OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

ปัจจัยสี่ | นวัตกรรม ธุรกิจ และการปรับตัวที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด19

6417 | 17 กรกฎาคม 2563
ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ทำให้เกิดนวัตกรรม หรือการแก้ปัญหาทางธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหา เสนอทางเลือกใหม่ให้แก่ประชาชน ลองมาดูตัวอย่างไอเดียต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เห็นถึงโอกาสและแรงบันดาลใจในการคิดค้นสิ่งใหม่เพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่และสิ่งรอบตัวในการดำเนินชีวิต

วิถีชีวิต | อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม สุขภาพ
สถานการณ์ที่ต้องใช้ชีวิตที่บ้านมากขึ้น ทำให้เกิดพฤติกรรมความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป เช่น มีการทำอาหารเองมากขึ้น ใช้พื้นที่ใช้สอยกับกิจกรรมต่างๆ ที่บ้านมากขึ้น ทำให้ธุรกิจและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีความต้องการมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น
อาหาร
  • ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการอาหารการกิน ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหารเองหรือการสั่งซื้อ ล้วนมีปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้น เกิดผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจหลายๆ อย่างที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไปมากขึ้น ซึ่งคนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสั่งซื้อทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ทั้งวงจรที่เกี่ยวข้องกับการขายอาหารออนไลน์เติบโตขึ้นด้วย เช่น การขนส่ง แพกเกจจิ้ง การถ่ายรูป เป็นต้น
  • ธุรกิจอาหารดิลิเวอรี่ มีความนิยมเพิ่มขึ้น โดยพบว่า ร้านอาหารแบบดิลิเวอรี่อย่างเดียวเปิดใหม่กว่า 1,000 ร้าน (ช่วงเดือน เม.ย.63) โดยโตเกือบ 400% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เกิดการปรับตัวของธุรกิจและรูปแบบการบริโภค อาทิ การซื้ออาหารและวัตถุดิบผ่านทางช่องทางออนไลน์ ทำให้ Supplier ของกลุ่มอาหารออนไลน์เติบโตมากขึ้น ทั้งแพล็ตฟอร์มการสั่งของออนไลน์ของซูเปอร์มาร์เก็ต แพล็ตฟอร์ม Supplier ส่งวัตถุดิบอาหารให้ร้านค้า เช่น Freshket ก็ได้ขยับฐานลูกค้ามายังกลุ่มประชาชนทั่วไปด้วย นอกจากนี้ก็มีการปรับตัวของผู้ประกอบการในการค้าขายวัตถุดิบสินค้าเกษตรจากในตลาดเป็นรถพุ่มพวงเพื่อขายวัตถุดิบอาหารถึงหน้าบ้านและเข้าถึงชุมชนมากขึ้นด้วย อาทิ รถพุ่มพวงจากตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง เป็นต้น
    ข้อมูล: https://brandinside.asia
  • จากการขาดรายได้ ทำให้บางคนเริ่มขาดแคลนอาหาร ของใช้ จึงเกิดรูปแบบการแบ่งปันต่างๆ ขึ้นเพื่อบริจาคและแบ่งปันให้แก่ผู้ขาดแคลน อาทิ เครื่องจ่ายข้าวอัตโนมัติเพื่อบริจาคข้าวให้ผู้ยากไร้  ตู้ปันสุข


    Photo by Norma Mortenson from Pexels

ที่อยู่อาศัย

  • เพราะคนต้องใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมากขึ้น เฟอร์นิเจอร์และของใช้ภายในบ้านจึงได้รับการตอบรับมากขึ้นด้วย อาทิ เฟอร์นิเจอร์สำหรับทำงานที่บ้าน อุปกรณ์เครื่องทำครัว ของใช้ตกแต่งบ้าน ในต่างประเทศที่เป็นที่นิยม ได้แก่ สายฉีดชำระ อันเนื่องมาจากการขาดแคลนของกระดาษชำระ ทำให้ในต่างประเทศมีการซื้อสายฉีดชำระเพิ่มมากขึ้น เป็นสินค้ายอดฮิตในเว็บไซต์ Amazon

     
    Photo by Ken Tomita from Pexels

  • ต้นไม้และพืชผัก จากการที่ต้องอาศัยในบ้านมากขึ้น ทำให้ผู้คนต่างแสวงหาต้นไม้ดอกไม้เพื่อมาเพิ่มความสดชื่นยามอยู่บ้านกันมากขึ้น นอกจากเพิ่มความสดชื่นแล้ว พืชผักสำหรับปลูกเพื่อกินก็ได้รับความนิยมไม่น้อย ทำให้ธุรกิจและอาชีพที่เกี่ยวข้องเป็นที่นิยมขึ้นไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจเกี่ยวกับต้นไม้ในบ้าน เมล็ดพันธ์พืชผักสวนครัว อุปกรณ์การปลูกต่างๆ  บล็อกเกอร์ต่างๆก็นำเสนอเนื้อหาด้านนี้มากขึ้นด้วย


    Photo by Karolina Grabowska from Pexels
เครื่องนุ่งห่ม-สิ่งทอ
  • ธุรกิจสิ่งทอที่ได้รับความสนใจมากขึ้น เมื่อคนแสวงหาอุปกรณ์ป้องกันตนเองจากโรคระบาด ทำให้นวัตกรรมสิ่งทอถูกพัฒนาไปมากขึ้นเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับทำอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ เช่น หน้ากากผ้า หน้ากากผ้าได้เกิดขึ้นและมีการพัฒนาคุณสมบัติของผ้าตามไปด้วย โดยหน้ากากผ้ากันน้ำถือเป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นและพัฒนาเพื่อทดแทนหน้ากากอนามัยที่ขาดแคลน ตัวอย่างเช่น หน้ากากผ้านาโน หน้ากากสะท้อนน้ำ THAMMASK  หน้ากากผ้า win mask  หน้ากาก Zsafe เป็นต้น


สุขภาพ
  • เกิดนวัตกรรมหลายอย่างที่ช่วยในการติดตามสถานะของผู้ติดเชื้อ อาทิ Sentinel Healthcare สตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกาสร้างแอปพลิเคชัน Sentinel Fever Tracker ที่สามารถช่วยดูแลระบบสุขภาพ ซึ่งโรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐและนายจ้างใช้ติดตามสถานะผู้ที่เข้าข่ายเสี่ยงติดเชื้อ ซึ่งสามารถดูแลสุขภาพและติดตามผู้ป่วยแต่ละราย ติดตามการแพร่ระบาดของโลกได้ สำหรับประเทศไทยนั้นก็มีแอปพลิเคชัน Covid Tracker จากบริษัท 5 lab ที่ช่วยให้เห็นสถานะของผู้ป่วยติดเชื้อโควิดของประเทศไทยด้วย


    ภาพ: https://covidtracker.5lab.co

  • การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจคนไข้ อาทิ การใช้หุ่นยนต์หรือ AI เข้ามาช่วยในระบบการตรวจต่างๆ ตัวอย่างเช่น Ninja Robot ที่ถูกนำมาใช้ในโรงพยาบาลบางแห่งเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค ใช้เพื่อให้ผู้ป่วยคุยกับแพทย์ผ่านทางวีดีโอแชทในรายที่อาการไม่สาหัส ซึ่งช่วยปกป้องแพทย์ไม่ต้องเข้าใกล้ผู้ป่วยได้
    ที่มา : www.straitstimes.com
อินเตอร์เน็ต | การเรียนรู้และการทำงาน
เทคโนโลยีการสื่อสารอาจถือเป็นปัจจัยที่ 5 ที่เข้ามาช่วยในการดำเนินชีวิตสะดวกขึ้น ทั้งในเรื่องการเรียนรู้และการทำงานให้ขับเคลื่อนไปได้ในช่วงที่เกิดโรคระบาดนี้
  • แพล็ตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ ซึ่งเดิมมีอยู่แล้ว ก็ถูกขับเคลื่อนเพื่อนำมาใช้มากขึ้นทั้งเพื่อใช้ในระบบการเรียนการสอนของโรงเรียนและแพล็ตฟอร์มการเรียนรู้สาธารณะ อาทิ Youku ที่ใช้ในการเรียนออนไลน์ของจีนในช่วงที่ปิดสถานศึกษาต่างๆและเรียนออนไลน์แทน 
  • แพล็ตฟอร์มการเรียนรู้หลากหลายด้านที่สามารถเรียนรู้ทางออนไลน์ได้ เช่น Amazon แพล็ตฟอร์มเรียนรู้ทักษะต่างๆ เช่น Skillshare SkillLane แพล็ตฟอร์มเรียนรู้ภาษาต่างๆ เช่น BBC แพล็ตฟอร์มเรียนรู้ด้านวิทยาสาสตร์และดาราศาสตร์ เช่น NASA  แพล็ตฟอร์มเรียนรู้ด้านกิจกรรมต่างๆ ตามวัย เช่น YOUTUBE Learning  แพล็ตฟอร์มเรียนรู้ด้านศิลปะและนิทรรศการผ่านมิวเซียมออนไลน์ เช่น Google Arts & Culture’s Collection เป็นต้น
  • Video Conference ถือเป็นเครื่องมือที่เข้ามามีบทบาทในการทำงานออนไลน์เป็นอย่างมาก และมีหลายแอปพลิเคชันให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น Application Zoom ก่อตั้งโดย Eric Yuan ชาวจีน ซึ่งมีคนใช้เป็นจำนวนมากกว่า 40 ล้านคนทั่วโลก รองรับการประชุมได้ถึง 1,000 คน และแบบฟรีประชุมได้ 100 คน มีฟีเจอร์รองรับหลายรูปแบบทั้งระบบการยกมือเพื่อขอพูดคุยในกรณีที่มีผู้เข้าประชุมจำนวนมาก การเปลี่ยน Background ของตนเองในการประชุม เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีแอปพลิเคชันอีกหลายแห่งที่ใช้ในการประชุมออนไลน์ อาทิ Google Webex ฯลฯ

     
    Photo by Anna Shvets from Pexels


   


ส่องโอกาสสร้างอาชีพ

21st Century Skills : ทักษะแห่งอนาคต
7231
เล่น เรียนรู้ พัฒนาทักษะ กับ 10 แพล็ตฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์สำหรับเด็ก
3101
10 เทรนด์การเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
10897
รวมมิตร ช่องทางออนไลน์ต่อยอดองค์ความรู้และประกอบอาชีพ
5132
เติมความรู้ กับ 5 Digital Library
5670
5 แหล่งเรียนรู้สาธารณะน่าสนใจรอบโลก
5285
ฟัง เรียน รู้ กับ 5 PODCAST น่าสนใจ
3960
เรียนรู้จากที่บ้าน | เรียนรู้ไม่มีวันหยุด กับ 10 แพล็ตฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์ที่น่าสนใจ
3936
การเรียนรู้ในยุคดิจิทัล (2) : เทคโนโลยีกับการเรียนรู้
5607

Pages: 1 2 Next