การเรียนรู้ในยุคดิจิทัล (2) : เทคโนโลยีกับการเรียนรู้
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัลส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อพฤติกรรมในการใช้ชีวิตรวมถึงการเรียนรู้ โลกแห่งการเรียนรู้ได้พัฒนาไปอย่างมากจากการที่มีระบบอินเตอร์เน็ตและการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งระบบเครือข่ายความรู้ออนไลน์มีการขับเคลื่อนอย่างเห็นได้ชัด ระบบอินเตอร์เน็ตจะมีบทบาทมากขึ้นจะช่วยให้คนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญหรือในภูมิประเทศที่มีข้อจำกัดในด้านการเดินทาง ก็ยังสามารถเข้าถึงความรู้ได้ในทุกที่ทุกเวลา ในขณะที่การเรียนรู้ในพื้นที่ที่ได้ปฏิบัติจริงซึ่งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยพัฒนาเสริมทักษะด้านต่างๆ ในหลากหลายมิติ
นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปอย่างมาก มีการนำไปปรับประยุกต์ใช้ในวงการต่างๆ รวมทั้งในเรื่องของการเรียนรู้และมิติรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็น 5G VR AR IOTs แอปพลิเคชันต่างๆหรือ AI ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้และการนำไปประยุกต์ใช้ทั้งต่อผู้เรียน ผู้สอน ผู้ประกอบการรวมถึงคนทั่วไปด้วยลองมาดูกันว่าการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ยังไงกันบ้าง
BLOCKCHAIN
ระบบฐานข้อมูลที่ไม่มีศูนย์กลางในการเก็บข้อมูล จะมีการจัดเก็บกระจายเป็นเครือข่าย มีการแก้ไขได้ยาก ทำให้มีความปลอดภัยสูง สามารถเก็บแบบถาวรได้ ซึ่ง Block chain ถูกนำไปใช้ในหลายวงการ อาทิ เงิน digital (Bit coin) การเชื่อมโยงเอกสาร การโอนเงินข้ามประเทศ การเลือกตั้ง การเชื่อมโยงฐานข้อมูลลูกค้าของธุรกิจ เป็นต้น ในด้านการศึกษา อาจถูกนำมาใช้ในการเก็บข้อมูลหลักฐานการเรียนรู้และคุณวุฒิของผู้เรียน เพื่อประโยชน์ในการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบัน รวมทั้งนายจ้างสามารถหาแรงงานที่ตรงตามความต้องการได้ง่ายขึ้น
IOTs
IOTs (Internet of Things) หรือเทคโนโลยีเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้เราสามารถควบคุมสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆได้จากทุกที่ที่มีระบบอินเตอร์เน็ต เช่น การสั่งพิมพ์ภาพจากสมาร์ทโฟน อุปกรณ์เซนเซอร์ที่ช่วยจับความเคลื่อนไหวภายในบ้านหรือควบคุมอุปกรณ์ภายในบ้าน (Smart Home) ซึ่ง IOTs นั้น ใช้ได้ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กร สำนักงาน โรงเรียน หรือกระทั่งเมือง เลยทีเดียว อาทิเช่น Smart cities เพื่อช่วยบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆในเมืองให้ใช้ได้อย่างคุ้มค่า สะดวกและมีประสิทธิภาพ
สำหรับด้านการศึกษาเรียนรู้นั้น IOTs ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งสำหรับสถาบันการศึกษา ผู้เรียน ผู้สอน รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงองค์ความรู้จากทุกที่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเรียน อุปกรณ์ช่วยในการฟังอ่านเขียนสำหรับผู้เรียนที่มีปัญหาด้านต่างๆ ช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงองค์ความรู้สำหรับคนทุกกลุ่ม ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับโรงเรียนในการบริหารจัดการทรัพยากรของโรงเรียนให้คุ้มค่า ช่วยส่งเสริมการรักษาความปลอดภัยของโรงเรียน นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเรียนร็รู้จากทุกคนทั่วโลกให้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้จากที่ไหนก็ได้แบบ real time ผ่านเครื่องมือเช่นแอปพลิเคชัน หรือเครื่องมืออื่นๆ ในปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆอย่างเช่น เครื่องพิมพ์ 3D printer เพื่อให้เห็นเป็นรูปร่างให้จับต้องได้ หรือการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมต่างๆเพื่อสั่งงานก็จะมีบทบาทมากขึ้น เป็นต้น
Big Data
เมื่อโลกยุคดิจิทัลอัดแน่นไปด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ซึ่งการจัดการข้อมูลที่ดีจะนำไปสู่โอกาสในการบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ปรับปรุงและวางแผนต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น Big Data ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในหลายภาคส่วนทั้งองค์กรและธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มการแพร่ของโรคระบาดซึ่งจะช่วยยับยั้งและเตรียมการป้องกันได้ การอัพเดทข้อมูลอาชีพของประเทศในแต่ละชุมชน การรวบรวมข้อมูลการฟังเพลงหรือการซื้อของและวิเคราะห์เพื่อแนะนำสินค้าที่เหมาะสมให้แก่ผู้ซื้อ การพยากรณ์อากาศ การวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ การวางแผนเส้นทางการเดินทาง ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษา/วางแผน/ทำนายถึงแนวโน้ม/สถานการณ์ หรือพฤติกรรมทางด้านการบริโภค การตลาด การลงทุน รวมถึงด้านทางสังคมและเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น
สำหรับด้านการศึกษาเรียนรู้นั้น Big data ถูกนำมาใช้งานและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์หลายด้าน อาทิ การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เรียนจากระบบการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) การวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อดูแนวโน้มการประกอบอาชีพและสามารถนำไปปรับปรุงกลยุทธ์การเรียนการสอนพัฒนาหลักสูตรให้ดีขึ้น ช่วยในระบบการให้เกรด และยังช่วยวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งความสนใจของนักเรียนเพื่อช่วยในการวางแผนอาชีพได้ด้วย
แพล็ตฟอร์มการเรียนรู้ และการปรับตัวในยุคดิจิทัล
แพล็ตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคนี้ที่การเรียนรู้สามารถเข้าถึงได้ง่ายจากทุกที่ทุกเวลา บางครั้งก็ถูกนำมาใช้ในช่วงวิกฤติสถานการณ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถไปเรียนได้ด้วย เช่นในช่วงที่มีสถานการณ์โรคระบาดหรือภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นแพล็ตฟอร์มการเรียนออนไลน์ของแหล่งต่างๆ แพล็ตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดของสถาบันต่างๆ (MOOCs) คอร์สออนไลน์ตามความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งทั้งสถาบันการศึกษา หรือภาคเอกชน รวมทั้งตัวบุคคลก็สามารถแชร์องค์ความรู้ความเชี่ยวชาญของตนเองได้
สถาบันการศึกษา โรงเรียน และผู้ปกครอง ก็มีการปรับตัวและเตรียมพร้อมในยุคดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ในด้านเทคโนโลยี แต่รวมถึงการปรับตัวและปรับหลักสูตรเพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่สามารถติดอาวุธ พัฒนาทักษะชีวิต/ทักษะอาชีพในหลายๆด้านที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลได้ อาทิ การปรับหลักสูตรการเรียนรู้ให้บูรณาการระหว่างคณะต่างๆ การเรียนโดยไม่จำกัดแผนการเรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามวิชาที่ตนสนใจ การเพิ่มวิชาการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเข้าไปในหลักสูตรไม่ว่าจะเป็น AI Coding ให้นักศึกษาได้เลือกเรียน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการศึกษาทั้งในและนอกระบบต่างปรับตัวตามพฤติกรรมและบริบทที่เปลี่ยนไปในยุคดิจิทัลซึ่งใครก็ตามก็สามารถเรียนรู้ได้ เป็นยุคแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกวัยที่สามารถแสวงหาความรู้ได้จากทั้งทางออฟไลน์และออนไลน์เลย
นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปอย่างมาก มีการนำไปปรับประยุกต์ใช้ในวงการต่างๆ รวมทั้งในเรื่องของการเรียนรู้และมิติรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็น 5G VR AR IOTs แอปพลิเคชันต่างๆหรือ AI ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้และการนำไปประยุกต์ใช้ทั้งต่อผู้เรียน ผู้สอน ผู้ประกอบการรวมถึงคนทั่วไปด้วยลองมาดูกันว่าการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ยังไงกันบ้าง
BLOCKCHAIN
ระบบฐานข้อมูลที่ไม่มีศูนย์กลางในการเก็บข้อมูล จะมีการจัดเก็บกระจายเป็นเครือข่าย มีการแก้ไขได้ยาก ทำให้มีความปลอดภัยสูง สามารถเก็บแบบถาวรได้ ซึ่ง Block chain ถูกนำไปใช้ในหลายวงการ อาทิ เงิน digital (Bit coin) การเชื่อมโยงเอกสาร การโอนเงินข้ามประเทศ การเลือกตั้ง การเชื่อมโยงฐานข้อมูลลูกค้าของธุรกิจ เป็นต้น ในด้านการศึกษา อาจถูกนำมาใช้ในการเก็บข้อมูลหลักฐานการเรียนรู้และคุณวุฒิของผู้เรียน เพื่อประโยชน์ในการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบัน รวมทั้งนายจ้างสามารถหาแรงงานที่ตรงตามความต้องการได้ง่ายขึ้น
IOTs
IOTs (Internet of Things) หรือเทคโนโลยีเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้เราสามารถควบคุมสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆได้จากทุกที่ที่มีระบบอินเตอร์เน็ต เช่น การสั่งพิมพ์ภาพจากสมาร์ทโฟน อุปกรณ์เซนเซอร์ที่ช่วยจับความเคลื่อนไหวภายในบ้านหรือควบคุมอุปกรณ์ภายในบ้าน (Smart Home) ซึ่ง IOTs นั้น ใช้ได้ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กร สำนักงาน โรงเรียน หรือกระทั่งเมือง เลยทีเดียว อาทิเช่น Smart cities เพื่อช่วยบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆในเมืองให้ใช้ได้อย่างคุ้มค่า สะดวกและมีประสิทธิภาพ
สำหรับด้านการศึกษาเรียนรู้นั้น IOTs ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งสำหรับสถาบันการศึกษา ผู้เรียน ผู้สอน รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงองค์ความรู้จากทุกที่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเรียน อุปกรณ์ช่วยในการฟังอ่านเขียนสำหรับผู้เรียนที่มีปัญหาด้านต่างๆ ช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงองค์ความรู้สำหรับคนทุกกลุ่ม ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับโรงเรียนในการบริหารจัดการทรัพยากรของโรงเรียนให้คุ้มค่า ช่วยส่งเสริมการรักษาความปลอดภัยของโรงเรียน นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเรียนร็รู้จากทุกคนทั่วโลกให้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้จากที่ไหนก็ได้แบบ real time ผ่านเครื่องมือเช่นแอปพลิเคชัน หรือเครื่องมืออื่นๆ ในปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆอย่างเช่น เครื่องพิมพ์ 3D printer เพื่อให้เห็นเป็นรูปร่างให้จับต้องได้ หรือการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมต่างๆเพื่อสั่งงานก็จะมีบทบาทมากขึ้น เป็นต้น
Big Data
เมื่อโลกยุคดิจิทัลอัดแน่นไปด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ซึ่งการจัดการข้อมูลที่ดีจะนำไปสู่โอกาสในการบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ปรับปรุงและวางแผนต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น Big Data ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในหลายภาคส่วนทั้งองค์กรและธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มการแพร่ของโรคระบาดซึ่งจะช่วยยับยั้งและเตรียมการป้องกันได้ การอัพเดทข้อมูลอาชีพของประเทศในแต่ละชุมชน การรวบรวมข้อมูลการฟังเพลงหรือการซื้อของและวิเคราะห์เพื่อแนะนำสินค้าที่เหมาะสมให้แก่ผู้ซื้อ การพยากรณ์อากาศ การวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ การวางแผนเส้นทางการเดินทาง ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษา/วางแผน/ทำนายถึงแนวโน้ม/สถานการณ์ หรือพฤติกรรมทางด้านการบริโภค การตลาด การลงทุน รวมถึงด้านทางสังคมและเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น
สำหรับด้านการศึกษาเรียนรู้นั้น Big data ถูกนำมาใช้งานและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์หลายด้าน อาทิ การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เรียนจากระบบการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) การวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อดูแนวโน้มการประกอบอาชีพและสามารถนำไปปรับปรุงกลยุทธ์การเรียนการสอนพัฒนาหลักสูตรให้ดีขึ้น ช่วยในระบบการให้เกรด และยังช่วยวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งความสนใจของนักเรียนเพื่อช่วยในการวางแผนอาชีพได้ด้วย
แพล็ตฟอร์มการเรียนรู้ และการปรับตัวในยุคดิจิทัล
แพล็ตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคนี้ที่การเรียนรู้สามารถเข้าถึงได้ง่ายจากทุกที่ทุกเวลา บางครั้งก็ถูกนำมาใช้ในช่วงวิกฤติสถานการณ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถไปเรียนได้ด้วย เช่นในช่วงที่มีสถานการณ์โรคระบาดหรือภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นแพล็ตฟอร์มการเรียนออนไลน์ของแหล่งต่างๆ แพล็ตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดของสถาบันต่างๆ (MOOCs) คอร์สออนไลน์ตามความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งทั้งสถาบันการศึกษา หรือภาคเอกชน รวมทั้งตัวบุคคลก็สามารถแชร์องค์ความรู้ความเชี่ยวชาญของตนเองได้
สถาบันการศึกษา โรงเรียน และผู้ปกครอง ก็มีการปรับตัวและเตรียมพร้อมในยุคดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ในด้านเทคโนโลยี แต่รวมถึงการปรับตัวและปรับหลักสูตรเพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่สามารถติดอาวุธ พัฒนาทักษะชีวิต/ทักษะอาชีพในหลายๆด้านที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลได้ อาทิ การปรับหลักสูตรการเรียนรู้ให้บูรณาการระหว่างคณะต่างๆ การเรียนโดยไม่จำกัดแผนการเรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามวิชาที่ตนสนใจ การเพิ่มวิชาการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเข้าไปในหลักสูตรไม่ว่าจะเป็น AI Coding ให้นักศึกษาได้เลือกเรียน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการศึกษาทั้งในและนอกระบบต่างปรับตัวตามพฤติกรรมและบริบทที่เปลี่ยนไปในยุคดิจิทัลซึ่งใครก็ตามก็สามารถเรียนรู้ได้ เป็นยุคแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกวัยที่สามารถแสวงหาความรู้ได้จากทั้งทางออฟไลน์และออนไลน์เลย