ช่างตัดชุดเกบาย่า
วัฒนธรรมการแต่งกายฝั่งอันดามัน ได้แก่ จังหวัดสตูล, ระนอง, ภูเก็ต, พังงา, กระบี่ และตรัง มีความหลากหลาย มีการอ้างอิงและยึดโยงกับประวัติศาสตร์ของชาติพันธ์ชาวไทย ชาวมลายู และชาวจีนฮกเกี้ยน ที่มีการผสมผสานข้ามผ่านวัฒนธรรม ส่งผลให้มีรูปแบบการแต่งกายตามแต่ละพื้นที่ต่างกันตามวาระและเวลา เคบาย่า (Kebaya) เป็นชุดที่แสดงถึงวัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีชาวจังหวัดสตูลที่ยังคงสืบทอดจนถึงปัจจุบัน ชุดเคบาย่าได้รับอิทธิพลจากประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ผลิตจากผ้าปาเต๊ะ ประดับตกแต่งด้วยผ้าลูกไม้ ดิ้นแบบต่างๆ และลูกปัด การผลิตชุดเคบาย่าเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมสามารถสร้างรายได้เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพิ่มมูลค่าให้กับผ้าปาเต๊ะที่เป็นส่วนประกอบหลัก และยังเป็นการรักษาวัฒนธรรมการแต่งกายที่คงเป็นอัตลักษณ์ไว้ให้อยู่คู่กับจังหวัดสตูลสืบไป
กระบวนการผลิตชุดเคบาย่า ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
อาชีพช่างตัดชุดเคบาย่า สามารถพัฒนาต่อยอดสู่อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วิทยากรในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ตัดชุดสำเร็จรูปตามขนาดสากล (S M L และ XL) ประยุกต์การตัดชุดเคบาย่าสู่ความเป็นสากล ผลิตของที่ระลึก เช่น ตุ๊กตาใส่ชุดเคบาย่า
ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 4230.88 KB)
กระบวนการผลิตชุดเคบาย่า ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
- การวัดตัว เพื่อให้ผลงานได้สัดส่วน สวมใส่ได้สวยงามเหมาะสม
- จัดเตรียมผ้า จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตัดเย็บทุกชนิด
- สร้างแบบและแยกแบบ นำสัดส่วนที่ได้วัดขนาดไว้มาสร้างแบบตัดหรือแพ็ทเทิร์น (Pattern) ลงบนกระดาษสร้างแบบ
- วางแบบตัดและตัดผ้า กดรอยผ้าเส้นเย็บทุกเส้นเพื่อเป็นเส้นแนวในการเย็บ ทำการเย็บด้วยความชำนาญการ รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพของเสื้อผ้าที่สวยงาม ไม่ผิดพลาด
- แก้ไข ทำการแก้ไขจุดบกพร่องที่ตรวจพบในทันที
อาชีพช่างตัดชุดเคบาย่า สามารถพัฒนาต่อยอดสู่อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วิทยากรในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ตัดชุดสำเร็จรูปตามขนาดสากล (S M L และ XL) ประยุกต์การตัดชุดเคบาย่าสู่ความเป็นสากล ผลิตของที่ระลึก เช่น ตุ๊กตาใส่ชุดเคบาย่า
ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 4230.88 KB)