BLENDED LEARNING | บูรณาการการเรียนรู้แบบออนไลน์และออฟไลน์สำหรับคนรุ่นใหม่
ในอนาคตช่องทางการเรียนรู้แบบออนไลน์และออฟไลน์มีแนวโน้มในการควบรวมกันอย่างลงตัวสู่การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning)
ตัวอย่างการเรียนรู้แบบบูรณาการที่นำไปปรับใช้ในบริบทสังคมไทย
สื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media)
ที่มา : งานศึกษาวิจัย หัวข้อ รูปแบบการเรียนรู้สำหรับคนรุ่นใหม่ โดย สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ ความรู้ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (2560)
ตัวอย่างการเรียนรู้แบบบูรณาการที่นำไปปรับใช้ในบริบทสังคมไทย
ระบบการศึกษาแบบดั้งเดิม (Traditional Education)
- ใช้ Thai MOOCs เสริมการเรียนรู้ และใช้ MOOCs ต่างประเทศ ทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ไปแล้วในห้องเรียน
- ให้ผู้เรียนได้เล่นเกม MMORPG ฝึกทักษะการสื่อสาร / การทำงานร่วมกัน
- วางกติกาในการติดต่อกับผู้เรียนผ่านสื่อสังคม ยกตัวอย่างที่ดีพร้อมสร้างทัศนคติที่ดีให้ผู้เรียน
สื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media)
- สื่อสิ่งพิมพ์ใช้ QR code เชื่อมหน้าเว็บหรือวิดีทัศน์และเผยแพร่สื่อการสอนบน YouTube เข้าถึงคนจำนวนมาก ต้นทุนต่ำ
- ใช้เทคโนโลยี AR เพื่อสร้างภาพ holygram ที่สื่อสารได้ง่ายขึ้น
- ผลักดันให้ทำการ Digitize สื่อแบบดั้งเดิมและเผยแพร่ผ่านทางสื่อสังคม
- ส่งเสริมให้ฟังหนังสือเสียง ลดความไม่เท่าเทียมทางการเรียนรู้สำหรับผู้พิการทางสายตา
- จัดกลุ่ม Active และ Passive Learners ผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อให้เกิดระบบเพื่อนแนะนำเพื่อนและระบบพี่เลี้ยง
- ส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงวัยแบ่งปันประสบการณ์แก่คนรุ่นหลังผ่าน Youtube
- สอนจริยธรรมแก่เด็กและเยาวชนผ่านเกมที่น่าสนใจ
- สร้างเครือข่ายสังคมของผู้เชี่ยวชาญ ผู้รู้ และผู้อาวุโสในชุมชนให้แน่นแฟ้น
- เสริมเทคโนโลยี Chatbot ให้เติบโตมากขึ้นและเกิด “ผู้เชี่ยวชาญเสมือน” ในการซักถามและตอบคำถาม
- จัดสมาคมนักฟังเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ (Audiobook & Podcast Club)
- สร้าง MOOCs เป็นแหล่งเรียนรู้แบบออนไลน์ เสริมเนื้อหาที่จัดแสดงใน Learning Space
- ใช้แหล่งเรียนรู้ของชุมชนเป็นต้นทางความคิดในการปรับเปลี่ยนตัวอย่างและแบบฝึกหัดบน MOOCs ของต่างประเทศให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของไทย
- ถ่ายทอดสดผ่าน Youtube Live หรือ Facebook Live เมื่อมีการจัดกิจกรรมที่แหล่งเรียนรู้
- ส่งเสริมการเดินสำรวจชุมชน ประวัติของสถานที่สำคัญในชุมชน โดยใช้เกม AR
- พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดใช้สื่อสังคมเพื่อการเข้าถึงประชาชน พร้อมให้บริการ e – book และ audiobook ผ่าน อินเทอร์เน็ต
- ใช้ MOOCs ร่วมกับการฝึกอาชีพ เพื่อให้ได้ทักษะฝีมือ แลกเปลี่ยนการวิพากษ์งานกับคนในวงกว้างมากขึ้น
- สร้างหรือปรับใช้ Serious Game เพื่อให้ผู้เรียนรู้มีโอกาสฝึกมือปฏิบัติในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงน้อย ก่อนลงมือ ปฏิบัติในโลกจริง อาจใช้ AR/VR เพื่อความสมจริง
- ให้ผู้เรียนร่วมกันจัดงานแข่งขัน e-sport เพื่อฝึกทักษะการจัดการและทักษะการทำงานอื่นๆ
- สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสื่อสังคมเฉพาะด้าน ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกลงมือปฏิบัติมากขึ้น
- สร้างเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร เช่น จัดทำ podcast
ที่มา : งานศึกษาวิจัย หัวข้อ รูปแบบการเรียนรู้สำหรับคนรุ่นใหม่ โดย สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ ความรู้ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (2560)