แมลงทับ อัญมณีมีชีวิต
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเริ่มสนพระราชหฤทัยในปีกแมลงทับมาตั้งแต่ครั้งที่ได้ทอดพระเนตรผ้าทรงสะพักของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระบรมราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 2 แล้ว ผ้าทรงสะพักนี้มีอายุมากกว่าร้อยปี ทำด้วยผ้าไหมประดับปีกแมลงทับ ซึ่งแม้ส่วนที่เป็นผ้าไหมจะผุเปื่อยไปตามกาลเวลา แต่ปีกแมลงทับยังคงสดใสแวววาวอยู่เช่นเดิมเป็นที่อัศจรรย์ จึงเป็นแรงบันดาลพระราชหฤทัยให้มีพระราชดำริริเริ่มนำปีกแมลงทับมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ประกอบกับในระหว่างที่เสด็จเยี่ยมราษฎรภาคอีสาน มีราษฎรนำปีกแมลงทับจากซากที่ตายตามธรรมชาติมาทูลเกล้าฯ ถวาย จึงมีพระราชเสาวนีย์ให้มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นำไปประดิษฐ์เป็นงานฝีมืออันทรงคุณค่านานาชนิด รวมทั้งให้นำมาตกแต่งฉลองพระองค์ด้วย
เมื่อมีความนิยมนำปีกแมลงทับมาใช้มากขึ้นจึงทรงห่วงใยว่าแมลงทับอาจสูญพันธุ์ได้ เพราะแต่เดิมแมลงทับก็เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่ราษฎรนิยมบริโภคอยู่แล้ว หากมีการจับแมลงทับที่ยังไม่ตายเพิ่มขึ้นก็จะยิ่งเร่งให้สูญพันธุ์เร็วขึ้นอีก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มการศึกษาค้นคว้าวงจรชีวิตของแมลงทับและวิธีการเพาะเลี้ยงขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2525 โดยมี ดร.วาลุลี โรจนวงศ์ นักวิชาการด้านกีฎวิทยาและคณะจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้เริ่มดำเนินงานสนองพระราชดำริ
งานนี้เป็นงานศึกษาวิจัยที่ค่อนข้างยากเพราะยังไม่เคยมีการค้นคว้าเรื่องแมลงทับที่ชัดเจนมาก่อน ทำให้ต้องลองผิดลองถูกอยู่เป็นเวลานาน หลังจากนั้นจึงมีหน่วยงานอีกหลายหน่วยงานเข้ามาร่วมสนับสนุนโครงการทำการค้นคว้าวิจัยพื้นที่อาศัยและพืชอาหารของแมลงทับในหลายจังหวัด จนได้สถานที่อันเหมาะสมในการจัดตั้งโครงการศึกษา วิจัย ทดสอบ และพัฒนาการเพาะเลี้ยงแมลงทับอย่างครบวงจรที่บ้านคลองหมี ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นที่ดินที่นายเม้ง วงษ์พานิช น้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จำนวน 15 ไร่ 94 ตารางวา ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554 จนในที่สุดก็มีผลสำเร็จในการศึกษาวิจัยเบื้องต้นออกมาอย่างเป็นรูปธรรม
เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2565 มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ จึงจัดพิมพ์หนังสือเรื่อง แมลงทับ อัญมณีมีชีวิต ขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติคุณในโอกาสมหามงคลนี้ และเพื่อเผยแพร่พระบารมีที่ปกแผ่ไปถึงชีวิตเล็กๆ ในธรรมชาติอันสวยงามของไทยด้วย
ดาวน์โหลดหนังสือ แมลงทับ อัญมณีมีชีวิต ได้ที่นี่
เมื่อมีความนิยมนำปีกแมลงทับมาใช้มากขึ้นจึงทรงห่วงใยว่าแมลงทับอาจสูญพันธุ์ได้ เพราะแต่เดิมแมลงทับก็เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่ราษฎรนิยมบริโภคอยู่แล้ว หากมีการจับแมลงทับที่ยังไม่ตายเพิ่มขึ้นก็จะยิ่งเร่งให้สูญพันธุ์เร็วขึ้นอีก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มการศึกษาค้นคว้าวงจรชีวิตของแมลงทับและวิธีการเพาะเลี้ยงขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2525 โดยมี ดร.วาลุลี โรจนวงศ์ นักวิชาการด้านกีฎวิทยาและคณะจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้เริ่มดำเนินงานสนองพระราชดำริ
งานนี้เป็นงานศึกษาวิจัยที่ค่อนข้างยากเพราะยังไม่เคยมีการค้นคว้าเรื่องแมลงทับที่ชัดเจนมาก่อน ทำให้ต้องลองผิดลองถูกอยู่เป็นเวลานาน หลังจากนั้นจึงมีหน่วยงานอีกหลายหน่วยงานเข้ามาร่วมสนับสนุนโครงการทำการค้นคว้าวิจัยพื้นที่อาศัยและพืชอาหารของแมลงทับในหลายจังหวัด จนได้สถานที่อันเหมาะสมในการจัดตั้งโครงการศึกษา วิจัย ทดสอบ และพัฒนาการเพาะเลี้ยงแมลงทับอย่างครบวงจรที่บ้านคลองหมี ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นที่ดินที่นายเม้ง วงษ์พานิช น้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จำนวน 15 ไร่ 94 ตารางวา ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554 จนในที่สุดก็มีผลสำเร็จในการศึกษาวิจัยเบื้องต้นออกมาอย่างเป็นรูปธรรม
เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2565 มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ จึงจัดพิมพ์หนังสือเรื่อง แมลงทับ อัญมณีมีชีวิต ขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติคุณในโอกาสมหามงคลนี้ และเพื่อเผยแพร่พระบารมีที่ปกแผ่ไปถึงชีวิตเล็กๆ ในธรรมชาติอันสวยงามของไทยด้วย
ดาวน์โหลดหนังสือ แมลงทับ อัญมณีมีชีวิต ได้ที่นี่
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)