เอกสารเผยแพร่
ศิลปะของเด็กเล็ก ไม่เน้นความเหมือนจริง แต่มุ่งเน้นที่การถ่ายทอดสิ่งที่เห็น สิ่งที่จินตนาการ ออกมาเป็นรูปธรรม
เด็กเล็กมุ่งเน้นที่การพัฒนาผิวสัมผัส สมดุลร่างกาย และสัมพันธภาพของร่างกาย ผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหว
จุดมุ่งหมายของการพัฒนาด้านภาษาของเด็ก คือ ต้องการให้เด็กคิดเป็น สื่อสารเป็น ใช้การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เป็นเครื่องมือในการสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เด็กเล็กเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่นามธรรม จากสิ่งใกล้ตัวสัมผัสจับต้องได้ ไปสู่สิ่งที่ไกลตัวออกไป แล้วเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ที่รับรู้มาจากง่ายไปสู่ยากและซับซ้อนขึ้นตามลำดับ
สมองเรียนรู้ได้ดีเมื่อมีสิ่งจูงใจ สิ่งจูงใจจะชักนำให้สมองผลิตความรู้ และบันทึกข้อมูลในเรื่องที่ต้องการให้เรียนรู้ เป็นการตะล่อมสร้างกรอบให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปตามเจตจำนงของผู้จัดการเรียนรู้
ประเมินพัฒนาการความก้าวหน้าเทียบกับตัวเด็กเอง เพื่อช่วยเหลือให้เด็กก้าวสู่ระดับที่สูงขึ้นด้วยพื้นฐานความเข้าใจที่มั่นคง
เด็กและผู้ปกครอง คือส่วนหนึ่งของชุมชน จึงต้องเรียนรู้จักแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ผ่านกิจกรรมที่ได้ปฏิสัมพันธ์กับชุมชนด้วยตนเอง
สมองส่วนรับสัมผัส และส่วนเคลื่อนไหว ของเด็กปฐมวัย กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว การจัดประสบการณ์การเรียนรู้จึงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาระบบการเคลื่อนไหว และระบบรับสัมผัสควบคู่ไปกับอารมณ์เชิงบวก
สิ่งแวดล้อมมีผลต่อการเรียนรู้ ในเด็กเล็กที่สมองกำลังเก็บรับประสบการณ์จากการรับสัมผัส
หลักการพัฒนาสมองใช้ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในภาคการผลิตเพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ยั่งยืน