ข้าวแต๋นน้ำแตงโม
ข้าวแต๋น (Kaotan) เป็นขนมพื้นบ้านหรืออาหารว่างของชาวภาคเหนือในประเทศไทย ที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นบ้าน แสดงถึงวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองที่บริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ข้าวแต๋นมีรสชาติที่อร่อยโดดเด่น คือ หวาน หอม กรอบและอร่อย สามารถใช้เป็นของว่างในการต้อนรับแขกในงานบุญเกือบทุกที่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่รับประทานง่ายและกรอบอร่อย ที่สำคัญไม่มีคอเลสเตอรอล มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และโซเดียมที่จำเป็นต่อร่างกาย การผลิตข้าวแต๋นเพื่อจำหน่ายแก่คนในท้องถิ่น นักท่องเที่ยว และส่งไปขายทั่วประเทศและต่างประเทศ สามารถสร้างรายได้และลดรายจ่ายแก่ครอบครัวและชุมชน
ข้าวแต๋น (Kaotan) เป็นขนมพื้นบ้านหรืออาหารว่างของชาวภาคเหนือในประเทศไทย ที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวพื้นเมืองที่บริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก วิธีทำก็ง่ายโดยนำข้าวนึ่งมากดใส่พิมพ์แล้วเอามาตากแดดให้แห้ง นำไปทอด จากนั้นราดด้วยน้ำอ้อยแล้วนำมาบริโภค ข้าวแต๋นมีรสชาติที่อร่อยโดดเด่นคือ หวาน หอม กรอบและอร่อย สามารถใช้เป็นของว่างในการต้อนรับแขกในงานบุญเกือบทุกที่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่รับประทานง่ายและกรอบอร่อย ที่สำคัญไม่มีโคเรสเตอรอล มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และโซเดียมที่จำเป็นต่อร่างกาย การผลิตข้าวแต๋นเพื่อจำหน่ายแก่คนในท้องถิ่น นักท่องเที่ยว และส่งไปขายทั่วประเทศและต่างประเทศสามารถสร้างรายได้และลดรายจ่ายแก่ครอบครัวและชุมชน
ข้าวแต๋นน้ำแตงโมมีการผลิตมากที่สุดที่ชุมชนหมู่บ้านทุ่งม่านเหนือ ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จนเป็นที่รู้จักกันในนาม “หมู่บ้านข้าวแต๋น” ประกอบด้วยกลุ่มผลิตข้าวแต๋นที่สำคัญ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าวแต๋นบุญทวี มีสมาชิกประมาณ 50 ครอบครัว เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2543 ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น มาเลเซียและไต้หวัน อีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มข้าวแต๋นแม่บัวจันทร์ เป็นการรวมตัวของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งม่านเหนือ เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2538 ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดในประเทศถึงร้อยละ 80 และส่งออกไปต่างประเทศถึง 27 ประเทศในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา
ขั้นตอนการผลิตข้าวแต๋นน้ำแตงโม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 7175.36 KB)
ข้าวแต๋น (Kaotan) เป็นขนมพื้นบ้านหรืออาหารว่างของชาวภาคเหนือในประเทศไทย ที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวพื้นเมืองที่บริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก วิธีทำก็ง่ายโดยนำข้าวนึ่งมากดใส่พิมพ์แล้วเอามาตากแดดให้แห้ง นำไปทอด จากนั้นราดด้วยน้ำอ้อยแล้วนำมาบริโภค ข้าวแต๋นมีรสชาติที่อร่อยโดดเด่นคือ หวาน หอม กรอบและอร่อย สามารถใช้เป็นของว่างในการต้อนรับแขกในงานบุญเกือบทุกที่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่รับประทานง่ายและกรอบอร่อย ที่สำคัญไม่มีโคเรสเตอรอล มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และโซเดียมที่จำเป็นต่อร่างกาย การผลิตข้าวแต๋นเพื่อจำหน่ายแก่คนในท้องถิ่น นักท่องเที่ยว และส่งไปขายทั่วประเทศและต่างประเทศสามารถสร้างรายได้และลดรายจ่ายแก่ครอบครัวและชุมชน
ข้าวแต๋นน้ำแตงโมมีการผลิตมากที่สุดที่ชุมชนหมู่บ้านทุ่งม่านเหนือ ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จนเป็นที่รู้จักกันในนาม “หมู่บ้านข้าวแต๋น” ประกอบด้วยกลุ่มผลิตข้าวแต๋นที่สำคัญ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าวแต๋นบุญทวี มีสมาชิกประมาณ 50 ครอบครัว เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2543 ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น มาเลเซียและไต้หวัน อีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มข้าวแต๋นแม่บัวจันทร์ เป็นการรวมตัวของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งม่านเหนือ เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2538 ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดในประเทศถึงร้อยละ 80 และส่งออกไปต่างประเทศถึง 27 ประเทศในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา
ขั้นตอนการผลิตข้าวแต๋นน้ำแตงโม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
- ขั้นตอนการทำแผ่นแห้ง แช่ข้าวเหนียว 1 คืน นึ่งให้สุก ผึ่งให้เย็น คลุกเคล้าให้เข้ากันกับน้ำแตงโมที่ผสมกับน้ำอ้อยผง เกลือป่นและน้ำเปล่า แล้วกดลงในพิมพ์และตากแดดในแผงมุ้งลวด
- ขั้นตอนการทอด ทอดแผ่นแห้งในน้ำมันที่ร้อนจัด เมื่อสุกได้ที่ตักใส่ภาชนะเพื่อทิ้งให้เย็น
- ขั้นตอนการแต่งหน้า ราดหน้าข้าวแต๋นที่ทอดแล้วด้วยน้ำตาลปี๊บที่เคี่ยวรวมกับน้ำอ้อย รอให้เย็นแล้วบรรจุใส่ถุง
ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 7175.36 KB)