ผลิตเครื่่องเล่นดนตรีพื้นบ้าน "สะล้อ"
“สะล้อ” เครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา เป็นเครื่องเล่นดนตรีประจำภาคเหนือ หากบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่คนพื้นเมืองที่อยู่ภาคเหนือจะนึกถึงดนตรีพื้นบ้านล้านนา ส่วนใหญ่คงจะนึกถึง "สะล้อและซึง" เป็นอันดับแรก เนื่องจากสะล้อและซึงเป็นสัญลักษณ์ของดนตรีพื้นบ้านล้านนา สะล้อจะประกอบไปด้วย 2 สาย คือ สายทุ้ม และ สายเอก สายทุ้ม (สายเปล่า) จะเท่ากับ เสียง "โด" สายเอก (สายเปล่า) จะเท่ากับเสียง "ซอล" เวลาเล่นใช้มือซ้ายจับคันสะล้อให้พอดีที่จะสามารถใช้นิ้วทั้ง 4 กดลงบนตำแหน่งเสียงได้ถนัดและบังคับคันซอไม่ให้โอนเอนหรือล้ม มือขวาจับคันชักสะล้อ บังคับให้วางและสีในแนวนอน
กระบวนการผลิตโดยย่อมีดังนี้ ใช้ไม้สักหน้าตัดกลมหรือวงรี ขนาดยาวกว้างที่เหมาะสมเสียบทะลุกะลามะพร้าวที่ปิดด้วยตาดสะล้อเป็นตัวและคันสะล้อ ใส่สายลวดกีตาร์ 2 สาย ติดตั้งลูกบิดหรือหลัก สะล้อ หย่องหรือก๊อบสะล้อ ใช้ไม้โค้งงอคล้ายคันศร ขึงด้วยหางม้าหรือสายเอ็นเส้นเล็กๆ เรียกว่าคันชักหรือก๋งสะล้อสำหรับสีกับสายสะล้อให้เกิดเสียง
อาชีพการผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนาอาจพัฒนาไปอีกก้าวหนึ่ง ด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในขั้นตอนออกแบบ ซึ่งจะช่วยให้ “สะล้อ” มีรูปลักษณ์ใหม่ๆ ตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น
ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 2131.91 KB)
กระบวนการผลิตโดยย่อมีดังนี้ ใช้ไม้สักหน้าตัดกลมหรือวงรี ขนาดยาวกว้างที่เหมาะสมเสียบทะลุกะลามะพร้าวที่ปิดด้วยตาดสะล้อเป็นตัวและคันสะล้อ ใส่สายลวดกีตาร์ 2 สาย ติดตั้งลูกบิดหรือหลัก สะล้อ หย่องหรือก๊อบสะล้อ ใช้ไม้โค้งงอคล้ายคันศร ขึงด้วยหางม้าหรือสายเอ็นเส้นเล็กๆ เรียกว่าคันชักหรือก๋งสะล้อสำหรับสีกับสายสะล้อให้เกิดเสียง
อาชีพการผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนาอาจพัฒนาไปอีกก้าวหนึ่ง ด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในขั้นตอนออกแบบ ซึ่งจะช่วยให้ “สะล้อ” มีรูปลักษณ์ใหม่ๆ ตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น
ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 2131.91 KB)