.com/th/articles/180748
https://zhort.link/s6V
https://www.facebook.com/Re4Reef/posts/2149711605341068/
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/73319/-sciphy-sci-
https://www.scimath.org/article-chemistry/item/7415-2017-08-08-07-10-16
เรามักจะใช้ลูกโป่งเป็นสื่อหรือของให้แทนความรู้สึกดีๆ ระหว่างกัน และมักจะนำลูกโป่งมาจัดตกแต่งสถานที่หรือเข้าช่อเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศและช่วยให้ผู้คนรู้สึกประทับใจยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ลูกโป่งยังเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ การทหาร การขนส่ง หรือแม้แต่การตรวจวัดสภาพอากาศ ที่นักอุตุนิยมวิทยาใช้เพื่อตรวจวัดความหนาแน่นของอากาศ ความกดอากาศ อุณหภูมิอากาศในชั้นบรรยากาศ และตรวจสอบความเร็วและทิศทางลมในระดับความสูงอีกด้วย
รู้จัก “ลูกโป่ง”
ลูกโป่ง คือวัตถุรูปร่างต่าง ๆ ที่ยืดหยุ่นได้ที่ทำให้พองโดยบรรจุก๊าซ เช่น ฮีเลียม ไฮโดรเจน ไนตรัสออกไซด์ ออกซิเจน หรืออากาศไว้ภายใน ที่ทำมาจากยาง น้ำยาง พอลีคลอโรพรีน หรือผ้าไนลอน และใส่สีเพื่อความสวยงาม
ลูกโป่งที่นำมาใช้ สามารถแบ่งออกตามลักษณะของพื้นผิวลูกโป่ง ได้เป็น 3 ชนิด คือ
- ลูกโป่งผิวยาง หรือ Latex Balloon เป็นลูกโป่งที่เด็กๆ เล่นกันทั่วไป เมื่ออัดก๊าซเข้าไปเต็มที่แล้วมัดปิดให้แน่นจะอยู่ได้นานประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ และนำมาอัดก๊าซปล่อยให้ลอยขึ้นสู่ฟ้าใช้ในการประกอบพิธีการและงานประชาสัมพันธ์ต่างๆ โดยจะลอยอยู่ได้นานประมาณ 6- 8 ชั่วโมง มีหลากหลายรูปทรงและราคาไม่แพงเมื่อเปรียบเทียบกับลูกโป่งชนิดอื่น สามารถย่อยสลายได้ในสภาพแวดล้อมปกติภายใน 6 เดือน – 4 ปี
- ลูกโป่งผิวพลาสติก หรือ Bubble Balloon ทำจากเนื้อพลาสติกพิเศษที่ยืดมาก สามารถเก็บก๊าซได้ดี สามารถคงอยู่ได้นานเป็นสัปดาห์ และหากอ่อนตัวลงจากก๊าซซึมออกมาสามารถเติมแก๊ส ใช้งานต่อได้ และสามารถเก็บไว้ นำมาเติมก๊าซในโอกาสที่จะใช้ครั้งต่อไปได้ แต่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
- ลูกโป่งผิวโลหะ หรือลูกโป่งฟอยล์ Foil Balloon ผลิตจากโลหะชนิดอลูมิเนียม จึงทำให้มีลักษณะของพื้นผิวเป็นมันวาวและสามารถขึ้นรูปทรงได้หลากหลายแบบ สามารถลอยอยู่ได้เป็นสัปดาห์ และสามารถเก็บลูกโป่งที่ก๊าซออกหมดแล้วและนำมาใช้ซ้ำต่อได้ ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติเช่นเดียวกับลูกโป่งผิวพลาสติก
- ลูกโป่งเติมก๊าซไฮโดรเจน (Hydrogen balloons) ก๊าซไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่ไวต่อประกายไฟ เมื่อโดนความร้อนหรือประกายไฟ ลูกโป่งจะระเบิด ซึ่งอาจทำให้เปลวไฟลวกผิวหนังและอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต
- ลูกโป่งเติมก๊าซฮีเลียม (Helium balloons) ถึงแม้ก๊าซฮีเลียมเป็นก๊าซเฉื่อยและไม่ติดไฟ แต่เป็นอันตรายได้เช่นกัน เพราะหากสูดดมก๊าซฮีเลียมเข้าไปในร่างกายมากเกินไป จะทำให้ร่างกายขาดอ็อกซิเจน หมดสติและอาจเสียชีวิตได้
ลูกโป่งถือว่าเป็นของเล่นลำดับต้นๆ ที่ทำให้เด็กเสียชีวิตจากการขาดอาการหายใจ โดยพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจโดยลูกโป่งนั้นมี 2 พฤติกรรม คือ เด็กเป่าลูกโป่งเอง ในขณะที่เป่าเป็นจังหวะที่ต้องหายใจเข้าจะต้องดูดอากาศเข้าอย่างแรง เพื่อเติมลมในปอด ทำให้มีโอกาสที่ลูกโป่งจะถูกดูดเข้าไปในปากและลงไปในหลอดลมเกิดการอุดตันทางเดินหายใจได้ และอีกพฤติกรรมหนึ่งคือ เด็กเอาลูกโป่งที่ยังไม่ได้เป่าเข้าปากแล้วอมไว้หรือเคี้ยวเล่น การเผลอของเด็ก การวิ่ง ปีนป่าย หรือหัวเราะ อาจทำให้สำลัก เข้าปอด เกิดการอุดตันทางเดินหายใจได้
และนอกจากมนุษย์เราอาจจะมีความเสี่ยงจากลูกโป่งแล้ว สิ่งแวดล้อมและสัตว์ต่างๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากลูกโป่งด้วยเช่นเดียวกัน เพราะลูกโป่งที่ถูกทิ้งอย่างไม่ถูกวิธี และลูกโป่งที่ถูกปล่อยขึ้นไปในอากาศจะตกลงสู่พื้นโลกและกลายเป็นขยะ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตสัตว์ โดยเฉพาะนกและสัตว์ทะเล
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย พบว่า ลูกโป่งสวรรค์ที่มักปล่อยกันตามพิธีเปิดงานต่าง ๆ เป็นสาเหตุการตายของนกทะเลและเต่าทะเลจำนวนมาก ซึ่งลูกโป่งคือขยะทางทะเลที่อันตรายที่สุดอันดับ 1 สำหรับนกทะเล และ 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตของนกทะเลหลากหลายสายพันธุ์เกิดจากการกลืนเศษซากลูกโป่งเข้าไป เพราะเศษชิ้นส่วนลูกโป่ง มีลักษณะคล้ายหมึกหรือแมงกะพรุน ทำให้สัตว์เข้าใจผิดว่าเป็นอาหารและกลืนเข้าไปทำให้อุดตันทางเดินอาหาร และเชือกที่ผูกไว้กับลูกโป่งก็เป็นอันตรายกับสัตว์อีกด้วย ซึ่งเคยพบว่านกถูกเชือกลูกโป่งพันปีกและขา ทำให้ไม่สามารถบินหรือหาอาหารได้
ประกอบกับรายงานจากศูนย์วิจัยและมหาวิทยาลัยวาเกนนิงเกน ในเนเธอร์แลนด์ ที่พบว่าลูกโป่งที่ถูกปล่อยออกไปสามารถลอยไปได้ไกล และเมื่อลอยไปตกพื้นดินหรือทะเล สัตว์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นก เต่าทะเล โลมา วาฬ ปลา จะกินเข้าไปเพราะคิดว่าเป็นอาหาร เป็นสาเหตุให้สัตว์ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตได้
อย่างไรก็ตาม เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าลูกโป่งสีสันสวยงาม เป็นตัวช่วยสร้างบรรยากาศในเทศกาลงานเฉลิมฉลอง งานปาร์ตี้ ให้รื่นเริงสนุกสนาน แต่หากจำเป็นที่จะต้องใช้ลูกโป่งให้แทนความรู้สึกในโอกาสต่างๆ ใช้เพื่อประดับตกแต่งสถานที่สร้างบรรยากาศความรื่นเริงสนุกสนาน หรือใช้ในการประกอบพิธีการ งานประชาสัมพันธ์ต่างๆ ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของการใช้ ประโยชน์และความคุ้มค่า การใช้ซ้ำ รวมถึงการจัดเก็บและทิ้งโดยแยกประเภทของลูกโป่ง เพื่อให้สามารถนำขยะเศษลูกโป่งไปกำจัดอย่างถูกวิธีด้วย
ที่มาของข้อมูล:
https://themomentum.co/plastic-diary-ep9/
https://www.blockdit.com/posts/5e6ee95227551c0c8d4067e7
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/march-2019/children-balloon
https://zhort.link/s6U
https://www.pkballoon.com/th/articles/180797
https://www.pkballoon.com/th/articles/180748
https://zhort.link/s6V
https://www.facebook.com/Re4Reef/posts/2149711605341068/
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/73319/-sciphy-sci-
https://www.scimath.org/article-chemistry/item/7415-2017-08-08-07-10-16
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)