“ไม้เล่นได้” ของเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น
การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา มีของเล่นเป็นสื่อกลางที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในอดีตของเล่นพื้นบ้านมักจะเป็นของที่ผลิตขึ้นเอง และประยุกต์ดัดแปลงไปตามธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ซึ่งแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างหลากหลายกันไป ของเล่นพื้นบ้านจึงเป็นวัตถุทางวัฒนธรรมที่สะท้อนถึงสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาของผู้ใหญ่รุ่นปู่ย่าตายาย การจัดทำของเล่นไม้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชน แล้วยังสามารถนำมาทำเป็นอาชีพเพื่อหารายได้ต่อไป
ตัวอย่างขั้นตอนการผลิตของเล่นพื้นบ้านชนิดต่างๆ มีดังนี้
นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาต่อยอดอาชีพนี้ต่อไปอีก เช่น การเพ้นท์สีบนของเล่นตามจินตนาการ, การจัดเป็นชุดของขวัญตามเทศกาล, การผลิตแบบแยกส่วนให้ลูกค้านำไปประกอบเอง เป็นต้น
ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 8436.09 KB)
ตัวอย่างขั้นตอนการผลิตของเล่นพื้นบ้านชนิดต่างๆ มีดังนี้
- รถไม้ไผ่ เช่น รถเก๋ง รถแวน รถตู้ รถเต่า รถกระบะ รถโฟร์วิว ประกอบด้วยการทำพื้นรถ การทำด้านข้าง การทเพลาและล้อ การทำพวงมาลัย การทำเบาะรถ แล้วจึงตกแต่งรถไม้ไผ่ไปตามแต่ละชนิดของรถ
- รถไฟไม้ไผ่ ประกอบด้วยการทำตู้โดยสารและหัวรถจักรจากลำไม้ไผ่ตัดเป็นท่อน ทำตัวเชื่อมระหว่างตู้โดยสาร ทำล้อและเพลารถ
- ชุดเปลเด็ก ประกอบด้วยการทำโครงเปลจากไม้ไผ่ การสานตอกเป็นตัวเปล และผูกเชือกตัวเปลเข้ากับโครงเปล
- ใบพัดหมุน (กำหมุน) ประกอบด้วยการทำกระบอกใบพัด ก้านใบพัด ตัวใบพัด แล้วประกอบเข้าด้วยกัน ผูกเชือกกับที่จับสำหรับดึงแล้วมัดกับก้านใบพัด
- สัตว์จากกะลามะพร้าว ประกอบด้วยการทำตัวสัตว์จากกะลา ทำหัวและหางจากเศษไม้ ทำแกนล้อและล้อ ประกอบทุกส่วนเข้าด้วยกัน ใช้เชือกและหนังยางช่วยในการทำให้สัตว์เคลื่อนที่
- เดินกะลา โดยการผ่ากะลาเป็น 2 ซีก เจาะรู้แล้วร้อยเชือก
นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาต่อยอดอาชีพนี้ต่อไปอีก เช่น การเพ้นท์สีบนของเล่นตามจินตนาการ, การจัดเป็นชุดของขวัญตามเทศกาล, การผลิตแบบแยกส่วนให้ลูกค้านำไปประกอบเอง เป็นต้น
ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 8436.09 KB)