OKMD กระตุกต่อมคิด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ - Opportunity for All
กระตุกต่อมคิด เพื่อพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา

น้ำต้น คนโท ล้านนา

14548 | 5 มิถุนายน 2560
น้ำต้น เป็นภาชนะใส่น้ำแบบล้านนาชนิดหนึ่ง สืบทอดจากงานฝีมือของช่างชาวเงี้ยว หรือ ชาวไทยใหญ่ คนพื้นเมืองเรียกว่า "น้ำต้นเงี้ยว" เป็นภาชนะดินเผาแรงไฟต่ำ มีลักษณะทรงสูงคล้ายขวด ตัวน้ำต้นอ้วนกลม มีคอยาว ปากเล็ก มีขนาดประมาณ 6.5 นิ้ว (วัดที่ตัวน้ำต้น) สูงประมาณ 10 นิ้ว ทั่วไปมักจะมีสีแดงอิฐ มีการตกแต่งด้วยลายกดประทับและลายขูดขีด ในแง่ประโยชน์ใช้สอย น้ำต้นใช้สำหรับใส่น้ำไว้ใช้ดื่มบนเรือนและใช้รับแขก ด้วยความเชื่อว่า น้ำต้นเป็นของสูงจึงใช้สำหรับใส่น้ำในพิธีกรรมต่างๆ หรือกิจกรรมที่มีเกียรติ เช่น ต้อนรับแขก ตั้งไว้บนหอผีหอเจ้าทรง เวลาฟ้อนผีก็ใช้น้ำต้นสำหรับใส่น้ำเพื่อบวงสรวงเซ่นไหว้ผี เป็นต้น

น้ำต้นมีรูปทรง 8 แบบ
  1. แบบหัวแดง (หัวระฆัง)
  2. แบบทรงสูง
  3. แบบคอคอดปากบาน
  4. แบบน้ำต้นแม่วาง (สันป่าตอง)
  5. แบบทรงอ้วน
  6. แบบยาวกลีบมะเฟือง
  7. แบบทรงขวด
  8. แบบน้ำเต้า
กระบวนการผลิตทั้งอดีตและปัจจุบันมีขั้นตอนคล้ายๆ กัน คือ การเตรียมดิน การขึ้นรูป การตกแต่ง การผึ่ง การเผา แต่ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในบางขั้นตอนของการผลิต

ศิลปหัตถกรรม “น้ำต้น/คนโท” เป็นงานที่ต้องใช้ความสามารถและจินตนาการสร้างสรรค์ผลงาน เป็นอาชีพที่มีโอกาสเติบโตได้อย่างมาก เพราะรูปแบบของผลิตภัณฑ์มีการปรับเปลี่ยนไปตามกระแสการ ตลาด ไม่ว่าจะนำไปใช้หรือนำไปตกแต่ง เช่น การสร้างลวดลายที่แปลกใหม่ การแต่งสีสันให้ทันสมัย อีกทั้งมีการผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้าอีกด้วย เช่น โคมไฟ กระถาง อ่างบัว หรือแจกัน เป็นต้น ได้มีแนวคิดในการพัฒนาอาชีพโดยเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ และจัดทำโครงการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้ภูมิปัญญาล้านนาเชิงหัตถกรรม มีหมู่บ้านหัตถกรรมของจังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้ หมู่บ้านเหมืองกุง “ตำนานน้ำต้นคนปั้นดิน” หมู่บ้านกวนวัวลาย “บ้านกวนวัวลายสืบสานปั้นดิน ใส่น้ำดื่มกินหอมเย็นชื่นใจ” หมู่บ้านม่อนเขาแก้ว “แหล่งปั้นเครื่องครัวจากดิน สร้างสรรค์ของกินหอมกลิ่นดินเผา” หมู่บ้านป่าตาล “มหัศจรรย์ดินยิ้ม ถิ่นล้านนา”




ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 3875.85 KB)

ความรู้กินได้อื่นๆ

ช่างตัดเสื้อไต

ช่างตัดเสื้อไต

ชุดไตเป็นเครื่องแต่งกายที่มีศิลปะ แสดงถึงความมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษของชาวไตหรือชาวไทใหญ่
 ช่างตัดชุดเกบาย่า

ช่างตัดชุดเกบาย่า

เคบาย่า (Kebaya) เป็นชุดที่แสดงถึงวัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีชาวสตูลที่ยังคงสืบทอดจนถึงปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลจากประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย
งานปักลูกเดือยภูมิปัญญาบนผ้าทอกะเหรี่ยง

งานปักลูกเดือยภูมิปัญญาบนผ้าทอกะเหรี่ยง

เสื้อปักลายลูกเดือยถือเป็นเอกลักษณ์ของคนในพื้นที่ ถึงแม้ไม่ได้เป็นชนเผ่ากะเหรี่ยงแต่คนในพื้นที่ก็จะใส่เสื้อกะเหรี่ยงร่วมในงานและพิธีสำคัญต่างๆ
อาหารว่างไทใหญ่

อาหารว่างไทใหญ่

อาหารว่างไทใหญ่ ขนมไทใหญ่ หรือขนมไต ส่วนใหญ่เป็นขนมที่ทำจากแป้งและน้ำตาล มีรสชาติหวาน หอมและมัน ให้พลังงานสูง

ศูนย์ความรู้กินได้