ขนมงานบุญ เมืองน่าน
ขนมเป็นหัตถกรรมความอร่อยที่แสดงออกถึงความอ่อนช้อยของความเป็นไทย ที่ก่อกำเนิดภูมิปัญญาไทยหลากหลายอย่างให้สืบสานต่อ ทั้งวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ขนมงานบุญถือเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งอยู่คู่กับจังหวัดน่านมาช้านาน ขนมแต่ละชนิดจะใช้กับประเพณีต่างๆ และมีคุณลักษณะดังนี้
ขนมปาด ใช้กับประเพณีงานบวชหรือบรรพชา มีลักษณะคล้ายขนมศิลาอ่อน จะมีสีออกจะน้ำตาลเข้ม มีรสชาติหวานมัน เวลาเคี้ยวจะกรุบกรอบในปากเล็กน้อยจากมะพร้าวเเละงา
ข้าวเหนียวแดง หรือขนมอีตู มักทำในวันรวมญาติอย่าง วันสงกรานต์ งานบุญหรืองานบวช เพื่อจะได้ช่วยกันลงแรงกวนขนม
ข้าวเกรียบว่าว (ข้าวแคบ ข้าวควบ) ใช้กับประเพณีสงกรานต์ (ปี๋ใหม่เมือง) ข้าวแคบจะมีรสชาติเค็มปะแล่มๆ แต่ข้าวควบนั้นจะมีรสชาติหวาน
ขนมเทียนหรือขนมเนี้ยบ ใช้กับประเพณีเข้าพรรษา เดิมมีไส้มะพร้าวและไส้ถั่วเขียว แต่ในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ขนมให้มีความหลากหลาย
ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มหัวหงอก ใช้กับประเพณีถวายทานสลากจุมปู (ตานก๋วยสลาก) การรับประทานจะแกะข้าวต้มตัดเป็นท่อนๆ ตามขวาง โรยด้วยมะพร้าวขูด
ข้าวแดกงา หรือ ข้าวหนึกงา หรือ ข้าวหนุกงา มีส่วนผสมสำคัญคือ ข้าวเหนียวนึ่งสุก งาขี้ม้อนและเกลือ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีรับประทานในฤดูหนาว
ขนมใส่ไส้ ห่อด้วยใบตองแล้วมีเตี่ยวคาด (เตี่ยวก็คือทางมะพร้าว) มีกลิ่นหอมและหวานจากตัวไส้ รสเค็มมันด้วยหน้ากะทิที่สดใหม่ หน้าข้นพอดี ไม่เละ มีรับประทานทุกเทศกาลเช่นเดียวกับขนมเกลือ
ขนมเกลือ หรือ เข้าหนมเกื๋อ ทำจากแป้งข้าวเจ้าและเกลือ อาจใส่น้ำตาล กะทิ งาดำลงไปด้วย
ขนมซี่ เป็นขนมที่นิยมทำไว้รับประทานและใช้ใส่ข้าวขวัญในพิธีสู่ขวัญของคนพื้นบ้านพื้นเมือง
การทำขนมงานบุญจังหวัดน่านเป็นอาชีพที่อาจพัฒนาต่อยอดไปได้อีกมาก โดยอาศัยหลักการสร้างความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ วางจำหน่ายในแหล่งท่องเที่ยวซึ่งมีมากมาย และพัฒนาตัวสินค้าให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น ทำเป็น set ขนมงานบุญชุดต่างๆ ได้แก่ ชุดสำหรับจัดเบรก ชุดของฝาก ชุดขายปลีก ชุดงานพิธีกรรม ชุดถวายพระ ฯลฯ
ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 7372.56 KB)
ขนมปาด ใช้กับประเพณีงานบวชหรือบรรพชา มีลักษณะคล้ายขนมศิลาอ่อน จะมีสีออกจะน้ำตาลเข้ม มีรสชาติหวานมัน เวลาเคี้ยวจะกรุบกรอบในปากเล็กน้อยจากมะพร้าวเเละงา
ข้าวเหนียวแดง หรือขนมอีตู มักทำในวันรวมญาติอย่าง วันสงกรานต์ งานบุญหรืองานบวช เพื่อจะได้ช่วยกันลงแรงกวนขนม
ข้าวเกรียบว่าว (ข้าวแคบ ข้าวควบ) ใช้กับประเพณีสงกรานต์ (ปี๋ใหม่เมือง) ข้าวแคบจะมีรสชาติเค็มปะแล่มๆ แต่ข้าวควบนั้นจะมีรสชาติหวาน
ขนมเทียนหรือขนมเนี้ยบ ใช้กับประเพณีเข้าพรรษา เดิมมีไส้มะพร้าวและไส้ถั่วเขียว แต่ในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ขนมให้มีความหลากหลาย
ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มหัวหงอก ใช้กับประเพณีถวายทานสลากจุมปู (ตานก๋วยสลาก) การรับประทานจะแกะข้าวต้มตัดเป็นท่อนๆ ตามขวาง โรยด้วยมะพร้าวขูด
ข้าวแดกงา หรือ ข้าวหนึกงา หรือ ข้าวหนุกงา มีส่วนผสมสำคัญคือ ข้าวเหนียวนึ่งสุก งาขี้ม้อนและเกลือ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีรับประทานในฤดูหนาว
ขนมใส่ไส้ ห่อด้วยใบตองแล้วมีเตี่ยวคาด (เตี่ยวก็คือทางมะพร้าว) มีกลิ่นหอมและหวานจากตัวไส้ รสเค็มมันด้วยหน้ากะทิที่สดใหม่ หน้าข้นพอดี ไม่เละ มีรับประทานทุกเทศกาลเช่นเดียวกับขนมเกลือ
ขนมเกลือ หรือ เข้าหนมเกื๋อ ทำจากแป้งข้าวเจ้าและเกลือ อาจใส่น้ำตาล กะทิ งาดำลงไปด้วย
ขนมซี่ เป็นขนมที่นิยมทำไว้รับประทานและใช้ใส่ข้าวขวัญในพิธีสู่ขวัญของคนพื้นบ้านพื้นเมือง
การทำขนมงานบุญจังหวัดน่านเป็นอาชีพที่อาจพัฒนาต่อยอดไปได้อีกมาก โดยอาศัยหลักการสร้างความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ วางจำหน่ายในแหล่งท่องเที่ยวซึ่งมีมากมาย และพัฒนาตัวสินค้าให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น ทำเป็น set ขนมงานบุญชุดต่างๆ ได้แก่ ชุดสำหรับจัดเบรก ชุดของฝาก ชุดขายปลีก ชุดงานพิธีกรรม ชุดถวายพระ ฯลฯ
ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 7372.56 KB)
Tags :
ขนม, งานบุญ, ขนมปาด, ขนมอีตู, ข้าวแคบ, ข้าวควบ, ขนมเนี้ยบ, ข้าวต้มหัวหงอก, ข้าวแดกงา, ขนมเกลือ, ขนมซี่, ขนมใส่ไส้, น่าน, ความรู้กินได้, ศูนย์ความรู้กินได้, กระตุกต่อมคิด, เมืองน่าน, ขนมพื้นเมือง, ขนมเมืองน่าน