OKMD The Knowledge Talk
หลักการและเหตุผล
สำนักโครงการและจัดการความรู้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ได้จัดงานสัมมนา OKMD Fast Forward Talk ครั้งที่ 1-3 ในปีงบประมาณ 2557 ซึ่งได้รับการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดียิ่ง ดังนั้นจึงตระหนักถึงความสำคัญในการนำองค์ความรู้ นำมาวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อถ่ายทอดและ เผยแพร่องค์ความรู้อย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2558
โดยจัดงานสัมมนา OKMD Fast Forward Talk ครั้งที่ 4-7 ขึ้น จำนวน 4 ครั้ง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือน กรกฎคม 2558 ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่วัย 15-35 ปี รวมถึงประชาชนที่สนใจ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ พัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป โดยมุ่งเน้นประเด็นการศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ของตลาดสินค้าและบริการสร้างสรรค์ เพื่อชี้ช่องโอกาสในการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับคุณภาพชีวิต
ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคสินค้าและบริการในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มีความอ่อนไหวต่อการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ใน พ.ศ. 2558 ซึ่งมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ ได้แก่
การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวสําหรับประชากร 600 ล้านคนในอาเซียน มีประเด็นความร่วมมือ ครอบคลุมการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และบุคลากรวิชาชีพต่างๆ ให้มีความ สะดวกและเสรีมากขึ้น
การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบาย ที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยการส่งเสริม SMEs และการเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันผ่านโครงการต่างๆ
การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยเน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศ ภายนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีจุดร่วมกันอย่างชัดเจน รวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่าย การผลิต หรือจําหน่ายสินค้าภายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก
นอกจากนี้ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกยังส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคและการผลิตของคนไทย เช่น เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรศาสตร์ที่ทำให้ประเทศมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น กระแสการให้ความสำคัญในการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การพัฒนาสู่ความเป็นเมืองที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน บทบาทของดิจิตอล เทคโนโลยีที่เปลี่ยนพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ และช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ และโครงสร้าง ทางเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียนที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ประชาชนคนรุ่นใหม่ต้องมีความตระหนักและรู้เท่าทันการ เปลี่ยนแปลง สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินชีวิตและเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจในอนาคตได้ อย่างมีประสิทธิภาพ