รื่นรมย์กับความรู้ที่ห้องสมุดแผ่นเสียง
เมื่อมนต์เสน่ห์ของเสียงเพลงจากแผ่นเสียงในอดีตได้ถูกนำมาเล่าต่อผ่านทางห้องสมุดแผ่นเสียงที่มีแผ่นเสียงสะสมอยู่เป็นจำนวนมากรอให้ผู้คนได้เข้ามาฟัง แหล่งเรียนรู้ใจกลางกรุงเทพแห่งนี้จะทำให้เราได้รื่นรมย์กับเสียงเพลง รวมทั้งเรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของอุปกรณ์ในการกระจายเสียงตั้งแต่ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นตู้เพลง แผ่นครั่ง กล้องบันทึกภาพ เครื่องฉายภาพยนตร์ รวมถึงประวัติเรื่องราวการกำเนิดของสถานีวิทยุแห่งแรกของประเทศไทย

เสียงเพลงจากห้องสมุดแผ่นเสียง
ห้องสมุดแผ่นเสียงตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ที่ที่สะสมแผ่นเสียงตั้งแต่ในอดีต โดยสะสมมาจากทั่วประเทศ ห้องสมุดแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งรวบรวมเหตุการณ์สำคัญๆ ในอดีตไว้บอกเล่า มีเรื่องราวให้ได้เรียนรู้ทั้งจากสิ่งพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการออกอากาศ ทีวีสมัยก่อน กล้องถ่ายภาพ ไมโครโฟน ตู้เล่นแผ่นเสียง ตู้เพลงสมัยก่อนที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ หยอดเหรียญฟังเพลงได้
จากวิทยุกระจายเสียงสู่สื่อสมัยใหม่
นอกจากข่าวสารที่ส่งสู่ประชาชนแล้ว กรมประชาสัมพันธ์ยังมีเสียงเพลงในรูปแผ่นเสียงตั้งแต่ยุคเริ่มแรก เช่น แผ่นครั่ง ในยุคแรก ปัจจุบันกรมประชาสัมพันธ์มีสถานีวิทยุกระจายเสียงถึง 84 แห่ง เทคโนโลยีเปลี่ยนผ่านจากแผ่นครั่ง แผ่นไวนิล เทปคลาสเซ็ต แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี จนสู่ไฟล์ดิจิทัล ซึ่งเปลี่ยนไปตามความนิยมตามยุคสมัย

เรียนรู้ในห้องสมุดแผ่นเสียง
เรียนรู้ประวัติศาสตร์ดนตรีผ่านแผ่นเสียง ซึ่งแผ่นเสียงในห้องสมุดนั้นแบ่งทั้งตามประเภทเพลง เช่น สตริง สากล ไทยสากล ลูกทุ่ง หรือแบ่งตามวัสดุ เช่น แผ่นครั่ง ไวนิล ซึ่งมีกว่า 100,000 แผ่น หรือแบ่งตามศิลปิน มีการค้นหาได้ง่ายตามรหัสที่ติดไว้ หรือให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดช่วยเปิดให้ มีตั้งแต่ยุคแผ่นครั่งเลยทีเดียวโดยปัจจุบันมีแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลให้เลือกฟังกันในห้องสมุดด้วย ซึ่งแผ่นเสียงในอดีตจะต้องถูกเก็บรักษาและดูแลอย่างดีเพื่อให้วัสดุอยู่ได้
เสียงจากแผ่นเสียงเชื่อมโยงคนแต่ละรุ่น
ความพิเศษของแผ่นเสียงนั้นขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล แต่ละคนฟังเสียงเพลงจากแผ่นเสียงแล้วก็จะรู้สึกแตกต่างกันไป คนยุคเก่าอาจจะรู้สึกคุ้นเคย เติมเต็มในการเข้ามาฟังเสียงจากแผ่นเสียงอีกครั้ง แต่คนในยุคใหม่ที่ไม่เคยได้ยินเสียงเพลงจากแผ่นเสียงเลยอาจรู้สึกตื่นใจและเห็นถึงเสน่ห์ของแผ่นเสียงที่มีเสียงแตกต่างจากการฟังจากไฟล์ในสมัยนี้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีเครื่องเสียงและแผ่นเสียงขายอยู่โดยปรับให้เข้ากับยุคอย่างมีการปรับวัสดุและราคาให้เหมาะกับยุคสมัยปัจจุบันด้วย
ห้องสมุดแผ่นเสียงกรมประชาสัมพันธ์เปิดให้บริการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-16.30 น. โดยสามารถโทรจองคิวได้ที่เพจของพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุกรมประชาสัมพันธ์

สามารถรับชมเนื้อหาฉบับเต็ม หัวข้อ รื่นรมย์กับความรู้ที่ห้องสมุดแผ่นเสียง ในรูปแบบคลิปวิดีโอรายการ OKMD Talk ได้ทาง
Facebook : https://fb.watch/ie2lP8TvNI/
Youtube : https://youtu.be/tiRUyPSFj0I
Website : https://www.okmd.or.th/knowledgebox/363/5186/
ขอบคุณข้อมูลจากบทสัมภาษณ์คุณทัศนีย์ ผลชานิโก รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ พ.ย. 2565

เสียงเพลงจากห้องสมุดแผ่นเสียง
ห้องสมุดแผ่นเสียงตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ที่ที่สะสมแผ่นเสียงตั้งแต่ในอดีต โดยสะสมมาจากทั่วประเทศ ห้องสมุดแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งรวบรวมเหตุการณ์สำคัญๆ ในอดีตไว้บอกเล่า มีเรื่องราวให้ได้เรียนรู้ทั้งจากสิ่งพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการออกอากาศ ทีวีสมัยก่อน กล้องถ่ายภาพ ไมโครโฟน ตู้เล่นแผ่นเสียง ตู้เพลงสมัยก่อนที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ หยอดเหรียญฟังเพลงได้
จากวิทยุกระจายเสียงสู่สื่อสมัยใหม่
นอกจากข่าวสารที่ส่งสู่ประชาชนแล้ว กรมประชาสัมพันธ์ยังมีเสียงเพลงในรูปแผ่นเสียงตั้งแต่ยุคเริ่มแรก เช่น แผ่นครั่ง ในยุคแรก ปัจจุบันกรมประชาสัมพันธ์มีสถานีวิทยุกระจายเสียงถึง 84 แห่ง เทคโนโลยีเปลี่ยนผ่านจากแผ่นครั่ง แผ่นไวนิล เทปคลาสเซ็ต แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี จนสู่ไฟล์ดิจิทัล ซึ่งเปลี่ยนไปตามความนิยมตามยุคสมัย

เรียนรู้ในห้องสมุดแผ่นเสียง
เรียนรู้ประวัติศาสตร์ดนตรีผ่านแผ่นเสียง ซึ่งแผ่นเสียงในห้องสมุดนั้นแบ่งทั้งตามประเภทเพลง เช่น สตริง สากล ไทยสากล ลูกทุ่ง หรือแบ่งตามวัสดุ เช่น แผ่นครั่ง ไวนิล ซึ่งมีกว่า 100,000 แผ่น หรือแบ่งตามศิลปิน มีการค้นหาได้ง่ายตามรหัสที่ติดไว้ หรือให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดช่วยเปิดให้ มีตั้งแต่ยุคแผ่นครั่งเลยทีเดียวโดยปัจจุบันมีแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลให้เลือกฟังกันในห้องสมุดด้วย ซึ่งแผ่นเสียงในอดีตจะต้องถูกเก็บรักษาและดูแลอย่างดีเพื่อให้วัสดุอยู่ได้
เสียงจากแผ่นเสียงเชื่อมโยงคนแต่ละรุ่น
ความพิเศษของแผ่นเสียงนั้นขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล แต่ละคนฟังเสียงเพลงจากแผ่นเสียงแล้วก็จะรู้สึกแตกต่างกันไป คนยุคเก่าอาจจะรู้สึกคุ้นเคย เติมเต็มในการเข้ามาฟังเสียงจากแผ่นเสียงอีกครั้ง แต่คนในยุคใหม่ที่ไม่เคยได้ยินเสียงเพลงจากแผ่นเสียงเลยอาจรู้สึกตื่นใจและเห็นถึงเสน่ห์ของแผ่นเสียงที่มีเสียงแตกต่างจากการฟังจากไฟล์ในสมัยนี้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีเครื่องเสียงและแผ่นเสียงขายอยู่โดยปรับให้เข้ากับยุคอย่างมีการปรับวัสดุและราคาให้เหมาะกับยุคสมัยปัจจุบันด้วย
ห้องสมุดแผ่นเสียงกรมประชาสัมพันธ์เปิดให้บริการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-16.30 น. โดยสามารถโทรจองคิวได้ที่เพจของพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุกรมประชาสัมพันธ์

สามารถรับชมเนื้อหาฉบับเต็ม หัวข้อ รื่นรมย์กับความรู้ที่ห้องสมุดแผ่นเสียง ในรูปแบบคลิปวิดีโอรายการ OKMD Talk ได้ทาง
Facebook : https://fb.watch/ie2lP8TvNI/
Youtube : https://youtu.be/tiRUyPSFj0I
Website : https://www.okmd.or.th/knowledgebox/363/5186/
ขอบคุณข้อมูลจากบทสัมภาษณ์คุณทัศนีย์ ผลชานิโก รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ พ.ย. 2565
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)